ยาคาโตซาลคืออะไร วิธีใช้ สรรพคุณ ส่วนประกอบ วิธีใช้ในวัว ฉีดหมู ฉีดแพะ ไก่ชน แบบฉีด แบบกิน ผสมน้ำ

มาถึงบทความนี้กับ ยาอีกตัวหนึ่งที่ค่อนข้างขายดีในตลาดปศุสัตว์กันเลยทีเดียว เพราะเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในยุคนี้ ที่จริงแล้วยาตัวนี้ก็เป็นยาบำรุงตัวหนึ่งที่หลายๆท่านกำลังมองหากันอยู่ ในบทความนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับยาตัวนี้กันเลย ยาตัวนี้มีชื่อว่า คาโตซาล เรามาทราบถึง วิธีใช้ สรรพคุณ ส่วนประกอบ และการใช้ในสัตว์ปศุสัตว์แต่ละชนิดกันเลยจ้า”

ยาคาโตซาลคืออะไร ?

ยาที่ใช้เพื่อกระตุ้นเมทตาบอลิซึมในร่างกายของสัตว์ให้ทำงานได้ดีขึ้น และยังมีคุณสมบัติในการบำรุงร่างกายอีกด้วย

วิธีใช้ยาคาโตซาล

1.วิธีใช้ใน โค กระบือ แพะแกะ ม้า หมู

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

2.วิธีใช้ในสัตว์ปีก (เป็ด ไก่)

  • ผสมน้ำ

ขนาดที่ใช้

  • 1 ml ต่อน้ำหนักสัตว์ 10 kg

สรรพคุณของคาโตซาล

  • ในสุกร โค กระบือ แพะ แกะ ม้า เป็ด ไก่ สุนัขและแมว เพื่อกระตุ้นระบบเมทตาโบลิซั่มและบำรุงร่างกาย
  • ใช้ในสัตว์มีความผิดปกติทางเมทตาโบลิซึมเนื่องจากขาดอาหาร การเลี้ยงดูไม่ดี ป่วย
  • ใช้ในสัตว์เพื่อป้องกันความผิดปกติของร่างกาย และโภชนาการของลูกสัตว์
  • ใช้ในสัตว์เพื่อป้องกันการเป็นหมัน และการเกิดโรคทางระบบสืบพันธุ์ โดยใช้ควบกับการรักษาโดยตรง
  • ใช้ในสัตว์ที่มีการสร้างกระดูกที่ไม่ปกติเนื่องมาจากการขาดฟอสฟอรัส
  • ใช้ในสัตว์ที่แสดงอาการอ่อนเพลีย ซูบผอม โลหิตจาง

ส่วนประกอบ

  • ขนาด 100 ซีซี มีส่วนประกอบ
ส่วนประกอบของยาคาโตซาล ในขนาด 100 ซีซี
 1-(เอ็น-บิวทิลอะมิโน)-1- เม็ทธิลเอ็ทธิลฟอสฟอนัสแอซิด 10.0  กรัม
วิตามิน บี12 (ไซยาโนโคบาลามีน บี.พี.) 5.0  มิลลิกรัม
100 ซีซี ของน้ำยามีฟอสฟอรัส 1.73 กรัม

วิธีใช้ในวัว

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

ข้อบ่งใช้ในวัว

  • ใช้เพื่อป้องกันการเป็นหมันที่เกิดจากความไม่สมดุลของระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย และเป็นโรคทางระบบสืบพันธุ์
  • ขนาดที่ใช้ 20 ซีซี 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน
  • ใช้เพื่อบำรุงในช่วงของการตั้งครรภ์
    • ขนาดที่ใช้ 30 ซีซี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อช่วงระหว่าง 4-6 สัปดาห์ก่อนคลอด
    • ฉีดซ้ำอีกครั้ง 8-14 วันหลังคลอด จะช่วยให้การให้นมและการผสมครั้งต่อไปดีขึ้น ป้องกันโรคจากการให้นม
  • กรณีแม่สัตว์ไม่มีกำลัง ยืนไม่ได้ในช่วงก่อนคลอดหรือหลังคลอด
  • ให้สารละลายแคลเซียมร่วมกับคาโตซาล 30 ซีซี เข้าหลอดเลือดดำ
  • พ่อพันธุ์ ฉีดบำรุงเพื่อให้การผสมมีประสิทธิภาพ
  • ขนาดที่ใช้ 5-25 ซีซี

