โปรแกรมคำนวณสูตรอาหารคืออะไร?
คือ การเอาความรู้ทางการวิจัยและเทคโนโลยีมาดัดแปลงใช้กับการทำงาน ช่วยทำให้การผลิตอาหารสัตว์มีคุณภาพ และลดกระบวนการในการทำงาน มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อความสะดวก ช่วยให้เกษตรกรคิดคํานวณพัฒนาสูตรอาหาร และลดปัญหาวัตถุดิบที่มีราคาแพงในแต่ละช่วง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างโปรแกรมคำนวณสูตรอาหารสัตว์ และการติดตั้งโปรแกรม
- เกษตรกรสามารถดาวโหลด โปรแกรม “กอส.1” ได้ฟรีจากเว็บไซต์ สํานักพัฒนาอาหารสัตว์(http://nutrition.dld.go.th/nutrition/)
- ขั้นตอนแรกก็อบปี้ไฟล์โปรแกรมไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากตัวโปรแกรมนั้นเป็นไฟล์ Excel ขนาดเล็ก ผู้ใช้สามารถคัดลอกไฟล์โปรแกรมไปใส่ไว้ใน Folder ที่ต้องการได้เลย โดยจะใช้ Windows Explorer ในการคัดลอกไฟล์ก็ได้
- ชื่อของไฟล์คํานวณสูตร เช่น LeastCostFeedRuminant.xls สําหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง และLeastCostFeedNonruminant.xls สําหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว
- ความปลอดภัย เนื่องจากภายในโปรแกรมจะมีคําสั่ง มาโครอยู่ด้วย ฉะนั้นผู้ใช้งานจะต้อง อนุญาตให้คอมพิวเตอร์ใช้คําสั่งมาโครได้เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Excel 2007 เมื่อดับเบิลคลิ๊ก เปิดตัวโปรแกรม “กอส.1” ขึ้นมาแล้วให้คลิ๊ก รูปกลม ๆ อยู่ที่มุมบนซ้ายของจอ
—› เลือก Excel Options (ด้านล่างของเมนู) —› Trust Center —› Trust Center Setting —› Macro Setting —› Enable all macro —› Trust access to the VBA project object model —› OK —› OK
- ถ้าเป็น Excel รุ่นอื่น ก็ทํารูปแบบคล้ายๆกัน หรือจะแจ้งความต้องการต่อผู้ดูแลระบบก็ได้เช่นกัน
อาหาร TMR คืออะไร?
อาหาร TRM มาจาก Total mixed ration หรือ Complete Ration (CR) หรืออาหารผสมสำเร็จรูปที่ผลิตจากอาหารหยาบผสมกับอาหารข้นในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยคำนวณสัดส่วนจากน้ำหนักแห้งของอาหารทั้ง 2 ชนิด ให้ได้ตามความต้องการที่เหมาะสมในการเลี้ยงโค
อาหารโคขุน-วัวขุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- อาหารหยาบ
- อาหารข้น
อาหารหยาบ
คือ อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์ของเยื่อใยสูง มีเปอร์เซ็นต์ของโปรตีนต่ำ เป็นอาหารหลักของโค และสัตว์กระเพาะรวมอื่น ๆ หาได้จาก 2 แหล่ง ใหญ่ๆ ดังนี้
- หญ้า จากทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ หรือจากการทำแปลงหญ้า ในการเลี้ยงโคขุนควรทำแปลงหญ้าเพราะโคขุนต้องการอาหารค่อนข้างดี ถ้าใช้อาหารหยาบล้วนจำเป็นต้องมีแปลงหญ้าคุณภาพดี หญ้าที่แนะนำได้แก่ หญ้าขน และหญ้ารูซี่ เหมาะต่อการเลี้ยง โคแบบปล่อยแทะเล็ม ส่วน หญ้ากินนี เหมาะสำหรับตัดสด
- วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกสับปะรด ต้นข้าวโพด ยอดอ้อยสามารถใช้เลี้ยงโคขุนได้โดยใช้เสริมร่วมกับอาหาร ข้นได้ดี
