วิธีรัักษาแพะท้องเสีย แพะท้องเสีย ซึม ไม่กินอาหาร ฉีดยาอะไร สมุนไพรแก้ท้องเสียแพะมีอะไรบ้าง ลูกแพะท้องเสียเกิดจากอะไร

Table of Contents

 ลูกแพะท้องเสียใช้ยาอะไร

เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะมือใหม่น่าจะประสบกับปัญหาด้านสุขภาพ และกำลังหาวิธีการรักษา ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่พบก็คือ แพะมีอาการท้องเสียรักษาไม่หาย ตามหาวิธีการรักษาแพะ ท้องเสียและต้องฉีดยาอะไร มีสมุนไพรแก้อาการท้องเสียไหม ลูกแพะท้องเสียเกิดจากอะไร ต้องใช้ยาอะไร เกษตรกรหลายๆท่านกำลังประสบปัญหานี้อยู่และกำลังหาคำตอบอยู่ เรามาศึกษาและหาคำตอบไปพร้อมๆกับบทความนี้เลยจ้า

แพะท้องเสียคืออะไร

แพะท้องเสีย ท้องร่วง หรือ ขี้รั่ว ก็คือภาวะที่แพะนั้นมีการถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน อาการท้องเสียในแพะเป็นปัญหาที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง โดยปัญหาที่พบสามารถแบ่งจากสาเหตุได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ

  1. ภาวะท้องเสียจากการติดเชื้อโรค
  2. ภาวะท้องเสียจากการไม่ติดเชื้อโรค

แพะท้องเสียเกิดจากอะไร

ภาวะท้องเสียจากการติดเชื้อโรค

โดยเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดภาวะนี้คือ

  • พยาธิในทางเดินอาหาร
  • เชื้อบิด
  • อาจพบเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส

ลักษณะอุจจาระจากการติดเชื้อ

  • ลักษณะของอุจจาระที่เหลวนั้นมักจะมีกลิ่นเหม็น
  • กลิ่นคาว
  • สีเปลี่ยนไปจากปกติ
  • อาจพบมูกใสหรือเลือดปะปนอยู่ด้วย

การรักษาเบื้องต้นของภาวะท้องเสีย

  • จากการติดเชื้อนิยมใช้ยาปฏิชีวนะ กลุ่ม Sulfatrimethoprim ร่วมกับยาลดปวดลดอักเสบกลุ่ม Phenylbutazone
  • จากนั้นแก้ไขภาวะขาดน้ำ และสูญเสียแร่ธาตุโดยการให้สารน้ำชนิด เกลือแร่

การป้องกันเบื้องต้น

  • ต้องให้ความสำคัญในเรื่อง ความสะอาด สุขอนามัยเป็นหลัก
  • ความปลอดทางชีวภาพร่วมกับโปรแกรมการป้องกันพยาธิ

ภาวะท้องเสียจากการไม่ติดเชื้อโรค

โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุคือ ส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากปัญหาอาหาร และการให้อาหารแพะ ได้แก่

  • การกินอาหารหยาบที่มีปริมาณน้ำสูง การ
  • กินอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป
  • การปรับเปลี่ยนอาหารกระทันหัน
  • การให้อาหารข้นไม่สมดุลกับอาหารหยาบ
  • การได้รับสารพิษทางการกิน

ลักษณะอาการที่พบ

  • ลักษณะของอุจจาระที่เหลว
  • ไม่มีกลิ่นคาวหรือสีที่ผิดปกติ
  • อาจพบสารพิษบ้างเล็กน้อย

การแก้ไขปัญหาท้องเสียเบื้องต้น

  • การจัดการเรื่องอาหาร และการให้อาหาร ที่ถูกต้องและเหมาะสมทั้งต่อตัวแพะ
  • รูปแบบการ เลี้ยงและเป้าหมายการผลิต อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจอุจจาระเป็นประจำ

แพะท้องเสียมีอาการอย่างไร

โดยปกติแล้วลักษณะของอุจจาระแพะจะถ่ายเป็นเม็ด แต่ถ้าแพะเกิดอาการถ่ายเหลวขึ้นมามันเกิดสาเหตุอะไร อย่างแรกที่เราควรคำนึงคือ เมื่ออาหารถูกย่อยไปก็จะถูกดูดซึมที่ส่วนของกระเพาะและลำไส้ การที่แพะเกิดอาการถ่ายเหลวก็เนื่องมาจากการดูดซึมน้ำในส่วนของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ แต่ทำไมลำไส้ใหญ่ถึงไม่ทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ อาจจะมีสาเหตุหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างดังนี้