วิธีใช้ในหมู

  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ข้อบ่งใช้ในหมู

  • แม่หมูที่ให้ลูกครอกใหญ่ จะช่วยป้องกันการไม่มีน้ำนม แก้ปัญหาเต้านมอักเสบและช่วยการสร้างน้ำนม
  • ขนาดที่ใช้ 20 ซีซี ช่วง 10-14 วันก่อนคลอด
  • ฉีดบำรุงลูกหมูแคระแกรน
  • ขนาดที่ใช้ 2.5-10 ซีซี
  • กรณีลูกหมูกัดหาง จะลดปัญหากัดหางลงได้ในบางกรณี
  • ขนาดที่ใช้ 0.5 ซีซีต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม
  • แบบก้อนให้กินติดต่อกัน 2 วัน
  • แบบก้อนให้กินซ้ำอีกครั้งหลัง 8 วัน
  • พ่อหมู บำรุงให้แข็งแรงและผสมเก่ง
  • ให้ขนาด 15-20 ซีซี

วิธีใช้ในแพะ

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

ข้อบ่งใช้ในแพะ

  • ใช้เพื่อป้องกันการเป็นหมันที่เกิดจากความไม่สมดุลของระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย และเป็นโรคทางระบบสืบพันธุ์
  • ขนาดที่ใช้ 20 ซีซี 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน
  • ใช้เพื่อบำรุงในช่วงของการตั้งครรภ์
    • ขนาดที่ใช้ 30 ซีซี ฉีดเข้ากล้ามเนื้อช่วงระหว่าง 4-6 สัปดาห์ก่อนคลอด
    • ฉีดซ้ำอีกครั้ง 8-14 วันหลังคลอด จะช่วยให้การให้นมและการผสมครั้งต่อไปดีขึ้น ป้องกันโรคจากการให้นม
  • กรณีแม่สัตว์ไม่มีกำลัง ยืนไม่ได้ในช่วงก่อนคลอดหรือหลังคลอด
  • ให้สารละลายแคลเซียมร่วมกับคาโตซาล 30 ซีซี เข้าหลอดเลือดดำ
  • พ่อพันธุ์ ฉีดบำรุงเพื่อให้การผสมมีประสิทธิภาพ
  • ขนาดที่ใช้ 5-25 ซีซี

วิธีใช้ในไก่ชน

  • ผสมน้ำ

ข้อบ่งใช้ในไก่ชน

  • อาทิตย์ละครั้งช่วงฤดูผสม
  • แบบก้อนให้กินติดต่อกัน 2 วัน
  • กรณีไก่จิกขน
  • ละลายน้ำให้กิน 0.5-2.5 ซีซี
  • ช่วยร่นระยะการผลัดขนให้สั้นลง
  • ละลายน้ำให้กิน 0.5-2.5 ซีซี

ความสำคัญของแร่ธาตุในสัตว์

แร่ธาตุเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางชนิดเช่น

  • กระดูก
  • ฟัน
  • เลือด

แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น

  • ฮอร์โมน
  • เฮโมโกลบิน
  • เอนไซม์

นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ เช่น

  • ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • ระบบประสาท
  • การแข็งตัวของเลือด
  • ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย

แร่ธาตุเป็นสารกลุ่มอนินทรีย์ ในร่างกายสัตว์ประกอบไปด้วยแร่ธาตุประมาณ 4 – 6 % ซึ่งความต้องการแร่ธาตุของสัตว์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ชนิดของสัตว์ สายพันธุ์ และเพศ
  • คุณภาพของอาหารและปริมาณสารอาหารที่สัตว์ได้รับ
  • ประสิทธิภาพการผลิตของสัตว์ เช่นปริมาณการผลิตน้ำนม มากหรือน้อย
  • ระยะของสัตว์ เช่น ไก่ไข่ระยะให้ไข่ หรือแม่โคระยะให้น้ำนม ย่อมมีความต้องการแคลเซียมในการสร้างผลผลิต มากกว่าปกติ
  • อายุของสัตว์ สัตว์อายุน้อยจะดูดซึมได้ดีกว่าสัตว์อายุมาก
  • สุขภาพของสัตว์ การเป็นโรคหรือมีพยาธิ ขนาดน้ำหนักตัว
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น การเสริมแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไปมีผลยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุชนิดอื่น

