วัวท้องเสีย ถ่ายเหลว ไม่กินหญ้า สาเหตุเกิดอะไร ลูกวัวท้องเสียรักษายังไง ถ่ายเหลวหลายวัน วิธีรักษา ยาซัลฟา เอ็นโร แบบฉีด แบบกิน สมุนไพรรักษาท้องเสีย

“เกษตกรหลายๆท่านที่เลี้ยงวัวและต้องเจอกับปัญหาวัวมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ไม่กินหญ้า โดยไม่ทราบว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ลูกวัวท้องเสียต้องรักษายังไง วัวมีอาการถ่ายเหลวมาหลายวัน จะมีวิธีรักษาแบบไหน ใช้ยากิน ยาฉีด แบบไหน และมีสมุนไพรอะไรรักษาอาการท้องเสียนี้ได้ งั้นเรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันกับบทความบทนี้เลยค่ะ”

Table of Contents

วัวท้องเสียเกิดจากสาเหตุอะไร ?

อาการท้องเสียในวัวอาจจะเป็นปัญหาที่บ่งบอกว่าระบบทางเดินอาหารของวัวนั้นเกิดความผิดปกติขึ้น แต่นอกจากระบบทางเดินอาหารแล้วอาจจะเกิดจากสาเหตุอย่างอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • การปรับเปลี่ยนอาหารกะทันหันจากหญ้าแห้งเป็นหญ้าสด
  • การเกิดเชื้อแบคทีเรียเนื่องจากการขาดอาหารจำพวกเส้นใยในร่างกาย
  • การกินอาหารหรือพืชที่มีพิษ และเชื้อราเข้าไป
  • การที่ร่างกายมีหนอนพยาธิหรือปรสิตอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
  • การกินอาหารบางประเภทที่มีผลต่อระบบย่อยอาหาร
  • เกิดความผิดปกติในกระเพาะหมักที่เกิดจากการลดลงของอุณหภูมิภายในกระเพาะส่งผลให้ท้องอืดและท้องเสีย
  • เกิดจากการขาดวิตามินและธาตุอาหารรอง ทำให้วัวหิวเริ่มเลียทุกสิ่งที่มันเห็น ทำให้กินสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายเข้าไปทำให้ไปรบกวนระบบย่อยอาหาร
  • การติดเชื้อไวรัสที่ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำในลำไส้ได้ตามปกติ วัวส่วนใหญ่มักประสบปัญหาการติดเชื้อโรตาไวรัสกระเพาะและลำไส้อักเสบ

อาการท้องเสียในวัวอันตรายไหม ?

อาการท้องเสียในวัวมีลักษณะของการดูดซึมน้ำในลำไส้ไม่เพียงพอดังนั้นการขับถ่ายมูลของวัวจึงเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติ อาการท้องเสียเป็นเวลานานจะทำให้การคายน้ำของวัวมีปัญหาสุขภาพที่รุนแรง การขาดน้ำในเนื้อเยื่อทำให้เกิดการอักเสบและอาจทำให้อวัยวะภายในบางส่วนถูกทำลายได้ การที่ท้องเสียติดเชื้อเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับวัว เกษตรกรผู้เลี้ยงจึงต้องรีบรักษาให้ทันท่วงทีเพราะอาจจะทำให้วัวเสียชีวิตได้

อาการท้องเสียถือเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุดในวัวหนุ่มโดยเฉพาะในกรณีที่มีเลือดไหลออกมาในสัตว์เล็กจะขาดน้ำเร็วกว่าตัวเต็มวัย สังเกตเห็นอาการท้องร่วงและถ้าการเริ่มการรักษาช้าอาจทำให้วัวตัวน้อยมีโอกาสรอดชีวิตต่ำ

ลูกวัวท้องเสียรักษายังไง ?

ปัญหาทองเสียมักจะเกิดกับลูกวัวในช่วงอายุแรกคลอดถึง 1 เดือน โดยภาวะท้องเสียสามารถเกิด รวมกันได้จากหลายสาเหตุ แต่สิ่งที่เกษตรกรจะพบในการบ่งบอกถึงการป่วย คือ ลูกวัวถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีมูก เลือดปน ขนหยาบแห้ง ซึม ในบางกรณีอาจตายภายในเวลาไม่นาน ภาวะท้องเสียจะทำเกิดการสูญเสียน้ำและ อิเลคโตรไลต์ ซึ่งปริมาณที่สูญเสียอาจจะมากกวาการสูญเสียในสภาวะปกติถึง 20 เท่า การสูญเสียน้ำและเกลือ แร่จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะช็อคและตายได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชื้อไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรง ของการตายของลูกโค

สาเหตุที่ทำให้ลูกวัวท้องเสียเกิดจากอะไร ?

