“เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกหลายๆท่านต้องการหาคำตอบเกี่ยวกับไก่ที่ท่านเลี้ยงมีอาการเป็นหวัดต้องรักษายังไง และเป็นหวัดเรื้อรังละมีโอกาสหายไหม ไก่เป็นหวัดแล้วมีกลิ่นเหม็น คอครอก คอดัง ตาบวมรักษายังไง มีสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหวัดในไก่ไหมซึ่งอาการทั้งหลายเหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเสียหายจากการเลี้ยงไก่เป็นจำนวนมากเรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยจ้า”
ไข้หวัดไก่คืออะไร
- โรคไข้หวัดไก่เป็นโรคที่เกิดในระบทางเดินหายใจสามารถพบได้ในไก่ทุกรุ่นอายุ
- ส่วนใหญ่พบมากในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
- ส่วนใหญ่แล้วโรคไข้หวัดไก่จะเกิดจากเชื้อไวรัส หรือมีบางครั้งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน
ไข้หวัดไก่เกิดจากอะไร
โรคไข้หวัดไก่หรือโรคหวัดหน้าบวม
- เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบของช่องจมูก และโพรงอากาศใต้ตา
- โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในไก่ มีสาเหตุเกิดจากเชื้อ เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารุม(Avibacteriumparagallinarum)
อาการป่วยที่คนเลี้ยงสามารถสังเกตได้
- ช่องจมูกอักเสบ
- มีน้ำมูกใส ๆ
- รูจมูกแห้ง
- การบวมน้ำที่บริเวณโพรงอากาศใต้ตา
- ไก่กินน้ำ อาหารลดลง
- เกิดความแปรปรวนของผลผลิตไข่
- สามารถพบการบวมน้ำที่เหนียง โดยเฉพาะในไก่ตัวผู้
- ไม่พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
- หลังจากที่ไก่หายการอักเสบ จะพบรอยย่นที่เหนียง
อาการที่ไก่จะแสดงออกมา
- ไก่จะแสดงอาการออกมาโดยการหายใจลำบาก
- หายใจดังโดยเฉพาะเวลากลางคืนจะได้ยินชัดเจน
- มีอาการไอหรือจามบ่อยๆ
- ถ้าเป็นอย่างรุนแรงไก่จะแสดงอาการหน้าและตาบวม ตาบวมปิด น้ำตาไหลมาก
การวินิจฉัยโรค
- ควรวินิจฉัยแยกโรคหวัดหน้าบวมออกจากโรคกาฬโรค และ ภาวะขาดวิตามิน ซึ่งมีอาการใกล้เคียงกัน
วิธีรักษาหวัดไก่ให้หายเร็ว
ก่อนเราจะรักษาไก่ให้หายเร็วๆนั้นเราต้องมีการสังเกตอาการของหวัดที่สังเกตง่ายๆ คือ
- มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกทางจมูก
- น้ำตาไหลเล็กน้อย
- หลังจากนั้นน้ำมูกจะค่อยๆ ข้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จับเป็นคราบอยู่ที่รูจมูกทั้งสองข้าง
- ไก่แสดงอาการหายใจลำบาก หายใจดัง
- ถ้าไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด จะมีก้อนหนองสีเหลืองคล้ายเนยแข็งเกิดขึ้นที่แยงหัวตา และในช่องปากอาจทำให้ไก่ตาบอดได้
เมื่อเชื้อไข้หวัดลงไปสู่กระเพาะหรือลำไส้ ไก่จะมีอาการ
- ท้องเสีย
- ขี้เขียว
- ขี้ขาว
ซึ่งเป็นโรคในระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการของไก่ที่ติดเชื้อแบคทีเรียจำพวก ซัลโมแนลล่า ที่เข้ามาตอนร่างกายอ่อนแอ
การควบคุมรักษาโรคไข้หวัดไก่
- ไม่มียาหรือวัคซีนเฉพาะสำหรับป้องกัน
การรักษามีขั้นตอนดังนี้
- รีบคัดไก่ที่ป่วยออกจากเล้าเพื่อรักษาต่างหาก จะช่วยลดการติดต่อของโรคไปยังไก่ตัวอื่นได้มาก
- อย่าปล่อยให้พื้นเล้าแฉะ
- จำกัดจำนวนไก่ไม่ให้อยู่แน่นเกินไป ให้มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่ร้อนหรือเย็นจัดเกินไป
