อาการของแพะเป็นพยาธิ ยาถ่ายพยาธิแพะ โปรแกรมถ่ายพยาธิแพะ เบเรนิล โนวาบาบี สมุนไพรถ่ายพยาธิแพะ ใบสาบเสือถ่ายพยาธิ

ปัจจุบันการเลี้ยงแพะเป็นสัตว์ที่ไม่เลือกกินมากนัก เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะส่วนใหญ่จึงมักจะประสบกับปัญหาแพะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารและโรคพยาธิ หากไม่มีการสังเกตและการจัดการที่ดี แพะจะเจริญเติบโตได้ช้า และเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นปัญหาทำให้เกษตรกรต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองต้นทุนค่าอาหารและการจัดการด้านอื่นๆในการเลี้ยง ในบทความนี้จึงมีความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิในแพะเราไปศึกษาพร้อมๆกันเลย

พยาธิคืออะไร

โรคพยาธิ เกิดจากพยาธิ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการดำรงชีพตลอดเวลา หรือช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยการอาศัยอยู่ใน หรือบนสิ่งมีชีวิตอื่นที่เรียกว่าโฮสต์ (host) พยาธิจะ ทำให้โฮสต์เกิดอาการผิดปกติ และพยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆตามตำแหน่งที่อยู่

  • โรคพยาธิส่วนมากแม้จะไม่ค่อยก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง หรืออัตราการป่วยตาย สูงเมื่อเทียบกับโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส หรือสารพิษ
  • โดยมักจะเป็นโรคที่มีลักษณะ เรื้อรัง แต่ก็มีหลายโรคที่ทำอันตรายรุนแรง ก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
  • การควบคุม ป้องกันและรักษาโรคพยาธิได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพนั้น จําเป็น ต้องรู้จักและเข้าใจพยาธิแต่ละชนิด รูปร่างลักษณะ วงจรชีวิต อาการของโรค ยาที่ใช้ในการรักษา และวิธีการป้องกัน

พยาธิมีกี่ชนิด

โรคพยาธิที่สําคัญในสัตว์ แบ่งตามประเภทของพยาธิได้เป็น 3 ชนิด

ดังนี้

  1. พยาธิภายใน
  2. พยาธิภายนอก
  3. โปรโตซัวและริคเคตเชีย

พยาธิภายใน

  • หมายถึงพยาธิกลุ่มที่อาศัยอยู่ในร่างกายของโฮสต์ ตามอวัยวะภายในต่างๆ
  • ความรุนแรงของการก่อให้เกิดโรค จึงขึ้นอยู่กับอวัยวะที่พยาธิอาศัยอยู่ พยาธิภายในแบ่งตามรูปร่างลักษณะได้เป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
  1. พยาธิใบไม้
  2. พยาธิหัวกลม
  3. พยาธิตัวตืด

พยาธิภายนอก

  • หมายถึงพยาธิกลุ่มที่อาศัยอยู่นอกร่างกายของโฮสต์ระยะหนึ่ง หรือ ตลอดเวลา
  • ลักษณะโดยทั่วไปมักมีขาต่อกันด้วยข้อ (joint) ลําตัวห่อหุ้มด้วยเปลือกแข็ง (chitin)
  • ภายในลำตัวเป็นช่องเต็มไปด้วยเลือด (haemocele) ซึ่งดูดกินจากโฮสต์เป็นอาหาร ตัวอย่าง ของพยาธิภายนอกได้แก่
  1. แมลง
  2. เห็บ
  3. เหา
  4. หมัด
  5. ไร

โปรโตซัว

  • เป็นสัตว์เซลล์เดียว มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ภายในมีนิวเคลียส

และอวัยวะชนิดต่างๆทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหว กินอาหาร เมตาบอลิซึ่ม และอื่นๆ

  • โปรโตซัว มีทั้งชนิดที่อยู่อย่างอิสระในธรรมชาติ และที่เป็นพยาธิอยู่ในโฮสต์
  • โปรโตซัวที่สำคัญ ได้แก่
  1. Eimeria spp.
  2. Babesia spp.
  3. Trypanosoma spp.

