ยารักษาไก่ขี้ขาว ขาอ่อน กะเพาะไม่ย่อย โรคขี้ขาวในไก่อาการ สมุนไพรรักษาไก่ขี้ขาว

คิดจะทำเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ ต้องทำการศึกษาให้ดีก่อนที่จะเริ่มเลี้ยง วันนี้เราจะมายกตัวอย่างโรคที่เกิดบ่อย และค่อนข้างอันตรายในไก่ อย่างเรื่องโรค”ไก่ขี้ขาว ยารักษาไก่ขี้ขาว ขาอ่อน กระเพาะไม่ย่อย และสมุนไพรที่ใช้รักษาไก่ขี้ขาว”  เผื่อท่านใดกำลังมองหาความรู้หรือต้องการคำตอบที่กำลังหาอยู่นั้นเอง

Table of Contents

ไก่ขี้ขาวคืออะไร

โรคติดเชื้อในสัตว์ปีกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เพาะเลี้ยงไก่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่

  • ลูกไก่ที่มีอายุต่ำกว่า 3 อาทิตย์ เมื่อเป็นโรคขี้ขาวจะมีอัตราการตายสูง 5 – 100 เปอร์เซ็นต์
  • ลูกไก่จะได้รับเชื้อจากแม่ไก่ โดยปล่อยเชื้อจากรังไข่ผ่านทางไข่
  • การแพร่เชื้อในตู้ฟักไข่
  • การแพร่เชื้อจากลูกไก่ป่วยสู่ลูกไก่ตัวอื่นๆ
  • กินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของไก่ ป่วย
  • ทำให้อัตราการฟักต่ำ
  • เกิดลูกไก่ตายโคมมาก หรือฟักออกแล้วลูกไก่ไม่แข็งแรง อ่อนแอตาย เมื่อ อายุ 4 – 5 วัน
  • ลูกไก่ตายมากที่สุดช่วงอายุ 2 – 3 อาทิตย์
  • ลูกไก่ที่มีอายุมากขึ้น จะมี ความต้านทานโรคสูงขึ้น
  • ไก่ที่รอดตายจะเป็นพาหะนําโรค และปล่อยเชื้อออกมาตลอดชีวิต

ไก่ขี้ขาวเกิดจากสาเหตุอะไร

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้คือ S. pullorum เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นแท่ง

  • มีความทนทานในสภาพแวดล้อมปานกลาง
  • สามารถอยู่ได้นานเป็นเดือน
  • การฆ่าเชื้อได้ด้วยการรมควันด้วยฟอร์มาดีไฮด์ในไข่ฟัก

 

โรคขี้ขาวในไก่อาการเป็นอย่างไร

โรคขี้ขาวเป็นโรคติดต่อในไก่ สามารถติดเชื้อผ่านไข่ได้ โดยจะพบ

อาการในลูกไก่ -ไก่ใหญ่

  • อาการท้องเสีย สิ่งขับถ่ายเป็นสีขาว
  • มีอัตราการตายสูงในลูกไก่
  • ไก่ใหญ่จะเป็นพาหะของโรคโดยไม่แสดงอาการป่วย
  • อัตราการป่วยและตายจะเพิ่มขึ้นในวันที่ 7 – 10
  • ไก่ที่ป่วยจะพบว่ามีมูลสีขาวติดก้น
  • แคระแกร็น ขนไก่รอบๆ ทวารจะเปื้อนไปด้วยมูลไก่
  • มีมูลแห้งติดอยู่บริเวณก้น

อาการในแม่ไก่

  • เมื่อแม่ไก่ติดเชื้อเข้าไป จะเกิดอาการ เหงาและซึม
  • หงอนหรือเหนียงซีด
  • ท้องร่วง ถ่ายออกมาเป็นสีขาว
  • มีการแพร่เชื้อจากแม่ไก่สู่ลูกไก่ ทำให้ไข่ที่ฟักออกมานั้นมีโรคขี้ขาวติดมากับลูกไก่ด้วย

การแพร่เชื้อ

  1. จากแม่ไก่ไปสู่ไข่ไก่
  2. จากอุจจาระ และน้ำดื่ม
  3. สัตว์พาหะ เช่น แมลงวัน หนู นก
  4. อุปกรณ์ใส่น้ำ อาหาร รังฟัก
  5. หากแม่ไก่ของท่านเป็นโรคนี้ ควรจับแยก