- โคทั่วไปจะกินหญ้าสดวันละ 35-40 กก./ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของโค แต่ในการเลี้ยงโคขุนเราจำเป็นต้องใช้อาหารข้น เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เสริมให้โคแล้ว โคจึงมีความต้องการอาหารหยาบลดลง
อาหารข้น
คือ อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยต่ำ มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง สามารถย่อยได้สูง ประกอบด้วยวัสดุต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงผสมกันให้ครบส่วนตามความต้องการของโค ใช้เสริมกับอาหารหยาบ ควร เลือกใช้สูตรให้เหมาะสมกับวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และมีราคาถูก
ส่วนประกอบทางโภชนะของ TMR สำหรับโคขุน วัวขุน ให้ 10 – 15 กก./วัน
- ยอดโภชนะย่อยได้ 67 เปอร์เซ็นต์
- โปรตีน 15 เปอร์เซ็นต์
- เยื่อใย 27 เปอร์เซ็นต์
- แป้ง + น้ำตาล 28 เปอร์เซ็นต์
กลุ่มแร่ธาตุ
- แคลเซียม 0.48 เปอร์เซ็นต์
- ฟอสฟอรัส 0.31 เปอร์เซ็นต์
- แมกนีเซียม 0.20 เปอร์เซ็นต์
- กำมะถัน 0.20 เปอร์เซ็นต์
- ซิลีเนียม 0.30 พีพีเอ็ม
- ไอโอดีน 0.60 พีพีเอ็ม
- วิตามินเอ (TU/กก.) 3,200 หน่วยสากล
สูตรอาหาร TMR วัวขุน โคขุน
การใช้อาหาร TMR เลี้ยงโคขุน กับโคเนื้อทั่วไปมีความแตกต่างกันของสูตรอาหาร เพื่อให้เหมาะสมกับคุณภาพเนื้อ การเพิ่มน้ำหนัก ตามความต้องการชองเรา
อาหารที่เราสร้างขึ้น จะประกอบด้วยวัตถุดิบอาหาร (feedstuff หรือ feed ingredient) ชนิด ต่าง ๆ ซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่
- ประเภทที่ให้พลังงาน ได้แก่ ธัญพืชและผลพลอยได้ พืชหัว น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ กากน้ำตาล เป็นต้น
- ประเภทที่ให้โปรตีน มีทั้งโปรตีนจากพืชและจากสัตว์
- ประเภทวิตามิน มีทั้งวิตามินจากธรรมชาติและวิตามินสังเคราะห์
- ประเภทแร่ธาตุมีทั้งแร่ธาตุหลักและแร่ธาตุปลีกย่อย
- ประเภทสารเสริม (feedadditives) เพื่อวัตถุประสงค์บางประการ เช่น สารช่วยย่อย สารแต่งสี แต่งกลิ่น แต่งรสชาติ สารกันบูดสารกันหืน สารกันเชื้อรา สารช่วยอัดเม็ด ยาถ่ายพยาธิ รวมทั้งยาอื่น ๆ ฮอร์โมน สารเร่งการเจริญเติบโต สารเสริมภูมิต้านทาน และสารช่วยรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น
สูตรที่ 1 อาหาร TMR สำหรับโคเนื้อ 1 ตัว
- กากถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม
- กระถินสับตากแห้ง 30 กิโลกรัม
- กากปาล์มเนื้อใน 5 กิโลกรัม
- รำละเอียด 20 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
- มันเส้น 20 กิโลกรัม
- ยูเรีย (40-0-0-) 1 กิโลกรัม
- แร่ธาตุ+ฟรีมิกซ์ 1 กิโลกรัม
สูตรที่ 2 อาหาร TMR สำหรับโคนม 1 ตัว
- หญ้ารูซี่แห้งบด 8 กิโลกรัม
- ใบกระถินแห้ง 5 กิโลกรัม
- เมล็ดฝ้าย 4 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 3 กิโลกรัม
- มันเส้น 5 กิโลกรัม
- ยูเรีย 13 กิโลกรัม
- แร่ธาตุ 12 กิโลกรัม
วิธีการคำนวณสูตรอาหารต่าง ๆ
- Person’s square method
- Double Person’s square method