มาตรการป้องกันที่ดีที่สุด
- การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนที่ห่างจากกัน
- การเลี้ยงไก่ควรจะเป็นไก่อายุรุ่นเดียวกันในชุดเดียวกัน
- ห้ามนำไก่โตจากข้างนอกเข้ามาในฟาร์มอย่างเด็ดขาด
- การสุขาภิบาลและการเลี้ยงดูที่ดีจะเป็นอีกมาตรการหนึ่งในการป้องกันโรคนี้ได้
- โรคนี้จะไม่ทำอันตรายไก่ให้ถึงตายได้ แต่จะทำให้สุขภาพของไก่ไม่สมบูรณ์เต็มที่
- อาจมีโรคอื่นแทรกได้ง่าย
- ถ้าไก่ตัวใดตัวหนึ่งเป็น จะทำให้โรคระบาดติดต่อกันได้เร็วมาก
- การเจริญเติบโตของไก่จะชะงักทันที น้ำหนักจะลดลง เสียเวลาเลี้ยงเพิ่มขึ้น
ยาที่ใช้ในการรักษาได้ผลดี
ยาเอวีซิน+บี12 3เอ็กซ์
- ซึ่งเป็นยาที่ได้รับการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาสูตรมาเพื่อรักษาไก่ชนโดยเฉพาะ ใช้สำหรับป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบของไก่
- ลักษณะเป็นยาผงสีเหลืองออกสีเขียว ปนกับผงสีแดงเล็กน้อย
สรรพคุณ
- รักษาโรคติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ เช่น
- โรคระบบทางเดินหายใจ >>> หวัด ตาลมูก คอครอก ตาเจ็บ
- ระบบทางเดินอาหาร >>> ท้องเสีย ขี้เขียว ขี้ขาว
- ระบบลำไส้
- ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
- ช่วยลดอัตราการตายของลูกไก่
- วิตามิน บี12 ช่วยบำรุงร่างกาย ลดอาการเครียดหลังจากทำวัคซีน หรืออาการเปลี่ยนแปลง
ขนาดและวิธีใช้
- ยาสำหรับละลายน้ำ
- ให้ไก่กินติดต่อกัน 3-5 วัน เพื่อป้องกันและรักษา
รักษาไก่เป็นหวัดเรื้อรัง
โรคไข้หวัดไก่เรื้อรังเป็นโรคไข้หวดัในไก่ที่รักษานาน และรักษาไม่หายขาดจนเกิดอาการเรื้อรัง
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา ที่อยู่ใน Family Mycoplasmataceae มีหลายซีโรไทป์ แต่ เชื้อที่พบมากที่สุด
ในไก่และไก่งวง คือ
- Mycoplasma gallisepticuI (Mg)
- mellegridis (Mm)
- synoviae (Ms)
- iowae (Mi)
โดยปกติแล้วเมื่อไก่ป่วยเป็นโรคนี้ก็มักจะมีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นเป็น
CRD complex แบคทีเรียดังกล่าว เช่น
- Escherichia coli
- Hemophillus gallinarum
- Staphylococcus spp.
นอกจากนี้ ยังมีเชื้อไวรัสจากโรคหลอด-ลมอักเสบและโรคนิวคาสเซิลเข้าแทรกด้วย
การติดต่อ
- ทางอากาศ
- จากการสัมผัสไก่ที่ป่วยเป็นโรค
ระยะฟักตัว
- ประมาณ 4 – 21 วัน
อาการของโรค
- น้ำมูกไหลหรือไม่มีมูกเลยก็ได้
- จามบ่อย หน้าอาจบวมเล็กน้อย
- ตาอักเสบและมีน้ำตา หายใจมีเสียงดัง-ครืดคราดอยู่ภายในหลอดลม
- เบื่ออาหารน้ำหนักลด
- อัตราการไข่ลดลงในไก่ไข่
การรักษา
ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น
✔ ไทโลซิน TARLOSIN
สรรพคุณ
- แก้โรค CRD หวัดเรื้อรัง เป็นหัวใจของคนเลี้ยงไก่เลย
- ถ้าใช้ตัวนี้ในระยะ ไก่เล็กช่วงแรกๆ จะไม่มีปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจ
วิธีการใช้
- มีข้อเสียเรื่องความขม เวลาให้ยา ต้องเอาน้ำเปล่าออกให้หมด แล้วใส่ยาผสมน้ำ ป้องกันไม่ให้ไก่เลือกกินแต่น้ำเปล่า
✔ เบต้าไมซิน
สรรพคุณ
- ใช้ป้องกัน และรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเกินหายใจ
- หวัด ซี.อาร์.ดี.