เนื่องจากแร่ธาตุป็นองค์ประกอบของอวัยวะในร่างกายสัตว์ซึ่งสัตว์ไม่สามารถขาดได้ หากการใช้สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เลี้ยงสัตว์คือ

  • ส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์โดยตรง และส่งผลไปยังผลผลิตของสัตว์ สุขภาพของสัตว์แย่ลง ประสิทธิภาพการผลิตลดลงหากได้รับปริมาณแร่ธาตุที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผู้เลี้ยงสัตว์เสียต้นทุนการผลิตมากขึ้น เนื่องจากการใช้สินค้าที่ไม่ได้ผล ทำให้ต้องเปลี่ยนสินค้าให้ เสียเวลาในการจัดการเพิ่มขึ้นอาจมีการคัดสัตว์ทิ้งเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์ไม่ได้คุณภาพ
  • หากคุณภาพของสินค้าไม่มีความสม่ำเสมอเช่น ในบางชุดการผลิตมีความเข้มข้นของแร่ธาตุบางมากกว่าปกติ อาจส่งผลให้แร่ธาตุตัวที่มีมากเกินความต้องการไปยับยั้งการดูดซึมหรือนับยั้งการใช้ประโยชน์ของแร่ธาตุชนิดอื่น

แร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญในคาโตซาล

  • วิตามินบี 12
  • ฟอสฟอรัส

วิตามินบี 12

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • บำรุงให้สัตว์แข็งแรงเพื่อรับมือกับโรคต่างๆได้ดี
  • ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตซึ่งการให้วิตามินบี 12 จะเพิ่มความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารได้มาก
  • ช่วยในการเมทตาบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต จึงทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเร็วขึ้นกว่าเดิม
  • ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบประสาทและทางเดินอาหาร
  • บำรุงสัตว์ ป่วย ฟื้นไข้ หลังคลอด โทรม ผอมแห้ง อ่อนแอ ป่วย

ฟอสฟอรัส

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • ฟอสฟอรัส และ แคลเซียม มีความสัมพันธ์กัน
  • เป็นสารประกอบของกระดูก Phosphoprotein, Nucleic acid,Phospholipids
  • มีบทบาทในการเมตาบอลิซึมคาร์โบไฮเดรต เช่น Glucose-6-phosphate,

Adenosine di หรือ tri-phosphate

  • ช่วยในการควบคุมสมดุลกรด-เบสภายในและภายนอกเซลล์

 

⮚   อาการเมื่อขาดฟอสฟอรัส

  • กระดูกอ่อน
  • กระดูกผุ
  • อาการเป็นพิษหรือความสัมพันธ์กับแร่ธาตุอื่นๆ
  • วิตามิน D ช่วยในการสร้างกระดูกและดูดซึมฟอสฟอรัสกลับในไต, ถ้ามีแคลเซียม

และแมกนีเซียมสูงเกินไปจะทำให้การดูดซึมฟอสฟอรัสลดลง

⮚   แหล่งที่มาของฟอสฟอรัส

  • เมล็ดธัญพืช
  • ปลาป่น
  • เนื้อ
  • กระดูกป่น

แร่ธาตุและวิตามินอื่นๆที่สำคัญกับสัตว์

แคลเซียม

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน เกือบทั้งหมดในร่างกาย
  • สร้างกระดูก
  • การแข็งตัวของเลือด
  • การทํางานของกล้ามเนื้อ
  • การทํางานของระบบประสาท
  • การซึมผ่านผนังเซลล์ของสารต่าง
  • ในเถ้ากระดูกมี แคลเซียม 36% EP 17% แต่จะไม่คงที่ เนื่องจากมีการสะสม