- วิธีใช้สมการแทนค่า
- วิธีการลองผิดลองถูก
- การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Mixit, หมู หมู ม. อุบล (บน Exel) ฯลฯ
วัตถุดิบอาหารข้นวัวขุน โคขุน
อาชีพเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารสัตว์ เช่น ต้นทุนในการเลี้ยงสุกรจะคิดเป็นค่าอาหารประมาณ 80% ต้นทุนการเลี้ยงไก่และวัวนม คิดเป็นค่าอาหารประมาณ 50-60%
ดังนั้นหากผู้เลี้ยงสัตว์ต้องการที่จะลดต้นทุนในการผลิตสัตว์ ก็ควรจะพิจารณาในด้านการลดต้นทุนจากค่าอาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้เลี้ยงจะมีกำไรเพิ่มมากขึ้น โอกาสอยู่รอดของฟาร์มก็มีมากขึ้น
วิธีการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์
คือ ผู้เลี้ยงจะต้องเลิกซื้ออาหารจากบริษัทผลิตอาหารสัตว์ และหันมาผสมอาหารใช้เอง ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงจะต้องมีความรู้ทางด้านอาหารสัตว์เป็นอย่างดี จึงจะสามารถคำนวณสูตรอาหารสัตว์ให้เหมาะสมและมีราคาถูกลง และรู้จักสรรหาวัตถุดิบแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ทดแทนกันได้ และมีราคาถูกมาใช้ตลอดเวลา
วิธีเลือกใช้วัตถุดิบเพื่อผสมสูตรอาหารสัตว์
ถ้าเกษตรกรอยากให้สูตรอาหารของท่านมีประสิทธิภาพ มีความครบถ้วนของสารอาหารตามความต้องการของสัตว์ และมีราคาที่ไม่แพงมากจนเกินไป มีข้อพิจารณา ดังนี้
- แหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบต้องหาได้ง่ายและมีปริมาณมากในท้องที่ และมีใช้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะอาหารหลัก
- ราคา วัตถุดิบควรมีราคาถูกคุณภาพดี อาหารสัตว์บางชนิดราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาลผลิต ราคาอาจถูกในบางฤดูกาล
- สารปนเปื้อน วัตถุดิบไม่ควรมีสารพิษหรือสารปนเปื้อน วัตถุดิบที่มีสารพิษย่อมมีผลต่อการผลิตของสัตว์
- ลักษณะกายภาพ วัตถุดิบควรมีลักษณะทางกายภาพที่ดี เพื่อให้สัตว์ชอบกินและสามารถกินอาหารนั้นได้ตามความต้องการ ลักษณะทางกายภาพที่ควรพิจารณา ได้แก่
- ความเหนียว
- ขนาดชิ้นส่วนอาหาร
- สี กลิ่น และรสชาด
- ความฟ่ามหรือความหนาแน่น
ประเภทของวัตถุดิบอาหารข้นวัวขุน โคขุน
- วัตถุดิบแหล่งอาหารพลังงาน
- วัตถุดิบแหล่งพืชอาหารสัตว์
- วัตถุดิบอาหารสัตว์แหล่งโปรตีน
- วัตถุดิบแหล่งอาหารแร่ธาตุ
- วัตถุดิบอาหารเสริมวิตามิน
- วัตถุดิบเติมในอหาร
- คุณภาพวัตถุดิบและผลเสียต่อคุณภาพอาหาร
วัตถุดิบอาหารแหล่งโปรตีน
วัตถุดิบอาหารที่จัดว่าเป็นแหล่งที่ให้โปรตีนนั้น ควรมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้จากสัตว์และพืชตลอดจนผลิตผลพลอยได้และได้จากสัตว์เซลล์เดียวที่สังเคราะห์ขึ้นมา
ผลพลอยได้จำกผลิตภัณฑ์นม (milk by product)
ผลพลอยได้จากการทำผลิตภัณฑ์นม ที่นิยมนำมาเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ หางนมผง (dried skim milk) และหางเนย (dried whey) หางนมผง มีโปรตีนประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาหารโปรตีนมีคุณภาพดี มีกรดอะมิโนที่สมดุล มีความน่ากินสูง อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สัตว์ต้องการ แต่มีราคาแพงมาก
