แผลมีหนอน วิธีรักษาแผลมีหนอนแมลงวัน แมลงวันวางไข่ในแผล สุนัข ทำอย่างไร ยาใส่แผลสุนัขเป็นหนอนใช้ยาอะไร

สำหรับหลายๆท่านที่เลี้ยงสัตว์จะต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเป็นแผลมีหนอน แล้วไม่ทราบว่าต้องรักษาอย่างไร ใช้ยาตัวไหนใส่รักษาแผลให้กับสัตว์ของตัวเอง  สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาวิธีการรักษา และยาที่ใช้ใส่แผลอยู่มาศึกษาไปพร้อมๆกับบทความนี้เลยจ้า

Table of Contents

แผลมีหนอน

แผลมีหนอน หลักๆแล้วเกิดจากแมลงวันที่เป็นสาเหตุนั้นเอง

โรคแผลหนอนแมลงวันคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร

  • แผลเปิดที่มีหนอนแมลงวันระยะตัวอ่อนอยู่ภายในแผล
  • มีสาเหตุจากแมลงวันที่ชื่อคริสซอมเมีย เบซเซียนา (Chrysomyia bezziana) ซึ่งเป็นแมลงวันมีลักษณะที่คล้ายกับแมลงวันหัวเขียวที่พบได้ทั่วไป แต่เป็นคนละชนิดกัน
  • โดยแมลงวันจะมาวางไข่ที่แผล ไข่จะฟักเป็นหนอนแมลงวัน มีทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะที่ 1 ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หนอนแมลงวันระยะที่ 1 จะไชเข้าสู่แผล และจะกินเนื้อเยื่อเป็นอาหาร ทำให้เกิดแผลลึกลงไป
  2. ระยะที่ 2 จะลอกคราบเป็นหนอน
  3. ระยะที่ 3 เป็นระยะเวลาที่หนอนแมลงวันจะอยู่ในเนื้อเยื่อประมาณ 6-7 วัน จากนั้นหนอนแมลงวันก็จะออกจากแผลตกลงบนดิน ฝังตัวในดินกลายเป็นระยะดักแด้ และเจริญเป็นแมลงวันตัวเต็มวัยต่อไป

สัตว์หลายชนิดที่พบว่าเป็นโรคแผลหนอนแมลงวัน

โรคนี้สามารถพบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น

  • สุนัข
  • สุกร
  • แกะ
  • แพะ
  • โค
  • กระบือ
  • ม้า

สัตว์เกิดโรคแผลหนอนแมลงวันได้อย่างไร

โดยทั่วไปแล้วสัตว์จะต้องมีบาดแผล หรือจุดเลือดออกบนผิวหนังก่อน ก็จะเป็นส่วนโน้มนำให้แมลงวันมาวางไข่ได้ เช่น

  • ที่สายสะดือของลูกสัตว์เกิดใหม่
  • บาดแผลที่อวัยวะเพศของแม่สัตว์ที่เกิดจากการคลอดลูก
  • แผลที่เกิดจากการต่อสู้กัน
  • แผลที่เกิดขึ้นเอง เช่น
  1. ไม้บาด
  2. ลวดหนามเกี่ยว
  3. แผลจากเห็บดูดเลือด
  4. รอยเลือดออกที่เกิดจากการดูดเลือดของเหลือบ

โรคแผลหนอนแมลงวันมีผลต่อสัตว์อย่างไร

  1. จากการที่สัตว์มีแผลและมีหนอนแมลงวันอยู่ภายใน หนอนจะกินเนื้อเยื่อและเคลื่อนที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
  2. โดยทั่วไปแล้วจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนร่วมด้วย จะทำเกิดการอักเสบ
  3. ความรุนแรงจะขึ้นอยู่ปัจจัยหลายประการ เช่น
  • ถ้าเป็นในลูกสัตว์เกิดใหม่มีแผลที่สะดือ ถึงแม้ว่าหนอนแมลงวันจะออกจากแผลหมดแล้ว แต่การติดเชื้อแบคที่เรียจะทำเกิดหนอง กรณีที่เป็นแผลปิดก็จะเกิดการอักเสบหรือเป็นฝีเรื้อรังต่อไปได้อีกนาน
  • ถ้าเป็นในโคนมก็จะมีผลทำให้น้ำนมลด หรือสัตว์จะรำคาญจนทำให้กินอาหารได้น้อยลง จนอาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโต

