ยาถ่ายพยาธิวัวยี่ห้อไหนดี ยาถ่ายวัวเม็ด bayer แบบฉีด ราดหลัง ผสมอาหาร

ยาถ่ายลูกวัว

“ทำไมเราต้องถ่ายพยาธิให้วัว ถ่ายพยาธิไปทำไม? บางท่านที่กำลังเริ่มเลี้ยงวัวอยู่หรือเลี้ยงมานานแล้วอาจจะเกิดคำถามพวกนี้ขึ้นมา โดยไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรและพยาธิมันมีรูปร่างแบบไหนแล้วต้องใช้ยาถ่ายพยาธิวัวยี่ห้อไหนดี ใช้ยาแบบไหนให้วัวกิน ฉีด ราดหลัง หรือผสมอาหารดีนะ งั้นเราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆกันกับบทความบทนี้เลยจ้า”

ยาถ่ายพยาธิ คืออะไร

ยาที่ใช้เพื่อต่อต้านหรือทำลายปรสิตที่อยู่ในทางเดินอาหารไม่ว่าจะอยู่ในส่วนของ

  • กระเพาะ
  • ลำไส้
  • หลอดอาหาร
  • หรือส่วนอื่นๆ
  • รวมไปถึงพยาธิที่อยู่ในโครงสร้าง หรืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร

พยาธิภายใน

  • ตับ
  • ปอด
  • กระแสโลหิตด้วย

พยาธิภายนอก

  • เห็บ
  • หมัด
  • เหา
  • ไร ถือเป็นพยาธิภายนอก

ยาที่ใช้กำจัดเรียกว่า Insecticide

พยาธิ คืออะไร

พยาธิคือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ทั้งภายนอก และภายในตัวสัตว์ คอยแย่งอาหาร ดูดเลือดหรือของเหลว กัดกินเนื้อเยื่อสัตว์ที่พยาธิอาศัยอยู่ อุดตันเส้นเลือด ทำให้เกิดแผล เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ อาจเกิดเนื้องอก ให้สารพิษเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์ที่พยาธิอาศัย ทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดความเครียด และเกิดการแพ้ พยาธิมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน

ความสำคัญของโรคพยาธิ

พยาธิภายในเมื่อเกิดขึ้นกับสัตว์แล้วจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพ และผลผลิตของสัตว์ และเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ดังนี้

  1. พยาธิแย่งอาหารจาก Host ทำให้เกิดสภาพขาดอาหาร (Dietary Deficiency)
  2. พยาธิรบกวนสุขภาพโดยทั่วๆ ไปของสัตว์
  3. พยาธิทำให้ผลผลิตจากสัตว์ลดลง
  4. ทำให้สัตว์มีภูมิต้านทานโรคต่ำลง
  5. เพิ่มต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์

ยาถ่ายพยาธิวัวยี่ห้อไหนดี

ยาถ่ายพยาธิ วิธีการใช้ และขนาดที่ใช้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ชนิดพยาธิ ชื่อการค้า/ตัวยา วิธีให้ ขนาด (มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
พยาธิไส้เดือน Fenbendazole กิน 7.5
พยาธิตัวกลมภายในทางเดินอาหาร Thiabendazole กิน 50
Oxibendazole กิน 0.15
Albendazole กิน 7.5 – 15
Mebendazloe กิน 1.5
Levamisole ฉีดใต้ผิวหนัง 8
Ivermectin ฉีดใต้ผิวหนัง 0.2
Fenbendazole กิน 5 – 7.5
พยาธิใบไม้ตับ Albendazole กิน 5 – 7.5
Nitroxynil ฉีดใต้ผิวหนัง 7.5
Triclabendazole กิน 12
Oxyclozanide กิน 10
Praziquantel กิน 15
พยาธิตัวแบน Fenbendazole กิน 5
Praziquantel กิน 1.5
Niclosamide กิน 50 – 100

ควรเลือกใช้ยาถ่ายพยาธิยี่ห้อไหนดี

เพราะยาถ่ายพยาธิมีหลายตัวที่นิยมในวัว

ยาถ่ายพยาธิแบบเม็ด

สำหรับป้องกันและกำจัดพยาธิตัวกลมในกระเพาะ และลำไส้ พยาธิปอด ตัวอ่อนทุกระยะ ไข่พยาธิ และพยาธิตัวตืด ในวัว

ยาที่นิยมใช้ เช่น ยี่ห้อ รินตัลโบลัส 600 mg ของ bayer มีตัวยาออกฤทธิ์คือ Febentel ขนาดการใช้งาน 1 เม็ด ต่อน้ำหนักสัตว์ 120 กก.