ในอาหารมีสารพิษเจือปน ในปริมาณที่มากเกินไป

ร่างกายของสัตว์จึงพยายามที่จะป้องกันตัวเองโดยการสั่งการให้ระบบทางเดินอาหารงดการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหาร และเร่งการบีบตัวของลำไส้เพื่อขับสารพิษนี้ออกไป

  • เชื้อราในอาหารหมัก
  • เชื้อราในอาหารข้น
  • สารเคมีต่างๆ

การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

  • เชื้อบิด
  • ซาโมเนอร่า
  • อีโคไล
  • โปรโตซัว
  • ไวรัสลำไส้อักเสบ
  • เชื้อแบคทีเรียที่เป็นโทษ

เกิดจากพยาธิ

  • การที่แพะ มีพยาธิมากเกินไป ก็จะทำให้พยาธิพวกนี้หลั่งสารพิษออกมา ก็จะทำให้แพะของเราเกิดอาการท้องเสียได้เหมือนกัน

เกิดจากการเปลี่ยนอาหารแบบกะทันหัน

  • ทำให้จุลินทรีย์ในกระเพาะหมักปรับตัวไม่ทัน
  • ต่อต้านการดูดซึมจึงทำให้ท้องเสียได้

การกินอาหารหยาบที่อายุน้อยเกินไป

อาหารพวกหญ้าอ่อนนี้จะมีเยื่อใยต่ำ >>> เมื่อเกิดการหมักย่อยจะมีการเคี้ยวเอื่องน้อย >>> ทำให้น้ำลายซึ่งเป็นตัวปรับ กรด-เบส ของกระเพาะหมัก >>> ลงไปในกระเพาะหมักน้อย >>> จนทำให้กระเพาะเป็นกรด >>> ทำให้ลำไส้ลดการดูดซึมน้ำ >>> ทำให้การทำงานของลำไส้ใหญ่ลดลง >>> จนทำให้เกิดอาการท้องเสีย

  • กระถินอ่อน
  • หญ้าอ่อน

เกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

  • สัตว์ป่วย ทำใหการดูดซึมลดลง
  • สัตว์เกิดการแพ้ยา หรือสารเคมี ต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดูดซึมและการย่อยอาหารของสัตว์

วิธีรัักษาแพะท้องเสีย

การรักษาอาการท้องเสียในแพะโดยใช้ยาปฏิชีวะนะ

  • รักษาอาการเบื้องต้นจากการให้ยารักษาอาการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และยาลดอาการปวดบวม ลดไข้โดยการฉีด

ซัลฟาพริม SULFAPRIM 100ml

สรรพคุณ
  • รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดแกรมบวกและแกรมลบ
  • ปอดอักเสบ
  • การอักเสบที่เกิดในหลอดลมและปอด
  • หลอมลมอักเสบ
  • ลำไส้อักเสบและกระเพาะอาหาร
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ
  • เต้านมอักเสบ
  • มดลูกอักเสบ
  • การติดเชื้อที่เกิดจาก อี.โคไล
  • โลหิตเป็นพิษเนื่องจากแบคทีเรียเข้าสู่กระแสโลหิต
  • เนื้อเยื่อเกี่ยวพันอักเสบรุนแรง ฝี
  • รักษาโรคติดเชื้อภายหลังผ่าตัด
ส่วนประกอบ
  • ไตรเมทโทพริม 4 กรัม
  • ซัลฟาไดเมทท็อกซิน
  • โซเดี่ยม 20 กรัม
ขนาดและวิธีใช้
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
  • แพะ แกะฉีดขนาด 10 ถึง 20 cc. ต่อน้ำหนักตัว 100 กก. ทุกวัน

Butasyl บิวตาซิล

สรรพคุณ
  • ใช้ควบคุม และรักษาอาการอักเสบ
  • บรรเทาอาการปวด
  • ลดไข้เนื่องจากอาการอักเสบในกรณีต่าง
  • ใช้ในการรักษาไข้เห็บ
  • ไข้น้ำนม
  • ปากและเท้าเปื่อย ในโคเนื้อ-โคนม กระบือ
ส่วนประกอบ
  • Phenylbutazone 186.1 มิลลิกรัม
  • Sodium Salicylate 50 มิลลิกรัม
  • ยา Non-corticosteroid Anti-iflammatory solution (NSAID)
ขนาดและวิธีใช้
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าเส้นเลือดดำอย่างช้าๆ
  • แพะ แกะฉีดขนาด 10 ถึง 20 cc. ต่อน้ำหนักตัว 100 กก.