คนติดโรคแผลหนอนแมลงวันได้หรือไม่

  • ในประเทศไทย เคยมีข่าวที่คนเกิดโรคแผลหนอนแมลงวันหลายราย
  • แม้ว่าบางครั้งจะไม่สามารถยืนยันชนิดของแมลงที่ทำให้เกิดแผลโรคหนอนแมลงวันได้ก็ตาม
  • จากการตรวจสอบพบว่าเป็นหนอนแมลงวันชนิดคริสซอมเมีย เบซเซียนา เพียงชนิดเดียวกันทั้งในสัตว์ชนิดต่างๆ และในคน
  • การติดโรคในคนอาจจะเกิดในเด็ก คนสติไม่ดี หรือคนที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ เมื่อเกิดแผลเลือดออกทำให้แมลงวันชนิดดังกล่าวมาวางไข่

เราจะป้องกันสัตว์จากโรคแผลหนอนแมลงวันได้อย่างไร

  1. เมื่อเกิดแผลขึ้น ต้องทำการรักษาแผลโดยทันที
  2. ทำความสะอาด ถ้าพบหนอนแมลงวันในแผล ต้องจัดการเอาออกให้หมด
  3. ใส่ยาฆ่าเชื้อที่อาจจะเป็นยาปฏิชีวนะหรือกลุ่มซัลฟา แล้วทำการปิดแผล
  4. ถ้าไม่สามารถปิดแผลได้ ต้องใส่ยาฆ่าแมลงวันลงในแผลด้วย
  5. ซึ่งปัจจุบันจะมียาใส่แผลที่มียาฆ่าเชื้อและยาฆ่าแมลงวันผสมอยู่ด้วยกัน
  6. ต้องดูแลรักษาจนกว่าแผลจะหายสนิท

จะป้องกันตัวเองจากโรคแผลหนอนแมลงวันได้อย่างไร

  • เมื่อเป็นแผล ต้องจัดการทำความสะอาด
  • ใส่ยาฆ่าเชื้อ ปิดแผลให้มิดชิด ป้องกันอย่าให้แมลงวันมาตอม
  • ถ้าแผลใหญ่และเป็นแผลเปิด อาจจะต้องทำความสะอาดแผลทุกวัน ซึ่งจะสามารถกำจัดไข่หรือหนอนแมลงวันได้

วิธีรักษาแผลมีหนอนแมลงวัน

  1. เมื่อพบว่ามีหนอนแมลงวันในแผล ต้องจัดการเอาหนอนออกให้หมด
  2. จากนั้นทำความสะอาดแผลให้สะอาด
  3. ใส่ยาฆ่าเชื้อที่อาจจะเป็นยาปฏิชีวนะหรือกลุ่มซัลฟา
  4. เสร็จแล้วปิดแผล ถ้าปิดแผลไม่ได้ ต้องใส่ยาฆ่าแมลงวันลงในแผลด้วย
  5. ในปัจจุบันจะมียาใส่แผลที่มียาฆ่าเชื้อผสมกับยาฆ่าแมลงวันทำให้สะดวกต่อการใช้งานไม่ต้องใช้ยาหลายตัว
  6. จะต้องดูแลรักษาจนกว่าแผลจะหายสนิท

แมลงวันวางไข่ในแผลสุนัข ทำอย่างไร

  1. เมื่อท่านพบว่าสุนัขของท่านมีแผลที่มีแมลงวันวางไข่อยู่ นำสุนัขของท่านมา ทำความสะอาดบริเวณรอบๆแผลโดยการโกนขนบริเวณรอบๆแผลออก
  2. เอาหนอนแมลงวันที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังสุนัขออกให้หมดเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ
  3. บีบผิวหนังของสุนัข จนหนอนแมลงวันเล็ดลอดออกมาจากรูขุมขนของสุนัขจนหมด
  4. หลังจากนั้นใส่ยาฆ่าเชื้อ และยารักษาแผลหนอน
  5. ตามด้วยการฉีดยาปฏิชีวะนะ กลุ่มแก้อักเสบ แก้ปวด ลดบวม
  6. ติดตามอาการใส่ยารักษาแผลจนกว่าแผลจะหายสนิท