ยาถ่ายพยาธิแบบฉีด

ยาที่นิยมใช้ คือ ไอเวอเม็ค-เอฟ

ประกอบด้วยตัวยา 2 ตัวรวมกัน คือ

1.ไอเวอร์เมค(Ivermec)ออกฤทธิ์กำจัดพยาธิตัวกลม และกำจัดเห็บได้ด้วย

2.คลอซูลอน(Clorsulon) ออกฤทธิ์ต่อพยาธิตัวแบนและใบไม้ ในวัว ควรเลือกใช้ไอเวอร์เมค-เอฟ  ไม่ควรใช้ไอเวอร์เมคเดี่ยวเพราะออกฤทธิ์ไม่ครอบคลุมพอ

การใช้ ไอเวอร์เมค-เอฟ จะฉีดใต้ผิวหนังเท่านั้น การฉีดเข้ากล้ามเนื้อจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ  ควรใช้แบบมีทะเบียนเพื่อความแน่นอน อัตราการใช้ ฉีดใต้ผิวหนัง 1 ซีซี ต่อน้ำหนักสัตว์50 กก. ทุก6เดือน

ยาถ่ายพยาธิแบบราดหลัง

ใช้กำจัดพยาธิภายในและภายนอก สำหรับโคเนื้อและโคนม เช่น พยาธิตัวกลมในกระเพาะและลำไส้ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ พยาธิปอด  รวมถึงสามารถกำจัดเห็บ เหา ไร หรือหนอนแมลงวันได้จะนิยมใช้เฉพาะวัวนม เพราะต้องส่งนม จึงต้องใช้ยาราดหลังเพราะตกค้างน้อย และยาราดหลังราคาค่อนข้างแพง

การใช้ : ใช้เอ็ม-ม็อกไซด์ 10 ซีซีต่อน้ำหนักสัตว์ 100 กก.  ราดลงบนหลังวัวไล่ตั้งแต่สันคอ(ตะโหนก)  จนถึงโคนหาง  เดือนละ 2-3 ครั้ง

ยาถ่ายพยาธิแบบผสมอาหาร

ยาถ่าย​พยาธิ​ กำจัดพยาธิ​ตัวแก่​ อ่อน​ ไส้เดือน​ ตัวกลม​  เส้นด้าย​ พยาธิ​เม็ดตุ๋ม​ ไข่พยาธิ

มีตัวยา : อ็อกซี่เบนดาโซน

 การใช้ : แม็กซีแบน​ 1​ ซอง​ ต่อต่อน้ำหนักสุกร​  650  กิโล​ ถ้าใช้ผสมอาหาร​  1​ ซอง​ ผสมอาหารสัตว์​ 120  กิโล​ ต่อสุกร​ 60​ ตัว

ยาถ่ายพยาธิแบบกรอก

เหมาะสำหรับลูกวัว

ที่อายุไม่ถึง2เดือน  เพราะยาถ่ายพยาธิแบบฉีดอาจทำให้แพ้ยา  และเหมาะสำหรับผู้ที่ฉีดยาไม่เป็น ยาที่นิยมใช้ เช่น  ยี่ห้อ อเบนเทล

( Abentel) มีตัวยาออกฤทธิ์คือ Albendazole ออกฤทธิ์กำจัดได้ ทั้งพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และพยาธิใบไม้ (ฆ่าไข่พยาธิได้ด้วย)  มีความปลอดภัยสูง การใช้ คือ 1 ซีซี ต่อน้ำหนักสัตว์ 10 กก.