การรักษาโรคท้องเสียในแพะโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน

  สูตรรักษาอาการแพะท้องเสียแบบบ้านๆ

วัสดุและอุปกรณ์
  • เกลือปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 8 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 5 ลิตร
  • ผงชูรส
ขั้นตอนและวิธีทำ
  • นำเกลือปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 8 ช้อนโต๊ะ และผงชูรส มาผสมให้เข้ากัน
  • เมื่อคลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆให้เข้ากันแล้ว เทน้ำเปล่า ปริมาณ 5 ลิตร ลงไป
  • คนให้ส่วนผสมละลาย
ขนาดและวิธีใช้
  • นำน้ำที่ผสมเรียบร้อยแล้วมากรอกให้แพะที่มีอาการท้องเสียกิน
  • วันแรกจะให้ปริมาณที่เยอะที่สุด ประมาณ 1 ลิตร
  • วันที่ 2 และ 3 สังเกตอาการของแพะถ้าแพะกินอาหารได้ดีขึ้น ก็ให้ค่อยๆ ลดปริมาณ การให้ลดลงเรื่อย ๆจนแพะหายเป็นปกติ
  • โดยกรอกให้กินประมาณ 3 วัน

แพะท้องเสีย ซึม ไม่กินอาหาร ฉีดยาอะไร

แพะท้องเสียฉีดยาอะไร

ยกตัวอย่างยาที่ฉีดแก้อาการแพะท้องเสีย

OCTACIN-EN 5%

สรรพคุณ
  • สำหรับป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งชนิดแกรมบวก แกรมลบ
  • เชื้อมัยโคพลาสม่า
  • โรคท้องร่วง จากเชื้อ อี.โคไลและซัลโมเนลล่า
  • โรคลำไส้อักเสบและโลหิตเป็นพิษ
  • โรคเต้านมอักเสบ
  • มดลูกอักเสบ
  • น้ำนมแห้ง
ขนาดและวิธีใช้
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ขนาดที่ใช้ 1 ซีซี ต่อน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ฉีดติดต่อกัน 3 วัน

แพะซึมฉีดยาอะไร

ยกตัวอย่างยาที่ฉีดรักษาอาการซึม

Tolfedine CS

สรรพคุณ
  • ลดการอักเสบ
  • ลดไข้
  • ลดอาการเจ็บปวดในสัตว์ที่ไม่มี Steroid เป็นส่วนประกอบ
ขนาดและวิธีใช้
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ขนาดที่ใช้ 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม
ผลข้างเคียง
  • ตำแหน่งที่ฉีดอาจมีการบวมชั่วคราว

แพะไม่กินอาหารฉีดยาอะไร

คาโตซาล

สรรพคุณ

  • ช่วยรักษาการผิดปรกติของระบบเมทตาโบลิซั่มแบบเฉียบพลัน
  • อัมพฤกษ์
  • เบื่ออาหาร
  • การสร้างน้ำนมลดลง
    กล้ามเนื้อล้า
  • ออ่นเพลีย
  • ลูกสัตว์อ่อนแอ
  • เป็นหมัน
  • โลหิตจาง
  • บำรุงร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง และต้านทานโรคได้ดีขึ้น
ขนาดและวิธีใช้
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ขนาดที่ใช้ 5-10.0 cc ต่อน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม

ยารักษาอาการแพะท้องเสีย

TRIPRIM ไตรพริม

สรรพคุณ

  • ใช้รักษาโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ และโรคแทรกซ้อนเนื่องจากเป็นโรคปอดบวม
  • โรคติดเชื้อทางระบบ อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ และมดลูกอักเสบ
  • โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อ อีโคไล และเชื้อซัลโมเนลล่า