- ลำไส้อักเสบในสัตว์ปีก
วิธีการใช้
- โดยการละลายน้ำให้สัตว์กิน
- รักษาโรคลำไส้อักเสบ ให้ยา 4 กรัม ละลายน้ำ 4 ลิตรให้กินติดต่อกัน 5-7วัน
- รักษาหวัด ซี.อาร์.ดี. ให้ยา 4 กรัม ละลายน้ำ 2 ลิตรให้กินติดต่อกัน 5-7วัน
- รักษาโรคอหิวาต์ ให้ยา 20 กรัม ละลายน้ำ 4 ลิตรให้กินติดต่อกัน 5-7วัน
✔ เอนโร-100
สรรพคุณ
- ใช้ละลายในน้ำดื่มสำหรับสัตว์ปีก เพื่อป้องกันและรักษาโรค ติดเชื้ออันมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบที่ไวต่อยานี้
- รักษาเชื้อไมโคพลาสม่าในระบบทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ
- โรคท้องร่วง
- ขี้ขาว ขี้เขียว
- ติดเชื้อ อี.โคไล
- หวัดหน้าบวม
- อหิวาห์
- หวัด ซี.อาร์ดี.
- คอมเพล็กซ์
- ปอดบวม
วิธีการใช้
- สำหรับใช้เพื่อป้องกันสัตว์ปีกเช่น ไก่ เป็ด นก ใช้ เอนโร-100 1-2 ซี.ซี.ต่อน้ำ 2 ลิตร ผสมน้ำให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน
- สำหรับใช้เพื่อรักษาสัตว์ปีกเช่น ไก่ เป็ด นก ใช้ เอนโร-100 1-2 ซี.ซี.ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมน้ำให้กินติดต่อกัน 5-7 วัน
การป้องกัน
- หมั่นตรวจดูฝูงไก่บ่อย ๆ ถ้ามีไก่ป่วยให้แยกออกไปรักษาและทำลายทันที
- ทำความสะอาดโรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ
- ทำวัคซีนป้องกันโรคตามโปรแกรมที่กำหนด หรือละลายยาปฏิชีวนะให้กิน
- ปิดคอกไก่ให้มิดชิดช่วงฝนตก แล้วให้ผสมยาเบต้ามัยซิน หรือเอนโร-100 กินติดต่อกัน 3 วันเพื่อป้องกันหวัด
- ให้วิตามินฟาร์ม่าวิทเพื่อป้องกันหวัดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง หรือทุกวัน
ไก่เป็นหวัดมีกลิ่นเหม็น
ไก่เป็นหวัดหรือมีกลิ่นเหม็นออกมาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า >>> โรคหวัดตาลมูก
โรคหวัดตาลมูก โรคที่ติดเชื้อทางระบบทางเดินอาหาร จะมีลักษณะเป็นน้ำมูกบริเวณจมูกของไก่ มีลักษณะขุ่นข้น บริเวณลำคอ หลอดอาหาร เมื่อกินอาหารเข้าไปอาหารจะตกลงไปในกระดพาะไม่หมดเพราะบางส่วนจะติดตามน้ำมูกหรือเสหะบริเวณหลอดอาหารสะสมจนทำให้เกิดการเน่าเสียจนส่งกลิ่นเหม็น แบ่งได้ในไก่ 2 รุ่น แยกออกเป็น 2 ประเด็นคือ
- ข้อแตกต่างในการรักษา
- ความยากง่ายในการรักษา
- ปริมาณแตกต่างกันออกไป ถือว่าเป็นเทคนิคในการรักษาและใช้ยา
- ไก่เล็ก
ตั้งแต่เกิดมา >>> ละลายยา+วิตามิน B12 และวิตามิน C ให้กินติดต่อกัน 21 วัน แล้วจึงปล่อยลงดิน
- ไก่โต
กรณีในไก่เเป็นไข้หวัดมีน้ำมูก และเริ่มที่จะมีอาการหนัก