ปลาป่น (fish meal)
เป็นอาหารโปรตีนสำหรับการเลี้ยงสัตว์ ผลิตจากปลาต่าง ๆ นำมาบดป่นและสกัดน้ำมันออกแล้วท้าให้แห้ง อาจมีทั้งเปลือกปู กุ้ง กั้ง หอย ปนมาด้วย โดยเฉลี่ยแล้วปลาป่นจะมีโปรตีนประมาณ 50 – 65 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 5 – 8 เปอร์เซ็นต์ แร่ธาตุประมาณ 20 – 24 เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งของวิตามิน มีแคลเซียม 5 – 8 เปอร์เซ็นต์ และฟอสฟอรัส 3 – 3.8 เปอร์เซ็นต์
เนื้อและกระดูกป่น (meat and bone meal)
ซากสัตว์ที่ไม่เหมาะสมที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ อาจเนื่องจากมีพยาธิหรือโรคบางอย่างได้จากการนำเนื้อและกระดูก ไม่รวมขน หนัง เขา กีบ เลือดและเครื่องใน นำซากเหล่านั้นไปนึ่ง (steam) แล้วป่น ภายหลังจึงทำให้แห้งโปรตีนค่อนข้างสูงประมาณ 55 – 60 เปอร์เซ็นต์ มีระดับธาตุฟอสฟอรัสต่ำกว่า 4.4 เปอร์เซ็นต์
เลือดแห้ง (blood meal)
ผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าสัตว์ นำมานึ่งเพื่อให้ตกตะกอน จากนั้นจึงอบให้แห้งแล้วป่นละเอียด มีโปรตีนค่อนข้างสูงมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นโปรตีนที่ย่อยยากแม้ว่าจะมีกรดอะมิโนไลซีนและทริปโตเฟนสูง แต่เมทไธโอนีน และไอโซลูซีนต่ำมาก แสดงถึงความไม่สมดุลของกรดอะมิโน มีแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสค่อนข้างต่ำ มีความน่ากินต่ำ
แกลบกุ้ง (shrimp meal)
แกลบกุ้งเป็นส่วนที่ปลิดทิ้งเพื่อทำกุ้งแห้ง กุ้งกระป๋อง หรือกุ้งแช่แข็งส่งต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัวและเปลือกกุ้ง หรือบางส่วนที่หักติดปนกับเปลือก กรรมวิธีใช้อบหรือต้มด้วยความร้อนและตากแดด แกลบกุ้งมีปริมาณของโปรตีนผันแปรมากระหว่าง 25 – 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นโปรตีนที่ย่อยได้ต่ำ
ขนไก่ป่น (feather meal)
ผลพลอยได้จากโรงงานช้าแหละไก่ มีโปรตีนสูงถึง 85 – 87 เปอร์เซ็นต์ แต่อัตราการย่อยได้ต่ำมาก การนำขนไก่มาเป็นอาหารสัตว์จะต้องย่อยหรือไฮโดรไลซ์ด้วยการนึ่งด้วยไอน้ำที่ความดันสูงและย่อยด้วยกรดเกลือนาน 20 ชั่วโมง
กากถั่วเหลือง (soybean meal)
กากถั่วเหลืองเป็นอาหารโปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด ได้จากการนำถั่วเหลืองไปสกัดน้ำมันออก มีหลายวิธีเช่น วิธีอัดแน่น (hydraulic process) วิธีอัดเกลียว (screw process) และวิธีสกัดด้วยสารเคมี (solvent process) ซึ่งจะมีคุณภาพแตกต่างกัน โดยจะมีโปรตีนประมาณ 43 , 45 และ 50เปอร์เซ็นต์
กากเมล็ดฝ้าย (cottonseed meal)
ถ้าให้ปริมาณมากทำให้ลดความอยากกินอาหาร มีอาการผิดปกติ หายใจลำบากและการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ และพบว่ามีกรดไขมันไซโครโพรพินอยด์ (cyclopropenoid) ซึ่งอาจจะป้องกันพิษโดยเติมเหล็กซัลเฟตลงในอาหารในอัตราส่วน 1 : 1 ระหว่าง เหล็กและกอสสิบพอลอิสระ (free gossypol) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 0.1 – 0.4 เปอร์เซ็นต์