ยาใส่แผลสุนัขเป็นหนอนใช้ยาอะไร

Copper คอปเปอร์

สรรพคุณ

  • ฆ่าหนอน ฆ่าเชื้อโรค รักษาแผลสด สำหรับ สุนัข แมว แพะ หมู วัว นก
  • ยาผงใส่แผล รักษาแผลสด แผลตอน แผลผ่าตัด แผลเน่า แผลลึก
  • กำจัดหนอน หนอนแมลงวัน พยาธิภายนอกทุกชนิด
  • ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

วิธีใช้งาน

  • โรยผงตรงบริเวณแผล หรือบริเวณที่มีหนอนแมลง
  • ผสมน้ำและฉีดพ่นบริเวณที่มีหนอนแมลง หรือมูลสัตว์

ทานิดิล-ที ชื่อเดิม เนกาซัน

สรรพคุณ

  • สำหรับสัตว์ ใส่แผล แผลสด แผลตอน แผลผ่าตัด แผลเน่า แผลลึก
  • กำจัดหนอน หนอนแมลงวัน พยาธิภายนอกทุกชนิด

วิธีใช้งาน

  • โรยใส่แผลที่มีหนอน
  • รักษาแผลสดกันแมลงวันมาวางไข่

เค-1

สรรพคุณ

  • ผงโรยแผลกันหนอนกันแมลงวัน ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

วิธ๊ใช้งาน

  • โรยลงบนปากแผล วันละ 2 ครั้ง
  • ควรทำความสะอาดแผลก่อนทุกครั้ง

วัน – พลัส

สรรพคุณ

  • รักษาแผลและกำจัดหนอนแมลงในแผลสัตว์
  • ใช้ป้องกันและรักษาแผลสดทุกชนิด
  • รักษาแผลที่มีกลิ่นเน่าเรื้อรัง
  • ทำให้แผลหายเร็ว

วิธีใช้งาน

  • ทำความสะอาดแผล
  • โรยผงยาลง แผล วันละ 2 ครั้ง

สมุนไพรรักษาแผลหนอนแมลงวัน

หลายๆท่านน่าจะพบปัญหาสัตว์ที่เลี้ยงมีแผลติดเชื้อแผลเป็นหนองมีหนอนอยู่ในแผล เป็นอีกปัญหาที่น่ากลัวสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะเป็นโค กระบือ แพะ แกะ สุกร หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง หรือหากปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจจะลุกลามเป็นการติดเชื้อ ในแผล อาจส่งผลให้สัตว์ป่วยถึงตายได้ในที่สุด

จากปัญหาที่พบจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาแผลมีหนอนในสัตว์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับสัตว์เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโค กระบือ แพะ แกะ หรือสุกร เป็นต้น และเป็นวิธีที่นำพืชสมุนไพรซึ่งหาได้ง่ายตามท้องถิ่น มาใช้เป็นวิธีที่ใช้ต้นทุนต่ำและสามารถรักษาอาการแผลมีหนอนในสัตว์ได้เป็นอย่างดี มาแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจนำวิธีการไปใช้กับสัตว์เลี้ยงของตนเอง โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้

เตรียมวัสดุอุปกรณ์

  • ใบยาสูบ 1 กำ
  • ยางจากดอกรัก 1 ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนและวิธีการทำ

  • นำใบยาสูบที่ได้มาบดหรือตำให้ละเอียด
  • จากนั้นนำยางจากดอกรักมาผสมรวมกัน โดยการคนหรือนวดให้เข้ากันให้มีลักษณะข้นเหนียว จับกันเป็นก้อน จากนั้นก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

วิธีการนำไปใช้

  • นำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ที่ปากแผลของสัตว์ที่มีแผลเป็นหนอนซึ่งสามารถใช้ได้กับสัตว์เกือบทุกชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และสุกร

แมลงวันคืออะไร

  • แมลงวันเป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนของมนุษย์ชนิดหนึ่ง
  • มักจะหากินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ
  • ชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด
  • ระยะทางการหากินอยู่ประมาณ 3 กิโลเมตร
  • แมลงวันจัดเป็นแมลงศัตรูสำคัญอีกชนิดหนึ่งของมนุษย์ และสัตว์เลี้ยง เนื่องด้วยสามารถก่อความรำคาญ และเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดที่ติดต่อสู่คน และสัตว์ เช่น
  1. โรคท้องร่วง
  2. บิด
  3. ไข้รากสาดน้อย