- ใช้ยาละลายน้ำ + ยาลดไข้เด็กน้ำ + ยาลดน้ำมูกชนิดน้ำละลายผสมให้กิน
กรณีมีเสมหะ
- ใช้ยาละลายน้ำ + ยาลดน้ำมูก + คลอเฟน้ำ
กรณีที่ใช้ยากลุ่ม Enrofloxacin น้ำ
- ละลายเพิ่มเป็น 3 เท่า เพื่อรักษา ให้ตอบสนองหวัดได้ดีมาก
กรณีเป็นหลอดหลอมอักเสบ
- ควรเพิ่มยาขยายหลอดลม เข้าไปเพื่อลดการหอบ และให้หายใจสะดวก
- เติมวิตามินลงไปจะทำให้ไก่จะฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรให้วิตามีนซีเสริมให้ไก่ชนด้วยเพราะวิตามีนซีช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันไก่ได้
ในการรักษาโรคไข้หวัดตาลมูก
- หยดยา Super CRD น้ำ 1/2 หลอด เช้า-เย็น ตามด้วยน้ำเยอะ ๆ
- เมื่ออาการหวัดแห้ง ให้ฉีด Super CRD Inj (ยาฉีด) 0.5 + Vita-S 0.5 ทุกวัน
- เมื่อหวัดแห้ง คือไม่มีน้ำมูก ตาเปียก ก็หยุดให้ยาน้ำ ให้ยาฉีดอย่างเดียว
คอครอก คอดัง ตาบวม สัญญาณเริ่มต้นของโรคไข้หวัดไก่
โรคคอครอกโรคคอดัง
อาการ
มีเสียงเสลดในลำคอเวลาหายใจ ส่วนใหญ่มักนอนในที่สูง หรือที่โล่งๆ หรือเจอในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
การรักษา
- ให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ โรยคอ ครั้งละ 1 กรัม ติดต่อกัน 3-5 วัน
- ให้ยาซุปเปอร์กรีนพลัสหยอดลำคอวันละ 1 หลอด
- หากอาการรุนแรง ให้ยาฉีดยูยา + ไวต้า อย่างละ 1 ซีซี
การป้องกัน
จัดการสภาพการเลี้ยงให้ดี หรือให้ยาป้องกันในช่วงที่อากาศเปลี่ยน
โรคตาบวม
อาการ
บวมแดง มีน้ำตาไหล มีฟองอากาศ
การรักษา
- ให้ยาลินโคสเปคตินชนิดผง ละลายน้ำให้ไก่กิน 3-5 วัน ขนาด 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร
- ใช้ยา Terramycin ป้ายตา 3 วันติดต่อกัน
- ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาลินโคสเปคตินชนิดฉีด ปริมาณ 0.5 ซีซี/น้ำหนักตัวไก่ 3 กิโลกรัม
รักษาหวัดไก่ใช้สมุนไพร
การเลี้ยงไก่ส่วนใหญ่เกษตรกรทั่วไปจะเน้นเลี้ยง แบบปล่อยธรรมชาติ และลดต้นทุนเรื่องการให้อาหารและยารักษาโรค จะเลือกใช้วัตถุดิบที่หางได้ง่ายในท้องถิ่นของตนมารักษา การเลี้ยงไก่ให้มีสุขภาพแข็งแรง ไก่ต้องมีพื้นที่ สำหรับไก่ได้คุยเขี่ยหาอาหาร สามารถหากินแมลงตามธรรมชาติ และเดินออกกําลังกาย จะทำให้ไก่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย หากเป็นโรคไม่รุนแรงไก่ก็จะสามารถฟื้นตัวได้เร็ว การใช้ยาปฏิชีวนะจึงไม่จําเป็น แต่ในกรณีที่ไก่เจ็บป่วยเป็นไข้หวัดก็จะใช้สมุนไพร มีพืชสมุนไพรหลายชนิดใช้รักษา
สูตรที่ 1 สูตรยารักษาไข้หวัดไก่
ส่วนประกอบที่ใช้
- บอระเพ็ดปริมาณ 1 กก.