โรคขี้ขาวรักษายังไง

การรักษาโรคขี้ขาวโดยการให้ยาฆ่าเชื้อกลุ่มซัลฟาได้แก่

  • ซัลฟาเมอราซีน
  • ซัลฟาเมธาซีน
  • ซัลฟาคลินน๊อกซาลิน

หรือทำการผสมด็อกซี่ซอล 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 2 ลิตร ผสมอีเอ็ม 1 ช้อนชา ผสมวิตามินรวม1 ช้อนชา ให้ไก่กิน ด็อกซี่ซอลจะฆ่าเชื้อโรคในลำไส้ อีเอ็มจะปรับสมดุลทำให้ลำไส้ดีขึ้น วิตามินรวมจะช่วยให้ไก่ไม่ช็อคจากอาการขาดน้ำหรืออ่อนเพลียจากท้องเสีย และทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วหากรักษาไม่ทัน ให้ นำซากฝังลึกๆ หรือเผาซากทิ้ง จะได้ไม่แพร่สู่ตัวอื่นๆจากนั้นทุกสัปดาห์ ให้ฉีดพ่นเล้าไก่ด้วยอีเอ็มเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ หมั่นทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำ ใส่อาหาร เปลี่ยนน้ำทุกวันและพยายามไม่ให้เล้าไก่ชื้นแฉะ

ยารักษาไก่ขี้ขาว

ซัลฟาเมท Sulfamet

สรรพคุณ
ไก่ ใช้รักษาโรคหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บิด (ค๊อกชิดิโอชิส) อหิวาต์ ขี้ขาว และอนาติเพสติเฟอร์

ขนาดและวิธีใช้
ไก่ ใช้ยาขนาด 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 4 ลิตร ให้กินติดต่อกันนาน 3-6 วัน

คำเตือน: ห้ามใช้ในไก่ไข่

ยาไก่ ฟ็อกซี่

สรรพคุณ

ใช้ป้องกันและรักษาโรคขี้ขาว ขี้ติดก้น เหงา ซึม ขนพอง ตัวร้อน ปีกตก กัมโบโร หงอนดำ โดยเฉพาะตั้งเเต่เเรกเกิด จะลดการตายของลูกไก่ได้มาก

ขนาดและวิธีใช้

ใช้ยา 1 กรัม ละลายน้ำ 10 ลิตร กินติดต่อกัน 3-5 วัน

เทคนิคการป้องกันไก่ขี้ขาว

การป้องกันโรคขี้ขาวในไก่ มีวัตถุดิบดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

  • น้ำมันหมู 10 มล.
  • ข้าวสาร 1 กก.
  • กะละมังสำหรับผสม 1 ใบ

วิธีการทำ

  1. นําข้าวสาร 1 กก. น้ำมันหมู 10 มล. มาใส่ในกะละมังสำหรับผสม
  2. จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน แล้วนำไปป้อนให้ไก่กิน

วิธีการใช้

  1. นําอาหารที่ผสมได้ไปป้อนให้ไก่กิน โดยให้กินตัวละ 3 ครั้ง
  2. ในช่วงเวลาเช้า กลางวัน เย็น จะช่วยป้องกันโรคขี้ขาวและโรคอหิวาในไก่ได้

ไก่ขาอ่อน

ขาอ่อนเกิดจาก

  • ฤดูฝน ฟ้าครึ้ม แดดน้อย ซึ่งไก่จำเป็นต้องใช้แดดในการสังเคราะห์วิตามินดี
  • เมื่อวิตามินดี ไม่เพียงพอ ต่อการดูดซึมแคลเซียมแม้ว่าจะได้กินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน แต่ก็ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้เพียงพอจึงทำให้เกิดอาการขาอ่อน
  • ขาดสารอาการ
  • กินอาหาร ไขมันสูง มากเกินไป
  • ระบบดูดซึมผิดปกติ เช่น ถ่ายเหลว ขี้เขียว ขี้ขาว อาหารไม่ย่อย กินน้ำเยอะผิดปกติ เบื่ออาหาร
  • ขาอ่อน หลังป่วยหนัก
  • แม่ไก่ขาอ่อน หลังออกไข่

วิธีป้องกัน ไก่เกิดอาการขาอ่อน

  1. ปล่อยเลี้ยงกลางแจ้งเพื่อรับแดด และได้ใช้กําลังขา
  2. เมื่อเข้าฤดูฝนควรเสริมแคลเซียมเพื่อป้องกันอาการขาอ่อน
  3. ให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน สมุนไพร ไก่ ขาอ่อน