และย้ายออกตลอดเวลาเพื่อสร้างผลผลิต เช่น ไข่ นม

⮚   อาการเมื่อขาดแคลเซียม

  • สัตว์กําลังเจริญเติบโต จะเกิดโรคกระดูกอ่อน (Ricket)
  • กระดูกมีรูปร่างผิดปกติ
  • ข้อต่อจะขยายยาว
  • เดินกระแผลก
  • ข้อกระดูกเหยียดตรงงอไม่ได้
  • สัตว์ที่โตแล้วจะเกิดโรคกระดูกผุ เนื่องจากแคลเซียม จะถูกดึงไปใช้โดยไม่มีการทดแทน
  • ทําให้กระดูกไม่แข็งแรง หักง่าย
  • ไก่ไข่ จะงอยปากอ่อน การเจริญโตโตหยุดชะงัก ขาโก่ง ไข่เปลือกบาง ไข่ลดลง

โปแตสเซียม

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • ทําหน้าที่ร่วมกับ Na, CI และ Bicarbonate ion
  • เป็นอิออนบวกภายในเซลล์ที่ทําให้เกิดแรงดันออสโมซีส
  • รักษาสมดุลกรด-เบส

⮚   อาการเมื่อขาดโปแตสเซียม

  • เกิด Hypokalemia (K ในเลือดต่ำกว่าปกติ)
  • การเจริญเติบโตชะงัก
  • ชัก
  • กระตุก
  • ท้องร่วง
  • ท้องอยู่ผิดตําแหน่ง
  • หมดสติ และตาย

โซเดียม

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เป็น lon ที่เป็นหลักภายนอกเซลล์ที่ช่วยให้เกิดแรงดันออสโมซีส
  • สมดุลกรด-เบส
  • ช่วยในการซึมผ่านผนังเซลล์ของสารอาหาร
  • ช่วยในการทํางานของกล้ามเนื้อ

⮚   อาการเมื่อขาดโซเดียม

  • การเจริญเติบโตลดลง
  • ตาอักเสบ
  • ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ(เป็นหมันและเป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่ากําหนด)
  • ถ้าหากมีเกลือในอาหารเกิน 8% จะทําให้เป็นพิษ
  • ตาบอด
  • ระบบประสาททํางานผิดปกติและชักกระตุก

คลอรีน

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • ทําหน้าที่ร่วมกับ Na และ Kเพื่อรักษาสมดุลกรด-ด่าง
  • เป็นอิออนลบที่เป็นหลักในระบบออสโมซีสของกรดเกลือในน้ำย่อย

⮚   อาการเป็นพิษ

  • ได้รับมากเกินไป ทําให้กระหายน้ำมาก
  • กล้ามเนื้อเปลี้ยและเกิดการบวมน้ำ

 

กํามะถัน หรือ ซัลเฟอร์

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เป็นส่วนประกอบของกลุ่มซัลไฟดริล (SH) ของกรดอะมิโนบางตัว (ซีสทีน,

ซีสเตอิน และเมทไธโอนีน)

  • กลุ่มซัลไฟดริลมีหน้าที่ในการหายใจของเนื้อเยื่อต่าง ๆ

⮚   อาการเมื่อขาดกำมะถัน

  • การเจริญเติบโตชะงักเนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ
  • ปกติมักจะไม่ขาด ถ้าขาดแสดงว่า สัตว์ขาดโปรตีนด้วย

 

แมกนีเซียม

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เป็นตัวกระตุ้นเอนไซม์ในระบบ Glycolysis
  • ช่วยในการสร้างกระดูก

⮚   อาการเมื่อขาดแมกนีเซียม

  • เส้นเลือดขยายตัว
  • ตื่นเต้นง่ายและชักกระตุก
  • ขาดสมดุลในการทรงตัวและสั่น

⮚   อาการเป็นพิษ

  • ถ้าหากมีสูงเกินไปจะขัดขวางการใช้ประโยชน์ของแคลเซียมและฟอสฟอรัส

 

เหล็ก

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เกี่ยวข้องกับการหายใจและการแลกเปลี่ยนออกซิเจน
  • อาการเมื่อขาดเหล็ก
  • โลหิตจาง (Hypochromic microcytic)