Ø เกิดจากเชื้อ E. coli

พบได้บ่อยมากมักเกิดกับลูกวัวในช่วงอายุ 3 วันแรก เชื้อจะผลิตสารพิษซึ่งมีผลทำให้เกิดการกระตุ้นทำให้เซลล์ลำไส้มีการหลั่งของเหลวออกจากเซลล์ลำไส้มากกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะช็อคตามมาได้ การดำเนินไปของโรคจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • ลูกวัวที่ป่วยจะมีอาการซึม
  • อุจจาระเหลวเป็นน้ำมีสีเหลืองออกขาว

พบว่าระยะเวลาจากลูกโคแสดงอาการขาดน้ำจนถึงตายอาจจะ น้อยกว่า 24 ชั่วโมง ลูกวัวที่ตายจากภาวะท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ E. coli เมื่อทำการผ่าซากจะไม่พบ วิการเจาะจงที่แสดงถึงการติดเชื้อ

การรักษา

การแก้ไข้ภาวะขาดน้ำของลูกวัวร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าไม่ทำการรักษาอัตราการตายเป็น 100%

Ø เกิดจากเชื้อ Salmonella

มักพบการเกิดภาวะท้องเสียในลูกวัวอายุ 4-8 สัปดาห์ เชื้อแบคทีเรียนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะท้องเสียที่จะนำไปสู่การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด มีผลรุนแรงต่อการเจริญของลูกวัวมาก

  • เชื้อจะแทรกตัวเข้าไปในผนังของลำไส้ เกิดการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
  • สามารถพบมูกเลือดปนมากับอุจจาระของวัวได้
  • อาจส่งผลทำให้เกิดการตายแบบเฉียบพลัน
  • ลำไส้ที่ถูกทำลายจะ ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและน้ำได้

ถ้าทำการผ่าซากจะพบว่าลำไส้ของสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีวิการเกิด เป็นรอยแดง และมีเลือดออก

การรักษา

จะให้ยาปฏิชีวนะรวมกับการรักษาแบบประคองอาการ โดยการ หายของลูกโคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ อาจพบการเป็นโรคได้นาน 1-2 สัปดาห์ ถ้าไม่ทำการรักษาจะพบ อัตราการตายสูงถึง 100%

Ø เกิดจากเชื้อ Rotavirus

เป็นโรคไวรัสที่พบได้บ่อย มักพบการเกิดโรคในลูกวัวอายุ 5-15 วัน โดยอาการจะเกิดแบบ เฉียบพลัน เชื้อจะทำลายส่วนของลำไส้ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้

  • พบอุจจาระเป็นสี เหลืองแกมเขียวอาจมีมูกหรือนมปนออกมา
  • มีอาการเซื่องซึม มีไข้ เกิดการซูบผอม ขาดน้ำอย่างรวดเร็ว

ถ้าไม่ได้ทำการรักษาจะมีอัตราการตายประมาณ 50% และเชื้อจะมีการติดต่อกันระหว่างลูกวัวอย่างรวดเร็ว การรักษา

เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส ซึ่งไม่มียารักษา ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาแบบประคอง อาการ แยกลูกโคที่ป่วยออกจากตัวอื่น แก้ไขภาวะขาดน้ำให้สารอาหารที่จำเป็นทางเส้นเลือด รวมถึง ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

Ø เกิดจากเชื้อCryptosporidium

เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเชื้อโปรโตซัว พบการเกิดโรคในลูกวัวอายุ 5-35 วัน และพบมากในลูกวัวช่วง 15 วัน โดยจะพบการเกิดแบบเฉียบพลัน

  • อุจจาระมีกลิ่นคาวเหม็นและมีลิ่ม เลือดปน เนื่องจากเชื้อจะทำลายผนังลำไส้
  • ลูกโคจะขาดน้ำ ซูบผอม

การรักษา

การใช้ยาปฏิชีวนะมักไม่ได้ผลใน การรักษาแต่หลักสำคัญ คือ การจัดการให้ที่อยู่ของลูกวัวสะอาดแห้งซึ่งจะสามารถลดความชุกในการเกิดโรคนี้ได้ ส่วนการรักษาเนื่องจากยาปฏิชีวนะมักจะไม่ได้ผล ดังนั้นจึงต้องรักษาแบบประคองอาการ โดยแก้ไข้ภาวะขาดน้ำ และให้สารอาหารทางเส้นเลือด พบว่าหากไม่ทำการรักษาจะพบอัตราการตาย ได้ถึง 80-90%

ลูกวัวท้องเสียรักษายังไง ?