แมลงวันที่เกี่ยวข้องกับคน และสัตว์ภายในประเทศไทยมี 4 ชนิด

แมลงวันบ้าน

  • เป็นแมลงวันที่พบมากที่สุด มีมากถึงร้อยละ 83 ของแมลงวันทั้งหมด
  • พบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน กองขยะ เศษอาหาร ซากสัตว์
  • โดยเฉพาะบริเวณที่มีเศษอาหารหรือซากสัตว์เน่า

แมลงวันหัวเขียว

  • แมลงวันหัวเขียวที่มีลำตัวสีเขียว เงาแวววาว
  • แมลงวันหัวเขียวที่มีลำตัวเป็นสีน้ำเงินเงาแวววาว

 แมลงวันหลังลาย

  • ลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีเทาอ่อน
  • สาเหตุที่เรียกแมลงวันหลังลาย เนื่องจากปล้องด้านบนมีลายคล้ายตารางหมากรุก
  • แมลงวันหลังลายเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะ แผลที่มีหนอนแมลงวันในร่างกายของคนและสัตว์

แมลงวันดูดเลือด

  • เป็นแมลงวันที่พฤติกรรมการกินอาหารแตกต่างไปจากชนิดอื่นๆ
  • นอกจากจะกินอาหารจากแหล่งอาหารเน่าหรือซากสัตว์ ยังมีพฤติกรรมการดูดเลือดจากคน และสัตว์

วงจรชีวิตของแมลงวัน

แมลงวันจะมีระยะการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์  ประกอบด้วย 4 ระยะ

ระยะไข่

  • แมลงวันสามารถผสมพันธุ์ได้ หลังจากเป็นตัวเต็มวัยได้เพียง 18-30 ชั่วโมงเท่านั้น และผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว
  • หลังจากนั้นก็จะหาแหล่งที่เหมาะสมในการวางไข่
  • โดยจะค้นหาแหล่งวางไข่ โดยอาศัยกลิ่นเป็นตัวนำทาง
  • แมลงวันจะเริ่มวางไข่ในที่ลับตา แสงแดดส่องไม่ถึง และมีความชื้นสูง
  • โดยการวางไข่ของแมลงวันจะเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 120 ฟอง ตัวเมียบางตัวสามารถวางไข่ได้มากกว่า 10 ครั้งในตลอดชีวิต
  • แมลงวันตัวเมีย 1 ตัว สามารถขยายพันธุ์โดยวางไข่ได้ถึง 200 -1,000 ฟอง
  • ไข่แมลงวันมีระยะฟักตัวภายใน 8 – 24 ชั่วโมง

ระยะตัวอ่อน หรือหนอน

  • ระยะตัวอ่อนมีรูปร่าง เรียวยาว ปลายด้านท้องใหญ่ หัวหรือปากเรียวแหลมและแข็ง
  • ตัวอ่อนจะกินของที่กำลังเน่าเหม็น มักชอบกลิ่นแอมโมเนีย หรือกลิ่นของยีสต์เป็นพิเศษ
  • ตัวอ่อนจะกินอาหารมากจนเข้าใกล้ระยะดักแด้จึงจะหยุดกินอาหาร
  • ระยะตัวอ่อนนี้ใช้เวลา 4 -7 วัน

ระยะเข้าดักแด้

  • เมื่อหนอนหยุดกินจะเริ่มคลานไปสู่ที่แห้งๆ เพื่อเริ่มปรับเปลี่ยนร่างกาย โดยหดตัวเองให้สั้นลง จนมีลักษณะอ้วนสั้น ผนังลำตัวจะแข็งขึ้นเพื่อห่อหุ้มตัวหนอน
  • ระยะนี้ใช้เวลา 10 – 20 วัน ก็จะเข้าสู่ระยะตัวโตเต็มวัน

ระยะตัวโตเต็มวัย

  • เมื่อเข้าระยะดักแด้ และพัฒนาร่างกายสู่ภายในจนมีรูปร่างครบสมบูรณ์ก็จะเริ่มออกจากระยะดักแด้
  • ซึ่งขณะที่ออกจากระยะดักแด้ช่วงแรกจะยังบินไม่ได้ในทันที จะต้องใช้วิธีเดิน กระโดด
  • เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 15 นาที ลำตัวและปีกเริ่มแข็งแรงขึ้นสามารถบินได้