ส่วนประกอบ

  • Trimethoprim 40 mg
  • Sulfadoxine    200 mg

ขนาดและวิธีใช้

  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อในกรณีที่เป็นมากอาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดก็ได้ แต่ห้ามฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
  • สุกร แพะ แกะ วัว และควาย 1 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนัก 15 กิโลกรัม

ซัลฟาเมท sulfamet

สรรพคุณ

  • ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ
  • ขี้ไหลเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล ซาโมเนล่า และปอดบวม

ส่วนประกอบ

  • Sulfamatasine sodium 12.5 กรัม

ขนาดและวิธีใช้

  • กรอกปาก
  • ขนาดที่ใช้ 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักสัตว์ 25 กิโลกรัม
  • ผสมน้ำให้กินวันที่ 2 – 4 ใช้ยาขนาด 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 25 กิโลกรัม

Baycox ไบค๊อก

สรรพคุณ

  • เพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อบิด

ขนาดและวิธีใช้

  • กรอกปาก
  • ขนาดที่ใช้ 1 cc น้ำหนักตัว 5 กิโลกรัม

Genfloxcin เยนฟล๊อกซิน

สรรพคุณ

  • ใช้รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หอบ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ
  • รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย บิด

ขนาดและวิธีใช้

  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • วัว ควาย สุกร แพะ แกะ สุนัข แมว ใช้ 1 ซีซี ต่อน้ำหนัก 10 กิโลกรัม

สมุนไพรแก้ท้องเสียแพะมีอะไรบ้าง

เนื่องจากต้นทุนในการซื้อยารักษาค่อนข้างที่แพง เกษตรกรจึงหันมาใช้สมุนไพรตามบ้านเพื่อรักษาอาการท้องเสียในแพะ ในบทความนี้จะมาแนะนำสูตรสมุนไพรรักษาอาการท้องเสียในแพะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

สูตรสมุนไพรสูตรที่ 1

วัสดุและอุปกรณ์

  • ใบฝรั่งแก่ 30 ใบ
  • ถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการจุดไฟหุงต้มในครัวเรือน 2-3 ก้อน
  • น้ำสะอาดปริมาณ 400 มิลลิลิตร
  • ครกใช้สําหรับบดถ่าน และบดใบฝรั่ง
  • ขวดพลาสติกทรงสูงสําหรับกรอกยาใส่ปากแพะได้
  • ตะแกรงหรือผ้าขาวบางสำหับกรองตัวยา

ขั้นตอนและวิธีการทํา

  • ขั้นตอนแรกนําก้อนถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มที่เตรียมไว้มาบดให้เป็นผงละเอียด
  • นำผงถ่านที่บดเรียบร้อยแล้วใส่ในน้ำปริมาตร 400 มิลลิลิตร ที่เตรียมไว้
  • คนวัตถุดิบให้เข้ากัน
  • จากนั้นเทใส่ตะแกรงหรือผ้าขาวบางเพื่อกรองเอาตะกอนออกให้เหลือแต่น้ำถ่าน
  • นําใบฝรั่งแก่ที่เตรียมไว้มาบดหรือตําให้ละเอียด
  • จากนั้นนําไป ใส่ในน้ำถ่านคนให้เข้ากัน
  • กรอกใส่ขวดพลาสติกทรงสูง เพื่อกรอกให้แพะที่มีอาการท้องเสียกิน
  • โดยกรอกเข้าที่มุมปากด้านข้างของแพะ
  • ไม่ควรกรอกตรงกลางปากเพราะจะทำให้แพะสำลักและกลืนยาได้ยาก
  • วิธีนี้จะช่วยให้แพะอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • หากสังเกตว่ายังมีอาการอยู่ก็สามารถกรอกให้แพะกินได้อีก โดยไม่เป็นอันตรายและไม่มีผลข้างเคียงกับแพะแต่อย่างใด

สูตรสมุนไพรสูตรที่ 2

วัสดุและอุปกรณ์

  • ใบกระท้อนแก่จำนวน 5 ใบ
  • เกลือจำนวน 1 ช้อนชา
  • น้ำเปล่าปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • ไซสริงฉีดยา 1 อัน
  • ครกหิน (ใช้สําหรับ ใบกระท้อน)