  • ซัลฟาไตรเมทโทพริม
  • กาน่ามัยซิน
  • โททาซูลิ่ว

การป้องกันไม่ให้ลูกวัวท้องเสีย

  • ฟาร์มที่ใช้นมแม่ให้ลูกวัวกิน จึงจำเป็นต้องต้มให้เดือดก่อนจะนำมาให้ลูกวัวก่อนกิน
  • ถ้าตัวไหนมีอาการท้องเสียจะแยกออกไปไว้ไกลจากตัวอื่นๆ
  • พื้นคอกทำให้สะอาดไว้เสมอ และแห้ง

วัวมีอาการถ่ายเหลวมากเหมือนน้ำทำยังไง ?

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว

ส่วนใหญ่มาจากอาหารที่ใช้เลี้ยง ยกตัวอย่าง กากแป้งมัน ให้การรักษาตามอาการเพื่อปรับกระเพาะรูเมนที่ถือว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารขนาดใหญ่ให้เข้าที่เข้าทางคือ

  • ผงฟู
  • ปูนแดงผสมน้ำ
  • ยาแอนตาซิลชนิดน้ำ

 

Ø ผงฟู หรือBaking powder

สารเคมีผสมที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (bakery) ขึ้นฟู ส่วนประกอบของผงฟู คือ

  • เบกิ้ง โซดา (baking soda) หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) เป็นส่วนประกอบหลักของผงฟู
  • กรดหรือเกลือของกรด โดยกรดจะทำปฏิกิริยากับโซเดียมไบคาร์บอเนตก่อน หรือระหว่างการอบ ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

โดยปกติกระเพาะหมักหรือกระเพาะรูเมนเกิดภาวะกรด จุลินทรีย์ทั้งหลายจึงเพิ่มจำนวนกันมากมาย ให้ใส่ผงฟูเข้าไปในอาหารข้นเพิ่มปรับสมดุลของภาวะความเป็นกรด-ด่าง(pH)ในกระเพาะเพื่อให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เจริญเติบโตได้ดี กระเพาะรูเมนมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยมี pH 5.5–7.0 ที่อุณหภูมิ 39–40 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ลดกรดในกระเพาะหมัก

วิธีการรักษาอาการท้องเสียโดยใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์

v  ซัลฟาเมท

สรรพคุณ

ตัวยาซัลฟาเมทาซีน โซเดียม

  • ใช้รักษาโรคที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียทั้งแกรมบวก

และแกรมลบ

  • ในเป็ด ไก่ ห่าน ใช้รักษาโรคหวัด บิด อหิวา ขี้ขาว
  • สุกร ใช้รักษาโรคลำใส้อักเสบ ขี้ไหล โรคปอดบวม

ขนาดและวิธีใช้

  • วัว ใช้ขนาด 5 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม กินติดต่อกัน 3-5วัน
  • สัตว์ปีก ยา 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 2 ลิตร กินติดต่อกัน 3-6 วัน
  • สุกร วันแรกใช้ยา 2 ช้อนโต็ะ/ นน.ตัว 25 กก.ผสมน้ำให้กิน วันที่ 1-4 ลดปริมาณยาโดยใช้ยา 1 ช้อนโต๊ะ/ นน.ตัว 25 กก. ผสมน้ำให้กินต่อ

 

v ซัลฟาพริม

สรรพคุณ

  • รักษาอาการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
  • ระบบทางเดินหายใจ
  • ทางเดินปัสสาวะเกิดจากแบคทีเรียที่ไวต่อยา trimethoprim และ sulfadoxine เช่น coli, Haemophilus, Pasteurella, Salmonella, Staphylococcus lla: Streptococcus spp.
  • รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะโรคบิดชิเกลลา ท้องร่วง หรือโรคปอดอักเสบบางชนิด เป็นต้น

ขนาดและวิธีใช้

  • สามารถใช้ได้ทั้งวัวแพะ แกะ และหมู ปริมาณการใช้ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ต่อน้ำหนัก 10-15 กก. ระยะเวลา 3-5 วัน

v เอ็นโร-150

สรรพคุณ

สำหรับโรคติดเชื้อในไก่ เป็ด สุกร ม้า และวัว

  • การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ และไมโคพลาสม่า เช่นโรคท้องร่วง ไอ หอบ ปอดบวม หวัดซี.อาร์.ดี
  • การอักเสบต่างๆ

ขนาดและวิธีใช้

  • ใช้ 5 ซีซี.ต่อน้ำหนักตัว 15-30 กิโลกรัม ติดต่อกัน 3 วัน

กรณีติดเชื้อรุนแรง

  • ใช้ 0 ซีซี.ต่อน้ำหนักตัว 15-30 กิโลกรัม ติดต่อกัน 3 วัน

ติดเชื้อซัลโมเนล่า

  • ใช้ 0 ซีซี.ต่อน้ำหนักตัว 15-30 กิโลกรัม ติดต่อกัน 5 วัน

v เอนโร-100 (ENRO-100)