⮚   อาการเป็นพิษ

  • สัดส่วนระหว่าง Ca และ P มีผลต่อการดูดซึมเหล็กและทองแดง
  • มีผลต่อการใช้ประโยชน์ของเหล็ก
  • หากขาดวิตามิน B. จะลดการดูดซึมเหล็ก

ทองแดง

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เป็นปัจจัยร่วม (Co-factor) ของเอนไซม์หลายชนิด
  • มีบทบาทในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน
  • สร้างกระดูก และ Myelin ของประสาท
  • อาการเมื่อขาดทองแดง
  • สีขนจางหรือขนไม่ขึ้น
  • โลหิตจาง
  • กระดูกเปราะ
  • ข้อต่อของกระดูกบวม
  • มีอาการทางประสาท

⮚   อาการเป็นพิษ

  • หากมีโมลิบดินัมและสังกะสีมากเกินไป จะไปยับยั้งการใช้ประโยชน์ทองแดง
  • หากทองแดงในอาหารเกิน 250 ppm จะเป็นพิษ โดยสัตว์จะมีอาการคล้าย กับขาดทองแดง

 

สังกะสี

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์หลายชนิด เช่น Peptidase, Carbonic

anhydrase

⮚   อาการเมื่อขาดสังกะสี

  • การเจริญของขนผิดปกติ
  • ขนร่วง
  • หนังหนา
  • หยาบและตกสะเก็ด

⮚   อาการเป็นพิษ

  • ถ้าหากมี Ca และ P สูงเกินไป จะไปขัดขวางการใช้ประโยชน์ของสังกะสี
  • ถ้าหากสังกะสีมีมากเกินไปก็จะไปขัดขวางการใช้ประโยชน์ของทองแดงทํา ให้เกิดโรคโลหิตจาง

วิตามิน (Vitamins)

วิตามิน เป็นโภชนะที่มีองค์ประกอบซับซ้อน และมีความจําเป็นต่อปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย วิตามิน ที่ยอมรับกันว่า มีความสําคัญในทางโภชนศาสตร์ มี 18 ตัว การตั้งชื่อวิตามินสมัยก่อน ตั้งชื่อเป็นตัวอักษรขึ้นอยู่กับเวลาที่ค้นพบ แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะใช้ชื่อตามคุณสมบัติทางเคมี (Chemical nature) มากกว่า

วิตามิน A

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • สร้างกระดูก
  • การทํางานของสายตา
  • สุขภาพของเยื่อชุ่ม
  • สังเคราะห์กลูโคส (Adrenocorticoid hormone)
  • การเจริญเติบโต อาการขาด – ตาบอดกลางคืน (Night blindness)
  • ผิวหนังตกสะเก็ด
  • การเจริญเติบโตชะงัก
  • การสืบพันธุ์ล้มเหลว

⮚   อาการเป็นพิษ

  • อาการเป็นพิษคล้ายกับอาการขาด
  • กระดูกเจริญผิดปกติ
  • ผิวหนังตกสะเก็ด

วิตามิน D

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • สร้างกระดูก (การดูดซึม Ca และ P และการพอกพูน Ca ในกระดูก)
  • การใช้ประโยชน์จากคาร์โบไฮเดรต (Phosphorylation
  • การเจริญเติบโต

⮚   อาการเมื่อขาดวิตามิน D

  • โรคกระดูกอ่อน
  • กระดูกผุ
  • เปลือกไข่นิ่ม

⮚   อาการเป็นพิษ

  • เคลื่อนย้าย Ca จากกระดูกไปสู่เนื้อเยื่ออื่น ๆ

 

วิตามิน K

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • สร้างโปรทรอมบิน (Prothrombin) ซึ่งช่วยให้เลือดแข็งตัว

⮚   อาการเมื่อขาดวิตามิน K

  • เลือดไหลไม่หยุดและแข็งตัวช้า

วิตามิน E

⮚   หน้าที่สำคัญ

  • ป้องการการออกซิไดซ์ไขมัน
  • ป้องกันการสลายตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ โดยเฉพาะ Seminiferous epitheliu

⮚   อาการเมื่อขาดวิตามิน E

  • กล้ามเนื้อสลายตัว
  • บวมน้ำ
  • การสืบพันธุ์ล้มเหลว