ประโยชน์ของยาถ่ายพยาธิ

  1. กำจัดพยาธิภายในร่างกายของสัตว์ ทั้งพยาธิตัวแก่ และพยาธิตัวอ่อน
  2. ใช้ป้องกันการติดพยาธิในฝูงสัตว์
  3. ลดการสูญเสียจากพยาธิ
  4. ลดจำนวนไข่พยาธิ และตัวอ่อน
  5. ทำให้สัตว์มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตสูง
  6. ยาถ่ายพยาธิบางตัวใช้เป็นยาระบายได้

สิ่งที่เราควรรู้เพื่อควบคุมโรคพยาธิ

  1. ต้องทราบวงจรชีวิตของพยาธิ
  2. การจัดการภายในฟาร์มเพื่อตัดวงจรชีวิตของพยาธิไม่ไห้ครบวงจร
  3. การใช้ยาฆ่าพยาธิหรือถ่ายพยาธิเป็นการป้องกันอย่างเหมาะสม
  4. รู้จักชนิดพยาธิ

พยาธิมีกี่ชนิด

พยาธิภายนอก

พยาธิภายนอก (Ectoparasite) พยาธิภายนอกที่พบในโคมีหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ เห็บ ไรขี้เรื้อน เหา แมลงดูดเลือด และหนอนแมลงวัน

เห็บโค

ความสำคัญของเห็บโค

  1. เลือด เห็บโคตัวหนึ่งอาจดูดเลือดได้ถึง 0.5 มิลลิลิตร
  2. เป็นตัวนำโรค เห็บโคสามารถนำโรคได้หลายชนิด เช่น บาบีซิโอซิส

และอะนาพลาสโมซิส

  1. รอยแผลที่เกิดจากเห็บกัดทำความเสียหายแก่หนังโค ทำให้ขายหนังไม่ได้ราคา
  2. รอยแผลจากเห็บดูดเลือดอาจเกิดแผลที่มีหนอนแมลงวันมาเจาะไชได้

การควบคุมเห็บโค

  1. การควบคุมเห็บในทุ่งหญ้า เห็บที่อยู่ในทุ่งหญ้าจะเป็นเห็บตัวอ่อนหรือเห็บตัวเมียดูดเลือดอิ่มตัว ควรจัดการทุ่งหญ้า โดยการปล่อยทุ่งหญ้าทิ้งไว้นานๆ หรือไถกลบ ไม่ควรใช้สารเคมี หรือยาฆ่าเห็บพ่นในทุ่งหญ้า
  2. การควบคุมเห็บบนตัวโค โดยการใช้ยาฆ่าเห็บชนิดต่างๆ เช่น
  • ยาพวกออแกนโนฟอสฟอรัส เช่น ดาซุนทอล นีโอซิด เนกูวอน
  • ยาพวกไพรีทรอยด์ เช่น คูเพ็กซ์ ซอลแพค 10 ดับบลิวพี ไบทรอด์ เอช 10 ดับบลิวพี บูท๊อกซ์
  • ยาพวกอะมิดีน เช่น อะมีทราช
  • ยาฉีด เช่น ไอโวเม็ค

เหาโค

สาเหตุ

เหาโคมีหลายชนิด พบได้ง่ายในบริเวณที่ขนยาว เช่น ที่พู่หาง มักพบในลูกสัตว์หรือสัตว์ที่มีสุขภาพไม่ดี โคที่มีเหามากจะแสดงอาการคันอย่างเห็นได้ชัด

การควบคุม

ยาที่ใช้กำจัดเห็บทุกชนิดสามารถใช้ควบคุมเหาได้ดี แต่ควรใช้ติดต่อกัน 2 ครั้ง เพื่อฆ่าตัวอ่อนของเหาที่เพิ่งจะออกจากไข่

ไรขี้เรื้อน

  1. ไรขี้เรื้อนขุนขน (Demodectic mange) เกิดจากไรชนิดดีโมเดกซ์ (Demodex bovis) พบได้บ่อยในโคประเทศไทย

อาการ

  • ชนิดที่พบมักเป็นแบบเฉพาะที่ ซึ่งรอยโรคที่ปรากฎจะมีลักษณะคล้ายเชื้อราคืด
  • มีขนหักหรือขนร่วงหลุดเป็นวงๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-5 เซนติเมตร
  • เมื่อดูใกล้ๆ จะเห็นเป็นรอยนูนสูงขึ้นมาคล้ายเป็นตุ่มเล็กๆ ถ้าบีบหรือขูดบริเวณที่เป็นรอยนูนนี้จะพบของเหลวคล้ายหนองข้นสีขาว
  • เมื่อนำไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบไรขึ้นเรื้อนขุมขนเป็นจำนวนมาก