สรรพคุณ

ใช้ละลายในน้ำดื่มสำหรับสัตว์ปีก

  • เพื่อป้องกันและรักษาโรค ติดเชื้ออันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบที่ไวต่อยานี้
  • เชื้อไมโคพลาสม่าในระบบทางเดินอาหาร
  • ทางเดินหายใจ
  • โรคท้องร่วง ขี้ขาว ขี้เขียว จากการติดเชื้อ อี.โคไล
  • หวัดหน้าบวม อหิวาห์ ซี.อาร์ดี. คอมเพล็กซ์ และปอดบวม

ขนาดและวิธีใช้

  • วัว ไก่ เป็ด นก ใช้ เอนโร-100 1-2 ซี.ซี.ต่อน้ำ 2 ลิตร ผสมน้ำให้กินติดต่อกัน 3 วัน

 

สมุนไพรรักษาอาการท้องเสีย

การรักษาอาการท้องเสียในวัวด้วยใบกระท้อน

เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว คงเคยเจอกับปัญหาโรค ต่าง ๆ ในวัวที่หาทางหลีกเลี่ยงได้ยาก อย่างเช่นโรค ท้องร่วง ท้องเสีย หรือท้องเดิน ซึ่งวัวจะมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระเหลวมากกว่าปกติ หรือถ่ายเป็นน้ำ เป็นมูกหรือมูกเลือด โรคนี้เกิดได้กับวัวทุกอายุ พบมากในลูกวัวและมักจะมีอาการรุนแรงกว่าวัวที่มีอายุเยอะแล้ว ซึ่ง เกษตรกรหลายท่านเมื่อต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว ก็จะใช้วิธีที่เหมือนหรือแตกต่างกันในการรักษา เกี่ยวกับโรคท้องร่วงในวัว ซึ่งมีวิธีและรายละเอียด ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

  • ใบกระท้อน 15 ใบ
  • เกลือ 1 ขีด
  • น้ำ 1 ลิตร

ขั้นตอนและวิธีทำ

  • นำใบกระท้อน และ เกลือ ที่เตรียมไว้ นำมาตำรวมกัน ให้ละเอียด
  • นำใบกระท้อนที่ดำเรียบร้อยแล้ว มาผสมกับน้ำ ที่เตรียมไว้
  • นำมากรอกให้ วัว ที่มีอาการโรคท้องร่วง กินวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ติดต่อกันเป็นระยะ เวลาประมาณ 1-3 วัน จะทำให้วัวหายจากโรคท้องร่วง

การรักษาอาการท้องเสียด้วยสมุนไพร

เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว หลายท่านที่มักประสบกับปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ กับวัวที่เลี้ยงไว้ โดยเฉพาะโรคท้องเสีย นับเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรผู้เลี้ยง ซึ่งลักษณะ อาการที่เกิดขึ้นก็คือวัว จะมีอาการถ่ายเหลวและถ่ายบ่อยผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากการ กินหญ้าหรืออาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปะปนอยู่ จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ แต่ปัจจุบันมีผู้ คิดค้นทดลองใช้สูตรยาสมุนไพรแก้อาการท้องเสียในวัว โดยจะมีความรู้ เรื่องสมุนไพรไทยเป็นอย่างดี ขึ้นมาทดลองรักษาอาการ ท้องเสียของวัว ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดีและไม่มีผลเสียหรืออาการข้างเคียง เกิดขึ้น ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

  • ฝักคูณแก่ บดหรือทบ 4-5 ฝัก
  • ใบฝรั่ง บดหรือทุบ 1 กำมือ
  • ใบทับทิม บดหรือทุบ 1 กำมือ
  • น้ำตาลหรือน้ำอ้อย 1 กิโลกรัม
  • น้ำสะอาด
  • หม้อต้ม

ขั้นตอนและวิธีทำ

  • นำส่วนผสมทั้งหมดที่เตรียมไว้ใส่ลงในหม้อแล้วเติมน้ำพอท่วม
  • นำมาต้มให้เดือด โดยใช้ไฟปาน กลางประมาณ 30 นาที เพื่อให้ส่วนผสมที่นํามาต้มละลายออกมาเป็นตัวยา
  • เสร็จแล้ว ทิ้งไว้ให้ เย็น
  • ตัวยาที่ได้จากการต้มจํานวน 1 แก้ว ผสมกับน้ำเปล่าจํานวน 15 ลิตร
  • นําไปให้สัตว์เลี้ยงที่มี อาการท้องเสียกิน แทนน้ำติดต่อกันจนหาย
  • ถ้าสัตว์เลี้ยงที่มีอาการท้องเสียหายเป็นปกติแล้วให้ หยุดกินทันที