ริคเคทเซีย

  • เป็นจุลชีพที่ถูกจัดขึ้นอยู่ระหว่างแบคทีเรียและไวรัส อาศัยอยู่ในหรือนอก เซลล์ของโฮสต์ ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
  • ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหะ เซลล์ของริคเคทเซียมี รูปร่างเป็นแท่ง กลม หรือเปลี่ยนรูปเป็นแบบต่างๆ ไม่มีนิวเคลียสและอวัยวะชนิดต่างๆภายใน เหมือนโปรโตซัว ริดเคตเชียที่สําคัญได้แก่
  1. Anaplasma spp.
  2. Eperythrozoon spp.

อาการของแพะเป็นพยาธิ

การสังเกตอาการว่าแพะติดพยาธิหรือไม่ให้สังเกตดังนี้

  1. สีของเปลือกตา มีสีซีดหรือไม่ ถ้ามีซีด ไม่มีสีชมพู แสดงว่ามีพยาธิแล้ว
  2. ลักษณะของหลังว่าเป็นอย่างไร ถ้าเห็นกระดูกสันหลังชัดเจนแสดงว่าแพะเราผอม นั่นคืออีกอาการที่บ่งชี้ว่าแพะติดพยาธิ ปรกติดูแพะอ้วนหรือผอม ให้ดูบริเวณหลังไม่ใช่ดูที่ท้องแพะ
  3. หาง ก้น หรือขาหลัง ดูว่ามีอุจจาระเปอะเปื้อนหรือไม่ ถ้ามีเปื้อนก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าติดพยาธิ
  4. ขน หากขนหยอง หรือหลุดร่วง หยาบ ไม่เรียบสวย เป็นอีกอาการหนึ่งของแพะติดพยาธิ
  5. ดูที่คาง ถ้ามีอาการบวมน้ำก็น่าจะติดพยาธิแล้วเช่นกัน
  6. รวมๆแล้วแพะที่ติดพยาธิจะไม่ค่อยกินอาหาร โตช้า น้ำหนักลด อ่อนแอ ท้องเสีย ขนหยาบ

ผลเสียของการติดโรคพยาธิ

  • ทำให้สัตว์เจริญเติบโตช้า แคระแกร็น
  • ทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคอื่นแทรกซ้อนได้ง่าย และสัตว์แสดงอาการของโรคนั้นๆรุนแรงกว่าสัตว์ที่ไม่มีพยาธิ
  • การทำวัคซีนป้องกันโรคไม่ได้ผลหรือสร้างภูมิคุ้มกันต่ำกว่าที่ควร
  • พยาธิหลายชนิดทำให้สัตว์ป่วยรุนแรงถึงตายได้
  • สัตว์ที่เป็นโรคพยาธิ ให้ผลผลิตต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่น นม เนื้อ ไข่ หนัง
  • การรักษาต้องมีค่าใช้จ่าย และสัตว์ใช้เวลาในการฟื้นตัวนานหลังการรักษา ทำให้เจ้าของสัตว์สูญเสียรายได้
  • พยาธิบางชนิดทำให้สัตว์แท้งลูกได้ส่งผลให้ผลผลิตสัตว์ลดลง
  • มีโปรโตซัวในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ทั้งสองเพศ ซึ่งทำให้สัตว์เพศผู้เป็นตัวแพร่เชื้อ ไปยังสัตว์เพศเมียขณะผสมพันธุ์ ทำให้ผสมไม่ติดหรือผสมติดยาก
  • แท้งระยะต้น การรักษายุ่งยาก และให้ผลไม่แน่นอน เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มผลผลิตสัตว์ด้วย
  • พยาธิบางชนิดก่อให้เกิดโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุข

การป้องกันไม่ให้สัตว์ติดพยาธิ

  • หมั่นตรวจการเป็นโรคพยาธิ
  • เมื่อสัตว์ติด พยาธิแล้ว รีบให้การรักษา
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยต่อการติดโรคพยาธิ
  • การบํารุงร่างกายสัตว์หลังการกําจัดพยาธิ จะช่วยให้สุขภาพของสัตว์ดีขึ้น
  • เป็นประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ยาถ่ายพยาธิแพะ

การถ่ายพยาธิ เราจะถ่ายพยาธิตามความจำเป็น ทางทฤษฎีให้ถ่ายตอนที่มีพยาธิ ถ้าไม่มีไม่ต้องถ่าย เพื่อป้องกันอาการดื้อยาของพยาธิ