วิธีแก้ไขอาการขาอ่อน

  • ให้ไก่ออกกําลังกาย เช่นวิ่งล้อ กินโปรตีนเสริมกล้ามเนื้อ

วิธีแก้ไก่ขาอ่อนจากการติดเชื้อ

  • กินยาฆ่าเชื้อ เพื่อให้ไก่หายขาด
  • บํารุง วิตามิน พร้อมกับการออกกําลังกาย

ยาที่ใช้ในการรักษา

สปีดแคลเซียม แคลเซียมเหลว

สรรพคุณ

  • ช่วยฟื้นฟู อาการขาอ่อนของไก่
  • บํารุงโครงสร้างให้แข็งแรง สมบูรณ์

ขนาดและวิธีใช้

  • บํารุงทั่วไป ให้กินครั้งละ 1-2 ปั๊ม วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
  • แก้อาการขาอ่อน ให้กิน 2-5 ปั๊ม วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
  • ควรกินต่อเนื่องอย่างน้อย 20 วัน เพื่อสะสมแคลเซียม

Super B cal Phos ซุปเปอร์บีแคลฟอส

สรรพคุณ

  • ใช้ฉีดสำหรับ ไก่ที่ขาอ่อน อ่อนเพลีย หน้าซีด บำรุงเลือดในไก่ชน
  • บำรุงไก่ตัวเมียอายุมากไม่ค่อยออกไข่

ขนาดและวิธีใช้

  • ไก่ใหญ่ฉีดเข้ากล้ามเนื้ออกไก่ตัวละ 1 ซีซี ฉีดติดต่อกัน 3-5 วัน

ยูเนี่ยนซัลฟา

สรรพคุณ

  • รักษาโรคบิด บิดเรื้อรัง อหิวาต์ ไทฟอยด์ ขี้เขียว ขี้ขาว ท้องเสีย

ขนาดและวิธีใช้

  • ให้กินครั้งละ1-2 เม็ด 2 ครั้งเช้าเย็น ให้กินติดต่อกัน 2-3 วัน หลังอาหาร
  • ห้ามเกินนี้จะดื้อยา ไม่หายเปลี่ยนวิธีรักษา

ไก่กระเพาะไม่ย่อย

กระเพาะไม่ย่อยเกิดจาก

  • เกิดการชนกันหนักมา บาดเจ็บ หรือกำลังป่วย
  • ไก่ที่เป็นโรคนี้จะไม่กินอาหารจะหิวแต่น้ำหรือไม่กินอะไรเลย เพราะด้วยอาหารที่เน่าเสียอยู่เต็มกระเพาะ
  • ถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวัน ไก่จะซึม ทรุด และป่วยแทรกซ้อนตายในที่สุด

วิธีการรักษา

  • ต้องเอาอาหารที่ตกค้างในกระเพราะออกให้หมดก่อน
  • ให้อาหารเหลวอย่างเดียว จนกว่ากระเพาะจะกลับมาทำงานปกติ
  • ควบคู่กับการกินยา หรือฉีดยา ติดตามโรคและอาการไก่ที่กำลังป่วยต่อเนื่อง

วิธีการให้อาหาร

  • นำอาหารเหลวให้ด้วยสายยาง ต่อตรงถึงกะเพาะ
  • ห้ามป้อนโดยให้หลอดฉีดยา เพราะไก่บางตัวป่วยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร และเชื้ออาจปนเปื้อน ไปติดเชื้อทางเดินอาหารได้

สมุนไพรรักษาไก่ขี้ขาว

สูตรรักษาไก่ขี้ขาว

วัสดุอุปกรณ์

  • รำช้าว 1 กิโลกรัม
  • น้ำมันหมู 200 มิลลิลิตร
  • น้ำ

ขั้นตอนการทำ

  • นำรำช้าว เตรียมไว้มาผสมกับน้ำมันหมู ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • เมื่อส่วนผสมเข้ากันแล้ว ให้ค่อยๆใส่น้ำลงไป

วิธีใช้

  • ปั้นเป็นก้อนๆ แล้วน่าไปวางตามจุดต่างๆให้ไก่กิน ประมาณ 3 วัน ไก่จะมีอาการดีขึ้น

ซุปเปอร์ไทสัน สมุนไพรรักษาไก่

สรรพคุณ

  • เป็นสมุนไพรช่วยรักษาโรคนิวคลาสเซิล อหิวาต์ (ห่าไก่) ขี้เขียว ขี้ขาว หวัดคอดัง หวัดหน้าบวม บิดเหงาซึมปีกตกขนพอง ไม่เป็นอันตรายกับไก่ชน