ผลกระทบจากแมลงวัน

  1. แมลงวันนอกจากจะก่อให้เกิดความรำคาญ กรณีที่มีแมลงวันชุกชุมมากจะชอบบินมาจับ มาเกาะตามตัว ตามใบหน้าของคนเราทำให้เกิดความรำคาญเป็นอย่างมาก และที่สำคัญยังเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคต่างๆ
  2. แมลงวันเป็นพาหะนำโรคต่างๆ เช่น
  • ไทฟอยด์
  • อุจจาระร่วงอย่างแรง
  • อุจจาระร่วง
  • ตาแดง
  • ริดสีดวงตา
  • โรคบิดมีตัว
  • โรคบิดไม่มีตัว
  • โปลิโอ
  • แอนเทร็กซ์
  • วัณโรค
  • พยาธิปากขอ
  • พยาธิไส้เดือนตัวกลม
  1. แมลงวันจะสำรอกน้ำลาย และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารออกมาช่วยย่อยหรือละลายอาหาร ทำให้แมลงวันเป็นพาหะนำโรคและแพร่เชื้อโรคจากเสมหะ อุจจาระ เศษขยะมูลฝอย ลงในอาหารคน
  2. จากการที่แมลงวันตอมกินเสมหะเป็นอาหาร และกินอาหารทุกชนิดทำให้แมลงวันเป็นพาหะแพร่โรควัณโรคด้วย
  3. นอกจากนี้ แมลงวันยังมีนิสัยที่ช่วยให้แมลงวันเป็นตัวนำและแพร่เชื้อโรคได้อีกคือ ชอบถ่ายมูลลงบนอาหารของคน
  4. เมื่อแมลงวันกินอาหารอิ่มแล้ว มันจะถูหรือเสียดสีขาคู่หน้าของมัน ทำให้เชื้อโรคและไข่พยาธิที่ติดมากับขนขาร่วงหล่นลงบนอาหารของคน เมื่อคนกินอาหารนั้นก็จะได้รับเชื้อโรคติดต่อเข้าไปด้วย
  5. แมลงวันเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้ทุกชนิด หาอาหารตามกองขยะมูลฝอย เศษอาหาร ซากสัตว์ อุจจาระ มูลสัตว์ ทำให้เชื้อโรค ไข่ของหนอนพยาธิติดมากับแมลงวันได้ โดยติดมากับขนตามลำตัว ติดมากับขนที่ขา ปนอยู่กับของเหลวในกระเพาะอาหาร และอยู่ในระบบทางเดินอาหารของแมลงวัน
  6. เมื่อแมลงวันมาตอมอาหารของมนุษย์ ก็จะนำเชื้อโรคและไข่ของหนอนพยาธิลงในอาหาร เมื่อคนบริโภคอาหารนั้นเชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายทำให้เจ็บป่วยได้

วิธีแพร่เชื้อของแมลงวัน

วิธีเชิงกล

  • เชื้อโรคส่วนใหญ่จะถูกนำโดยวิธีนี้เนื่องจากแมลงวันมีนิสัยชอบเอาขาหน้าถูกันเมื่อเวลาที่แมลงวันกินอาหารอิ่มแล้ว ทำให้เชื้อโรคตามลำตัวและขา ร่วงลงในอาหาร
  • เมื่อคนบริโภคอาหารนั้นเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทำให้เจ็บป่วยได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร บิด พยาธิ

วิธีสำรอกใส่อาหาร

  • เนื่องจากแมลงวันมีวิธีการกินอาหารโดยการสำรอกน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารมาละลายของแข็งก่อน แล้วจึงดูดกลับเข้าไปใหม่
  • ทำให้เชื้อโรคถูกถ่ายออกจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ลงสู่อาหารในที่สุด
  • ในทำนองเดียวกันนิสัยชอบถ่ายมูลลงบนอาหารก็ทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนลงสู่อาหารได้เช่นกัน เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคอาหารเป็นพิษ

วิธีเป็นโฮสต์กึ่งกลาง

  • ตัวอ่อนของหนอนพยาธิจะอาศัยอยู่ในตัวของแมลง
  • เมื่อเจริญเป็นระยะติดต่อแล้ว หนอนพยาธิก็หาทางออกจากแมลงวันเข้าสู่ร่างกาย เช่น โรคพยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ
    วิธีการวางไข่หรือแพร่พันธุ์
  • แมลงวันจะวางไข่ไว้ในแผลเมื่อระยะตัวหนอน บริเวณแผลก็จะเกิด หนอง ฝี ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า โรคไมยาชีส