ยาถ่ายพยาธิตามท้องตลาดทั่วๆไป

  • กลุ่มเบนซิมิดาโซล (แบบกิน)
  1. อัลเบนดาโซล
  2. เฟนเบนดาโซล
  3. มีเบนดาโซล
  • กลุ่มลีวามิซอล (แบบฉีด)
  • กลุ่มแมคโคไซคลิก แลคโตน (แบบฉีด)

ไอเวอร์แมคติน

  • กลุ่มยาที่มีส่วนผสมมมากกว่า 2 ชนิด (แบบฉีด)

ไอเวอร์เมค-เอฟ

ข้อระวังในการใช้ยาถ่ายพยาธิ

  1. อัลเบนดาโซน จะไม่ใช้กับแพะท้องในช่วง 3 เดือนแรก แต่ใช้ได้ในช่วง 2 เดือนสุดท้าย
  2. เฟนเบนดาโซล และ ลีวามิซอล สามารถใช้ในแพะตั้งท้องได้
  3. ไอเวอร์แมคตินใช้กับแพะท้องได้ แต่ต้องระวังในการจับแพะตัวยาจะทำให้แพะแสบ และตัวยาจะถูกขับออกมาทางน้ำนมซึ่งเป็นอันตรายต่อลูกแพะ จึงไม่แนะนำให้ฉีดในช่วงท้องอ่อน หรือช่วงให้นมลูก

สมุนไพรที่ใช้ในการช่วยถ่ายพยาธิ

ซึ่งการใช้สมุนไพรจะเป็นส่วนช่วยเสริมจากยาถ่ายพยาธิที่จำหน่ายในท้องตลาด ลดการใช้ยาถ่ายพยาธิซ้ำๆ เพื่อป้องกันการดื้อยา

  1. บอระเพ็ด
  2. หมาก
  3. เปลือกสะเดา
  4. เมล็ดมะขาม

โปรแกรมถ่ายพยาธิแพะ

โปรแกรมการถ่ายพยาธิเพื่อการป้องกัน
ถ่ายพยาธิครั้งที่ 1 ก่อนผสมพันธุ์  ให้ยา(ชนิดกรอก และ ฉีด) นับไป 20 วัน ก็กรอกอย่างเดียว หลังจากนั้นนับไป 3 เดือน ก็ถ่ายอีกครั้ง
ถ่ายพยาธิครั้งที่ 2 แพะคลอดลูกได้  1  เดือน (นับจากวันคลอด)
ถ่ายพยาธิครั้งที่ 3 ถ่ายทั้งแม่และลูก
ลูกแพะ 2 เดือน เริ่มถ่ายพยาธิ แบบกรอก และถ่ายทุกๆ 4-8 เดือนไปจนกว่าจะครบอายุ 1 ปี

 

หมายเหตุ : ก็คือ ทุก 4-8 เดือนนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการ ติดพยาธิ พิจารณาจากในฝูงมีแพะที่มีเยื่อเมือก เปลือกตาหรือเหงือกซีด ท้องเสีย ขนยุ่ง เจริญเติบโตช้าผิดปกติซึ่งเป็นอาการของการติด พยาธิก็ถ่ายพยาธิทุก 4 เดือน

ยาถ่ายพยาธิเบเรนิล

ชื่อทางการค้า

  • เบเรนิล ชนิดฉีด 7% Berenil Injection 7%

สรรพคุณ

  • ยาฉีดสำหรับรักษาโรคติดเชื้อทริพาโนโซม
  • เชื่อบาบีเซีย
  • เชื้อไธเลอเรีย

ส่วนประกอบ

  • ใน 1 มล. ประกอบด้วย ไตมินาซีน อะเซททูเรท (Diminazene Aceturate) 70 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้

  • ใช้รักษาโรคติดเชื้อต่างๆในวัว, แพะ, แกะ, สุกร และม้าที่เกิดจากเชื้อที่ไวต่อยา
  • โรคติดเชื้อมาบีเซีย (Babesiosis) ที่เกิดจากเชื้อ B. bovis, B. bigemina, B. ovis, B. motasi, B. canis, B. equi
  • โรคติดเชื้อทริพาโนโซม (Trypanosomiasis) ที่เกิดจากเชื้อ T. congolense, T. vivax, T. brucei รวมทั้งเชื้อ T. evansi
  • โรคติดเชื้อไธเลอเรีย (Theilerioses) ที่เกิดจากเชื้อ T. annulata โดยใช้ยานี้ในระยะแรกของการติดเชื้อ
  • โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวทีไวต่อยานี้มากกว่า 2 ชนิดรวมกัน