ขั้นตอนและวิธีการทํา

  • นำใบกระท้อนมาแกะส่วนที่เป็นก้านใบออก
  • ใส่ใบกระท้อนตามด้วยเกลือค่าผสมกันในครก
  • จากนั้นโขลกให้ละเอียดพอประมาณ
  • เมื่อค่าใบกระท้อนกับเกลือละเอียดแล้วให้นํามาผสมกับน้ำปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
  • จากนั้นคั่นเอาเพื่อให้ น้ำยาออกมามากๆ

วิธีการนำไปใช้

  • ใช้ปริมาณ 10 ซีซี ต่อแพะ 1 ตัว ไม่ต้องผสมกับน้ำ
  • ให้แพะกินวันละ 2-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร
  • หากสังเกตพบว่าแพะมีอาการเบื่ออาหารและถ่ายเหลว เมื่อแพะได้กินแล้วอาการท้องเสียจะเริ่มดี ขึ้นภายใน 2-3 วัน

สูตรสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาอาการท้องเสียในแพะทั้งสองสูตรที่ยกตัวอย่างมานี้น่าจะช่วยให้เกษตรกรหลายๆคนลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องยาในการเลี้ยงแพะได้บ้าง

ลูกแพะท้องเสียเกิดจากอะไร

  1. เริ่มเปลี่ยนจากกินนมไปเริ่มกินหญ้า ทำให้กระเพาะยังปรับตัวไม่ได้
  2. การติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินอาหาร เช่น เชื้อบิด และเชื้ออื่นๆ

โรคบิดในแพะ คืออะไร

  • โรคนี้จะเกิดกับลูกแพะที่มีอายุต่ำกว่า 4 เดือน
  • ในแพะที่โตอาจจะไม่แสดงอาการ

เกิดจากเชื้อโปรโตซัว เชื้อบิด (Coccidia) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด

  • เชื้อแคมพีโลแบคเตอร์ (Campylobacter)
  • เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล หรือเชื้อ อี โคไล (Escherichia Coli: E. coli)
  • เชื้อซาโมเนลลา (Salmonella)
  • และเชื้อโปโตซัวอื่นๆ

ลักษณะของลูกแพะที่เป็นโรคในระยะแรก

  • ลักษณะของลูกแพะที่เป็นโรคในระยะแรก จะแสดงอาการเบื่ออาหาร
  • ถ่ายอุจจาระเหลว
  • ถ้าเป็นรุนแรงก็จะถ่ายอุจจาระเหลวเป็นมูกเลือด
  • ลูกแพะจะตาย เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำโดยรวดเร็ว
  • ลูกแพะได้รับเชื้อนี้โดยการกินอาหาร น้ำนม ที่มีไข่ของเชื้อบิด (Coccidia) ปนเปื้อนอยู่ หรือไข่ที่แพร่กระจายอยู่ตามคอกสัตว์

ลูกแพะท้องเสียใช้ยาอะไร

การรักษา

  1. ใช้ยากลุ่มซัลฟา เพื่อรักษาอาการท้องเสีย
  • ซัลฟาควินอกซาลีน
  • ซัลฟากัวนิดีน
  • ซัลฟาไธอาโซล
  • ให้ยาติดต่อกัน 4 วัน และอาจต้องใช้ยาซ้ำอีกถ้าหากอาการต่างๆ ยังไม่หายดี
  • นอกจากนี้ลูกแพะที่ได้ออกกำลังกายเพียงพอ ก็จะมีสุขภาพแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น
  1. ใช้ป้องกันเชื้อบิดในลูกแพะ
  • Baycox 5%

วิธีป้องกันแพะท้องเสีย

การป้องกันโรค

  • ทำได้โดยการแยกลูกแพะออกจากแพะที่โต
  • ให้ลูกแพะอยู่ในที่กว้างและแห้ง
  • โดยจะต้องทำความสะอาดและจัดการสุขาภิบาลที่ดีร่วมกับการใช้ยาในกลุ่ม coccidiostats
  • ป้องกันอย่าให้จำนวนสัตว์ต่อคอกหนาแน่นเกินไป
  • เปิดให้แสงแดดส่องผ่านคอก เพื่อทำคอกให้แห้ง
  • ลดการทำให้เกิดอาการเครียดในสัตว์ และการปรับสารอาหารที่สัตว์จะได้รับให้เหมาะสมตามความต้องการ