ขนาดและวิธีใช้

  • ไก่รุ่นถึงไก่ใหญ่กิน 3แคปซูล เช้าเย็น

ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการติดเชื้อซัลโมเนลลา Salmonellosis

โรคติดเชื้อซัลโมเนลลา Salmonellosis

เชื้อซัลโมเนลลาในไก่สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม

  1. เป็นเชื้อที่ก่อโรคเฉพาะเจาะจงในไก่ สาเหตุเกิดจากเชื้อ 2 ซีโรไทป์ได้แก่
  • pullorum
  • gallinarum
  1. เป็นเชื้อที่ไม่เฉพาะเจาะจงต่อชนิดสัตว์ สาเหตุเกิดจากเชื้อหลายซีโรไทป์เชื้อที่สำคัญได้แก่
  • Enteritidis
  • Typhimurium

ยกตัวอย่างเช่น

โรคไทฟอยด์ (FOWL TYPHOID)

สาเหตุ

  • เป็นโรคติดเชื้อทางกระแสเลือดที่มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังที่เกิดขึ้นกับไก่
  • เชื้อที่เป็นต้นเหตุ คือ Salmonella gallinarum 
  • โดยเชื้อนี้มีความสามารถในการเป็นแอนติเจนเหมือนกับ  pullorum

 การแพร่เชื้อ

  • เกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ และเชื้อผ่านเข้าไปในฟองไข่
  • การแพร่กระจายเชื้อโดยหลักแล้วเกิดระหว่างการเลี้ยง หรือฝูงไก่
  • พบอัตราการตายในไก่ใหญ่มากกว่า

โรคไทฟอยด์แบบเฉียบพลัน (Acute fowl typhoid)

สาเหตุ

  • ปัญหาของโรคเริ่มจากพบว่าไก่กินอาหารลดลง และผลผลิตไข่ลดลง
  • ความสมบูรณ์พันธุ์และอัตราการฟักลดลง
  • ยังพบปัญหาท้องเสีย อัตราการตายในแบบเฉียบพลันนั้นค่อนข้างสูง

การรักษา

  • การรักษาด้วยยานั้นไม่สามารถกำจัดภาวะการเป็นตัวพาหะได้
  • การรักษาไก่ที่ป่วยด้วยโรคไทฟอยด์ หรือโรคขี้ขาวนี้จะไม่สามารถหวังผลการรักษาได้

โรคพาราไทฟอยด์ (PARATYPHOID INFECTIONS)

สาเหตุ

  • เป็นโรคแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรังในไก่ และสัตว์ปีกต่าง ๆ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  • อัตราการป่วยและอัตราการตายที่สูงที่สุดนั้นปกติพบในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฟักจากออกจากไข่
  • พบวิการของการอักเสบแบบมีเลือดออกและมีการลอกหลุดของผนังไส้ตัน
  • เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีสารพิษเอนโดท็อกซิน ทำให้เกิดอาการท้องเสีย แห้งน้ำ และพบมูลเปื้อนรอบ ๆ รูทวาร

การรักษา

  • การรักษานั้นสามารถยับยั้งเชื้อได้แต่ไม่สามารถกำจัดการติดเชื้อ
  • การรักษาที่เหมาะสมสามารถลดอัตราการตายจนสัตว์นั้นมีการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกัน

วิธีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเล้าไก่แบบง่ายๆ

 

เมื่อเวลาผ่านไปเล้าไก่จะกลายเป็นฝุ่นและมีใยแมงมุมมากขึ้น ที่นอนมีการสะสมของมูลไก่และสิ่งสกปรกเกาะตามเท้าไก่ ขนไก่ ก่อนที่จะร่วงหล่นลงบนอาหารที่ไก่กิน พื้นในเล้าไก่มีมูลไก่มากกว่าที่ทิ้งขยะ สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อการทำความสะอาดแบบละเอียด ช่วยลดปัญหาความรุนแรงของโรคทำให้จัดการไก่ได้ง่ายขึ้น

เมื่อไหร่ที่เราต้องทำความสะอาดเล้าไก่

  • ก่อนที่จะเพิ่มไก่รุ่นใหม่เข้าเล้า
  • หลังจากเกิดโรคระบาด เช่น
  • มาเร็กซ์
  • ไรแดง
  • โรคทางเดินหายใจ
  • หลอดลมอักเสบติดต่อ
  • อหิวาต์
  • นิวคาสเซิล
  • พบว่าไก่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีมูลสัตว์ทับถมและพื้นที่เปียกชื้นมีกลิ่นดึงดูดแมลงวันและหนู