สำหรับโรคขี้เรือนขุมขนชนิดเป็นทั้งร่างกายพบได้น้อยในประเทศไทย ลักษณะที่พบจะเป็นการอักเสบที่ผิวหนังมีหนองและเลือดปนอยู่ทั่วไป ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย รอยโรคจะกระจายไปอย่างรวดเร็ว และเชื้ออาจแพร่ไปยังโคตัวอื่นได้

การรักษา

ไรขี้เรื้อนแบบเฉพาะที่ไม่ต้องรักษาเพราะโรคมักไม่แพร่กระจาย แต่ถ้าโคเป็นแบบทั่วตัวควรจำหน่ายออกเพราะรักษายากมาก ยกเว้นในรายที่เป็นไม่มากอาจใช้ยาทาเฉพาะที่ เช่น ยาพวกออแกนโนฟอสฟอรัสหรือยาอะมิทราช

  1. ไรขี้เรื้อน ชนิดโคริออนติก (Chorioptic mange) เกิดจากไรชนิดโคริออบเทส (Chorioptes spp.)

อาการ

ในโคจะพบรอยโรคที่บริเวณโคนหาง รอบก้น หลัง และเต้านม โดยอาจจะเกิดตุ่มพอง (papule) หรือรักแค (scab) หรือรอยโรคที่เป็นลักษณะของการระคายเคือง หนังบริเวณนั้นจะหยาบ ย่น สกปรก ขนร่วง มักพบได้บ่อยที่บริเวณโคนหางและรอบก้น

การตรวจวินิจฉัย

ทำได้โดยการขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคผสมกับพาราฟินบนสไลด์นำไปตรวจดูด้วย กล้องจุลทรรศน์ จะพบตัวไรระยะต่างๆ แต่จะต้องแยกจากไรชนิดโซรอบเทส (Psoroptes spp.)

การรักษา

เนื่องจากไรชนิดนี้จะไม่ฝังตัวลงในผิวหนัง การรักษาจึงทำได้ไม่ยากนัก การใช้ยาที่เป็นยาฆ่าเห็บและไร (acaricide) ทุกชนิดในขนาดที่แนะนำสามารถใช้ได้แต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ประหยัด ปลอดภัย และพิษตกค้าง สำหรับโคนมถ้าเป็นระยะรีดนมแล้วต้องระมัดระวังให้มาก การใช้ยาดังกล่าวอาจจะมีการปนไปในน้ำนม ควรใช้ยาอื่นๆ ที่ปลอดภัย เช่น ปูนขาวผสมกำมะถัน (lime sulphur) เป็นทางเลือกที่ดีเพราะจะประหยัดและปลอดภัย

 

  • การเตรียมไลม์ซัลเฟอร์ (lime sulphur)
  • กำมะถังผง (Sulphur powder) 5  กิโลกรัม
  • ปูนขาว (Lime, CaO) 0  กิโลกรัม
  • น้ำ 20  ลิตร

ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วเติมน้ำจนครบ 200 ลิตร สารผสมนี้สามารถที่จะนำไปพ่นบนตัวโคได้หรือชุบด้วยผ้าหรือฟองน้ำเช็ดบริเวณ ที่เป็นทุก 10 วัน

แผลหนอนแมลงวัน

สาเหตุ

แมลงที่ทำให้เกิดแผลหนอนในสัตว์ต่างๆ รวมทั้งโคมีหลายชนิดแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ แมลงคริสซอเมีย (Chrysomyia bezzina) ซึ่งแมลงตัวแก่จะมีลักษณะคล้ายกับแมลงหัวเขียวมาก แมลงเหล่านี้จะบินมาตอมและหากินอยู่ที่แผลของสัตว์ เช่น แผลที่สะดือลูกโค แผลจากอุบัติเหตุ และวางไข่ไว้ที่แผล ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนหรือหนอน ตัวอ่อนนี้จะใช้เวลาเจริญอยู่ในแผล 3-6 วัน จากนั้นตัวอ่อนจะหล่นลงดินกลายเป็นดักแด้และเจริญเป็นแมลงตัวแก่ต่อไป หนอนแมลงวันมักเกิดในช่วงฤดูที่เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ของแมลงวัน