ขนาดและวิธีการให้ยา

  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อลึกๆ บริเวณคอ และสามารถฉีดเข้าใต้ผิวหนังได้
  • ขนาดยาที่ใช้ : 5 มล. ต่อน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม
  • ในรายที่ติดเชื้อ Tenacious Trypanosomiasis หรือการติดเชื้อโปรโตซัวที่ไวต่อยานี้มากกว่า 2 ชนิดรวมกัน และเชื้อไธเลอเรีย ควรให้ยาในขนาด 2 เท่าของ ปกติ ควรแบ่งยาฉีดในทีต่างกันหลาย ๆ แห่ง
  • ในรายที่ใช้ยาในปริมาณมากเกินกว่า 20 มล. แต่ไม่เกิน 56 มล. ของขนาดยาทั้งหมด

ยาถ่ายพยาธิโนวาบาบี

ชื่อทางการค้า

  • โนวาบาบี-อาร์ทียู Novababe-RTU

สรรพคุณ

  • ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อบาบีเซีย
  • โรคติดเชื้อทริพาโนโซม
  • โรคติเชื้อไธเลอเรีย หรือ ที่เรียกกันว่า ไข้เห็บ ไข้เลือดจาง หรือเรียก ภาวะเลือดจาง

ส่วนประกอบ

  • Diminazene acenturate 70 มิลลิกรัม
  • Phenazone 375 มิลลิกรัม

ขนาดและวิธีการใช้ยา

  • ฉีดเข้าฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
  • บริเวณคอ โดยดึงหนังและแทงเข็มเข้าใต้ผิวหนัง ควรเปลี่ยนเข็มทุกครั้งก่อนที่จะฉีดตัวต่อไป
  • กล้ามเนื้อชั้นลึก โดยการทำการแทงเข็มตั้งฉาก เข้าบริเวณเนื้อคอ ควรเปลี่ยนเข็มทุกครั้งก่อนที่จะฉีดตัวต่อไป
  • ขนาดยาที่ใช้ Diminazene acenturate 3.50 มิลลิกรัม และ Phenazone 18.75 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือ 5 ซีซี ต่อ น้ำหนัก 100 กิโลกรัม

ข้อแนะนำการให้ยา

  • กรณีขนาดยารวมที่มีใช้ฉีดมากกว่า 20 มิลลิลิตร ให้แบ่งฉีดโดยแต่ละตำแหน่งที่ฉีดไม่ควรเกิน 20 มิลลิลิตร
  • แต่ที่สำคัญขนาดยารวมที่ใช้ฉีดแต่ละครั้ง ต้องไม่เกิน 56 มิลลิลิตร
  • เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 องศ และให้พ้นจากแสง
  • ใช้สำหรับสัตว์เท่านั้น ขนาดบรรจุ 100 ml

สมุนไพรถ่ายพยาธิแพะ

  • เมื่อแพะเบื่ออาหารทำให้การเจริญเติบโตช้า ทำให้แพะผอมไม่ค่อยมีเรี่ยวมีแรง อาจเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้แพะที่อ่อนแอ อาจจะเป็นโรคอื่น ๆ ได้ง่าย
  • ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากผลผลิตที่ลดลงและเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายประสบปัญหาในทางการเลี้ยงและเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายในการซื้อยา เพราะยาที่ใช้รักษาแพะในท้องตลาดจะมีราคาแพงมาก
  • แต่มีบางพื้นที่มีการนำสมุนไพรภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้รักษาโรคในแพะ อีกทั้งสมุนไพรยังมีราคาถูกกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย

โดยมีสูตรสมุนไพรที่ใช้ในการถ่ายพยาธิและบำรุงแพะ

โดยมีขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้
วัสดุอุปกรณ์และส่วนผสม

  • น้ำ 10 ลิตร
  • ลูกยอ 3 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาลบริสุทธิ์ 1 กิโลกรัม
  • เกลือแกงพอประมาณ( 1 กำมือ)
  • ถัง 1 ใบ (สำหรับหมัก)
  • มีด 1 เล่ม
  • เขียงไม้ 1 อัน