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • ผงซักฟอก และขวดสเปรย์
  • เดทตอลหรือยูซีเซฟ ชนิดไม่ต้องล้างออก
  • ไม้กวาดและที่กวาดหยากไย่
  • บุ้งกี๋ หรือ กระสอบใส่ขี้ไก่
  • พลั่วตักขี้ไก่หรือจอบ
  • เสื้อผ้ามิดชิด แขนยาว ขายาว
  • หน้ากากอนามัย
  • แว่นกันฝุ่นเข้าตา
  • ถุงมือ รองเท้าบูทสูง
  • ผงทิคทอคโรยพื้น
  • สเปรย์ฉีดแมลงฟูคิว

ขั้นตอนการทำความสะอาดเล้าไก่

  • แต่งตัวมิดชิด ใส่หน้ากากอนามัย ใส่ถุงมือ ใส่แว่นป้องกันฝุ่นเข้าตา รองเท้าบูท
  • ย้ายภาชนะที่ถอดออกได้ นำมาไว้ด้านนอก เช่น ถาดใส่น้ำ ใส่อาหารคอนนอน รังฟักไข่
  • ผสมผงซักฟอกในน้ำ แล้วเทและแช่ภาชนะไว้ก่อนเพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออก
  • ทำความสะอาดหยากไย่ตามหลังคากวาดมูลไก่ตามเสาคอนนอน รังฟักไข่ที่อยู่ตามด้านสูง ลงมาให้หมด
  • เตรียมบุ้งกี๋ หรือกระสอบ โกยมูลไก่ออกมาให้หมด
  • ใช้พลั่วตักหน้าดินออกประมาณ 15 ซม ถึง 30 ซม. เชื้อโรคหรือแมลงจะอาศัยอยู่ตามความลึก 10-15 ซม
  • ผสมผงซักฟอก ราดทั้งเล้าไก่ โดยเริ่มจากพื้นดินก่อนแล้วไล่ไปตามเสา จนถึงหลังคา หลังคาควรนำน้ำผงซักฟอกใส่ขวดสเปรย์พ่นขี้นไป
  • ทิ้งไว้จนกว่าพื้นจะแห้ง อาจจะครึ่งวันหรือทั้งวัน กลับมาล้างภาชนะที่แช่ผงซักฟอกไว้แล้วตากให้แห้ง
  • หลังจากพื้นแห้งแล้ว ให้ผสมยูซีเซฟหรือเดทตอล กับน้ำตามสัดส่วน ราดพื้นพ่นเสา และพ่นหลังคา เหมือนกับที่ราดผงซักฟอกอีกรอบแล้วรอให้พื้นแห้งวิธีนี้จะเป็นการฆ่าเชื้อโรค
  • หลังจากพื้นที่ราดด้วยยายูซีเซฟหรือเดทตอลแห้งแล้ว ให้พ่นยาฆ่าแมลง เช่นไบกอน ฟูคิว หรือ น้ำสะเดา เพื่อฆ่าพวกไรแดง หรือแมลงตามผนังตามเล้าไก่พ่นตามเสา ตามหลังคาและพื้นดินให้ทั่ว
  • พักเล้าไก่ไว้สัก 2-3 ชั่วโมงให้กลิ่นยาฆ่าแมลงหายไป
  • โรยผงทิคทอคตามพื้นให้ทั่วเพื่อกำจัดพยาธิและไข่แมลงวันตามพื้นดิน
  • เติมหน้าดินใหม่ลงไปในเล้าไก่ และโรยผงทิคทอคลงในหน้าดินใหม่อีกรอบ
  • เติมแกลบหรือขี้เลื่อยลงในเล้าไก่
  • ประกอบคอนนอน รังฟักไข่ และนำภาชนะไว้ในนำแหน่งเดิม
  • เติมน้ำผสมวิตามินแก้เครียดในน้ำเพื่อให้ไก่กินป้องกันการเครียดจากการเคลื่อนย้าย ไก่ในช่วงทำความสะอาดเล้าไก่ในช่วงนี้อาจจะไข่ลดลงเล็กน้อยเนื่องจากการเคลื่อนย้าย แต่ไม่นานไก่จะกลับมาไข่ได้ตามปกติ และสุขภาพดีขึ้น ไม่ป่วยง่าย
  • นำไก่เข้าเล้าไก่ตามปกติ
  • ควรพ่นหรือราด ยาฆ่าเชื้อยูซีเซฟสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ทำให้ไก่ของป่วยง่าย