อาการ

  • บาดแผลจะเปิดกว้าง
  • เปื่อยยุ่ย ส่งกลิ่นเหม็นเน่า
  • อาจมีเลือดออกเนื่องจากตัวอ่อนของแมลงวันชอนไช
  • โคจะแสดงอาการเจ็บปวด
  • ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องสุขภาพสัตว์จะทรุดโทรมและอาจตายในที่สุด

การรักษา

  • โกนขนรอบบริเวณแผลให้กว้างห่างจากขอบแผลพอสมควร
  • ล้างแผลให้สะอาดโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำต้มสุกอุ่น
  • ถ้ามีหนองให้ล้างแผลด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
  • จากนั้นใช้สำลีเช็ดขูดเนื้อตายออกให้หมด โรยผงเนกาซันต์ลงในแผลเพื่อฆ่าตัวอ่อนแมลง
  • จับตัวอ่อนออกให้หมดทาแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
  • ควรโรยผงเนกาซันต์ไว้อีกเพื่อฆ่าตัวอ่อนที่หลงเหลือ และป้องกันการวางไข่ซ้ำ ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าแผลจะหายสนิท

การควบคุมและป้องกัน

วิธีที่ดีที่สุดคือ เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนังให้รีบทำการรักษาแผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าเป็นแผลใหญ่ควรใส่สารไล่แมลง (fly repellent) หรือใช้ยาปฏิชีวนะหรือซัลฟาที่ผสมยาฆ่าตัวอ่อนของแมลงด้วย

พยาธิภายใน

  • ตัวกลม
  • ตัวตืด
  • ใบไม้

 

พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร

พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารโคมีมากกว่า 5 ชนิด และมีบทบาทสำคัญมากในโคทุกวัย ลูกโคแรกเกิดอาจได้รับตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมจากนมน้ำเหลือง และเมื่อโคเริ่มกินหญ้าก็จะได้พยาธิที่ปะปนมากับหญ้า พยาธิเหล่านี้ระคายเคืองต่อกระเพาะและลำไส้ ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบ

ยาถ่ายพยาธิตัวกลม ได้แก่

  1. ไทอาเบนดาโซล ให้กินขนาด 50-100 มิลลิกรัมตัวยา/100 กิโลกรัมน้ำหนักสัตว์
  2. ซิตาริน-แอล 10% ฉีดขนาด 1 ซีซี./20 กิโลกรัมน้ำหนักสัตว์

 

พยาธิตืดวัว

เป็นพยาธิตัวตืดที่ติดเชื้อในลำไส้มนุษย์ วัวเป็นโฮสต์ตัวกลาง (Intermediate host) ซึ่งมีการพัฒนาตัวอ่อน ในขณะที่คนเป็นโฮสต์จำเพาะ (Definitive host) ซึ่งเป็นที่อยู่ของตัวเต็มวัยของพยาธิ พยาธิตืดวัวพบได้ทั่วโลก คนติดเชื้อโดยการกินเนื้อวัวดิบหรือปรุงไม่สุกที่มีซีสต์ตัวอ่อนอยู่ พยาธิตืดวัวเป็นกะเทย โดยแต่ละปล้องมีทั้งอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเมีย ไข่พยาธิออกมากับอุจจาระคน และวัวกินอาหารที่ปนเปื้อนไข่พยาธิ ไข่พยาธิกลายเป็นซีสต์ในกล้ามเนื้อ ตับ และปอดของวัว พยาธิตืดวัวมีลักษณะคล้ายพยาธิตืดหมูทั้งในด้านโครงสร้างและชีววิทยา แต่พยาธิตืดวัวมีขนาดใหญ่และยาวกว่า จำนวนปล้องมากกว่า อัณฑะมากกว่า และมดลูกแตกแขนงมากกว่า นอกจากนี้พยาธิตืดวัวไม่มี scolex พยาธิตืดวัวก่อโรคในลำไส้เท่านั้น ไม่ทำให้เกิด cysticercosis การติดเชื้อพยาธิตืดวัวมักไม่เป็นอันตรายและมักไม่มีอาการ