ขั้นตอนการทำ

  • นำลูกยอมาล้างให้สะอาดจากนั้นหั่นลูกยอเป็นแว่นๆใช้ลูกยอสุกหรือแก่จัด
  • ใส่ลูกยอลงไปในถังเทกากน้ำตาลบริสุทธิ์ตามด้วยเกลือ ปิดฝาให้มิด
  • หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน หรือนานกว่าก็ได้ยิ่งนานยิ่งดี
  • อาทิตย์ที่ 1 ให้คนเช้า-เย็น อาทิตย์ที่ 2 ให้คนวันละ 1ครั้ง

ขั้นตอนการผสมกับน้ำให้แพะกิน

  • นำน้ำหมักลูกยอที่หมักไว้แล้วมากรองเอาเพียงแต่น้ำ ประมาณ 10 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 5 ลิตร
  • มาผสมน้ำให้แพะกิน ให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
  • ส่วนกากน้ำลูกยอที่ผ่านจากการกรอกแล้ว ให้นำมาคลุกกับอาหารให้แพะกิน ให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือเยอะกว่านั้นก็ได้
  • จะทำให้แพะกินอาหารได้เพิ่มขึ้น ลดปัญหาแพะผอมแห้งไม่มีแรง และช่วยในเรื่องของการถ่ายพยาธิ สามารถใช้ได้กับแพะอายุตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไป

ใบสาบเสือถ่ายพยาธิ

จากการใช้ใบสาบเสือในการรักษาหรือถ่ายพยาธินั้นยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอนและเด่นชัด แต่จากที่ได้ศึกษามานั้นการใช้ใบสาบเสือถ่ายพยาธิ ส่วนใหญ่แล้วจะนำต้นสาบเสือไปต้มและนำน้ำมากินเพื่อถ่ายพยาธิ

ต้นสาบเสือ มีส่วนประกอบและสรรพคุณดังนี้

ดอกสาบเสือ

  • มีสรรพคุณช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยแก้ตาฟาง ตาแฉะ
  • ช่วยแก้กระหายน้ำ
  • ดอกช่วยแก้ไข้

รากสาบเสือ

  • ใช้ผสมกับรากมะนาวและรากย่านาง นำมาต้มเป็นน้ำดื่มช่วยรักษาไข้ป่าได้
  • ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน
  • ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง อาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
  • รากสาบเสือนำมาใช้ต้มเป็นน้ำดื่มช่วยแก้โรคกระเพาะได้
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร

ใบสาบเสือ

  • นำมาใช้ต้มอาบช่วยแก้ตัวบวมได้
  • ช่วยแก้บวม ช่วยดูดหนอง
  • สารสกัดจากกิ่งและใบมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Bacillus subtilis ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหนอง
  • ช่วยแก้พิษน้ำเหลือง ช่วยถอนพิษแก้อักเสบ
  • ใบใช้ในการห้ามเลือด
  • ใช้สมานแผล ช่วยป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น
  • ช่วยรักษาแผลเปื่อย

ทั้งต้นของสาบเสือ

  • ใช้เป็นยาแก้บาดทะยัก
  • ใบสาบเสือ มีสารที่ช่วยยับยั้งการงอกและชะลอการเจริญเติบโตของพืชอื่น ๆ
  • ช่วยแก้ผมหงอก ทำให้ผมดกดำ ด้วยการใช้ใบสาบเสือนำมาตำแล้วใช้หมักผมเป็นประจำ ไม่นานจะทำทำให้เส้นผมดูดกดำขึ้น
  • ใบสาบเสือมีฤทธิ์ในการกำจัดปลวก ไล่แมลง ฆ่าแมลงได้
  • ทั้งต้นและใบสามารถนำมาใช้ในการบำบัดน้ำเน่าเสียได้ ด้วยการเอาทั้งต้นและใบใส่ลงไปแช่ในบ่อน้ำเน่า เมื่อผ่านไป 2-3 สัปดาห์น้ำจะค่อย ๆ ใสขึ้นเอง
  • ต้นสาบเสือมีกลิ่นแรง การใช้ในปริมาณมากนอกจากจะนำไปใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลงแล้ว การใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถนำมาใช้เป็นน้ำหอมได้ดีอีกด้วย
  • นอกจากนี้เรายังใช้ต้นสาบเสือเป็นตัวชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ ถ้าหากอากาศไม่แล้ง ต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอกนั่นเอง