- กากน้ำตาล 1 แก้วน้ำดื่ม
- เกลือเม็ด 1 ขีด
- น้ำเปล่า 1 ลิตร
วัสดุอุปกรณ์
- มีด
- ถังผสม
วิธีทำ
- นำบอระเพ็ด มาทุบและใช้มีดสับให้มีความยาวขนาด 1 นิ้ว
- นำเกลือเม็ด กากน้ำตาล และบอระเพ็ด มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เติมน้ำเปล่าใส่ลงไปให้ท่วมวัตถุดิบ นำมาใส่ภาชนะที่มีฝาปิด สามารถนําไปใช้ได้เลย หรือหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก็ได้
ขนาดและวิธีใช้
- การนําไปใช้ ให้ผสมกับน้ำให้ไก่กิน 15 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 3 วัน ไก่จะมีอาการดีขึ้น หรือ สามารถนำมาใช้ผสมกับอาหารให้ไก่กินได้
ข้อดีของยาสมุนไพร
- เมื่อเราให้ไก่กินจะทำให้ไก่มีสุขภาพดี
- ลดอัตราการเกิดโรค
- สามารถกินได้ทั้งไก่ไข่ ไก่เนื้อ
- คุมเรื่องโรค อหิวาต์
- โรคท้องร่วงที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าหนาว
- เป็นการสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับไก่ ทำให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคหรือติดโรคง่าย
- เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกัน มานาน และค่อนข้างใช้ได้ผลวัตถุดิบส่วนผสมหาไม่ยาก มีอยู่ทุกชุมชน
สูตรที่ 2 สูตรยารักษาไข้หวัดไก่
ส่วนประกอบที่ใช้
- บอระเพ็ดปริมาณ 2.5 กก.
- ฟ้าทะลายโจรปริมาณ 0.5 กก.
- กากน้ำตาล 1 กก.
- น้ำสะอาด
วัสดุอุปกรณ์
- ถังพลาสติก
- มีด
วิธีการทำ
- นำส่วนผสมบอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร หั่นให้ละเอียด
- นำกากน้ำตาลมาใส่และคลุกเคล้าให้เท่ากัน
- นำมาใส่ถังพลาสติก เติมน้ำสะอาดพอท่วมวัตถุดิบทั้งหมด และหมักไว้นานประมาณ 1 เดือน
ขนาดและวิธีใช้
- ใช้สลิงฉีดยา ดูดเอาน้ำหมักสมุนไพรที่หมักเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 5 ซีซี ฉีดกรอกปากไก่ ที่มีอาการคอดัง หรือหายใจติดขัด ต่อเนื่องกันไม่เกิน 5 วัน
ข้อดี
- อาการของไก่จะดีขึ้น และมีสุขภาพแข็งแรง โตเร็ว ตรงตามความต้องการของตลาด
สูตรที่ 3 สูตรยารักษาไข้หวัดไก่
ส่วนประกอบที่ใช้
- ฟ้าทะลายโจร
- บอระเพ็ด
- น้ำสะอาด
วัสดุอุปกรณ์
- ถังพลาสติก
- มีด
วิธีการทำ
- นำฟ้าทะลายโจร และบอระเพ็ดมาสับให้ละเอียด
- นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าให้เข้ากันและเทน้ำสะอาดลงไป หมักไว้ให้ไก่กินประมาณ 1 สัปดาห์
ขนาดและวิธีใช้
- เมื่อครบ 1 สัปดาห์ นำมาเทใส่รางให้ไก่กิน
ข้อดี
- เมื่อไก่กินอาการหวัดก็จะหายไป สูตร สามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันป้องกันไหวัดในไก่ได้