พยาธิใบไม้

เรียกชื่อสามัญของหนอนพยาธิ (Helminths) ที่มีรูปร่างแบนทั้งด้านบนและด้านล่างคล้ายใบไม้ ( ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือดที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก)เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางจุลินทรีย์ ( biologicalhazard) ทำให้เกิดโรคที่มีอาหารเป็นสื่อ (foodborne disease) ขนาดของพยาธิจะแตกต่างกันมาก ตั้งแต่เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

แบ่งตามที่อยู่เป็น 4 กลุ่ม

  1. Lung flukes (พยาธิใบไม้ปอด)
  2. Liver flukes (พยาธิใบไม้ตับ)
  3. Intestinal flukes (พยาธิใบไม้ลำไส้)
  4. Blood flukes (พยาธิใบไม้เลือด)

ระบบทางเดินอาหาร ( digestive system )

– ปากอยู่ด้านหน้าสุด ล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อ เรียกว่า oral sucker มีหลอดคอ ( pharynx ) และหลอดอาหาร ( esophagus )ลำไส้แยกออกเป็น 2 แขนงไปสิ้นสุดที่ส่วนท้ายของลำตัวและปลายตัน

– อาหารคือ สารที่เป็นของเหลวหรือกึ่งเหลวตรงบริเวณที่มันอาศัยอยู่ อาหารที่เป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนัง อาหารที่ไม่เป็นสารละลายจะถูกกินทางปาก

 

ระบบหายใจ ( respiratory system )

– พยาธิใบไม้ส่วนใหญ่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ จึงไม่มีอวัยวะสำหรับการหายใจ ยกเว้นในระยะตัวอ่อนจะหายใจโดยการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง

ระบบขับถ่าย ( excretory system )

– ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ flame cell ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้กรองของเหลว ภายในลำตัวของเหลวจะผ่านท่อเล็กๆ และรวมเข้าสู่ท่อใหญ่ขึ้น (collecting tubule) เข้ากระเพาะขับถ่าย (excretory bladder) ซึ่งเปิดสู่ภายนอกที่ส่วนท้ายสุดของลำตัว

ระบบประสาท ( nervous system )

– ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประสาท 3 คู่ และมีเส้นประสาททอดยาวไปตามลำตัว

ระบบสืบพันธุ์ ( reproductive system )

– พยาธิใบไม้ทั้งหมดเป็น hermapphrodite คือมีอวัยวะเพศทั้ง 2 เพศ อยู่ในตัวเดียวกัน ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือด

– อวัยวะเพศผู้ โดยทั่วไปพยาธิใบไม้มี testes 2 อัน มีรูปร่างกลมรี มีแขนง หรือเป็นท่อตามแต่ละชนิดจาก testis จะมีท่อ vas efferen ไปรวมกันเป็นท่อ vas defferen แล้วผ่านไปใน cirrus sac ไปสู่ seminal vesicle ท่อนี้จะผ่านprostategland ไปสิ้นสุดที่ cirrus organ และไปเปิดสู่ที่เปิดของอวัยวะสืบพันธุ์ (common genital pore) ซึ่งมักจะอยู่ชิดกับ ventral sucker

– อวัยวะเพศเมีย ประกอบด้วยรังไข่ ( ovary ) 1 อัน มีรูปร่างแตกต่างกันตามชนิด ซึ่งมักจะอยู่ตรงกลางลำตัว จากรังไข่จะมีท่อนำไข่ (oviduct) ไปสู่ ootype ซึ่งเป็นแหล่งที่จะสร้างไข่และบริเวณที่รับเชื้อตัวผู้ (seminal receptacle) ท่อและต่อม vitteline มาเปิดสู่ ootype ซึ่งจะมีต่อมสร้างเปลือกไข่ต่อจาก ootype เป็นมดลูก (uterus) เป็นท่อขดไปมาแล้วเปิดสู่ common genital pore