กากถั่วลิสง (peanut meal)
กากถั่วลิสงเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันเช่นเดียวกับพืชน้ำมันอื่น โดยมี
โปรตีนประมาณ 37 – 45 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่กรรมวิธีการสกัดน้ำมันและการกะเทาะเปลือก ปัญหาของการใช้ ได้แก่ การปลอมปนซึ่งมักจะปนเปลือกและกากพืชชนิดอื่นที่มีราคาถูกท้าให้คุณภาพต่ำลงและเยื่อใยสูง
กากเมล็ดดอกคำฝอย (safflower meal)
เมล็ดดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius) มีน้้ามันประมาณ 36 – 40 เปอร์เซ็นต์ และมีเปลือกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ของเมล็ด กากเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมัน มีโปรตีนระหว่าง 18 – 22 เปอร์เซ็นต์ และกาก 40 เปอร์เซ็นต์ ปกติแล้วสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่ควรใช้เนื่องจากเปลือกแข็งและมีลิกนินสูง
กากปาล์ม (palm oil meal)
กากปาล์มเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันจากเมล็ดปาล์มน้ำมัน กากปาล์มที่ใช้ควรจะเป็นชนิดกะเทาะเปลือกซึ่งมีโปรตีนประมาณ 14 – 16 เปอร์เซ็นต์ และยังมีไขมันเหลืออยู่ประมาณ 10 –15 เปอร์เซ็นต์ และมีกากหรือเยื่อใย 14 – 15 เปอร์เซ็นต์
กากเมล็ดยางพารา (rubber seed meal)
กากเมล็ดยางพาราได้จากการนำเอาเมล็ดยางพารามาบีบหรือสกัดน้ำมันออก มีทั้งชนิดกะเทาะและไม่กะเทาะเปลือก ชนิดกะเทาะเปลือกมีโปรตีนระหว่าง 28 – 30 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 28 – 29 เปอร์เซ็นต์ ชนิดไม่กะเทาะเปลือกจะมีโปรตีนต่ำกว่า คือ ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ และมีกากสูงประมาณ 40 – 42 เปอร์เซ็นต์
เมล็ดและกากเมล็ดทานตะวัน (sunflower seed and meal)
เมล็ดทานตะวัน (Helianthus annuus) มีปริมาณโปรตีนประมาณครึ่งหนึ่งของกาก ถั่วเหลือง คือ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเยื่อใยและไขมันสูงกว่าถั่วเหลืองมาก แต่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นประมาณ 1/3 ของกากถั่วเหลือง ยกเว้นไลซีนมีเพียง 1/5
ใบกระถิน (leucaena leaf meal)
ใบกระถินแห้งมีโปรตีน 14 – 30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับการมีก้านหรือกิ่งปะปน เยื่อใย มีประมาณ 16 – 25 เปอร์เซ็นต์ แต่มีแคลเซียมมาก และมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินเอและสารแซนโทฟิลล์ทำให้สีไข่แดงและสีผิวหนังตลอดจนแข้งไก่มีสีเข้มขึ้น
ส่าเบียร์ (brewer by product)
ส่าเบียร์เป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตเบียร์ที่ใช้ข้าวบาร์เลย์หมักกับเชื้อยีสต์ ผลิตผลพลอยได้มีหลายชนิด เช่น มอลต์บาร์เลย์ (malt barley) ได้จากข้าวบาร์เลย์ที่นำไปเพาะให้งอก จนมีความสูงตามที่ต้องการ แล้วจะถูกผ่านความร้อนทำให้ต้นที่งอกตาย มีโปรตีน 11 –12 เปอร์เซ็นต์ การย่อยได้ ของโภชนะทั้งหมด 70 –75 เปอร์เซ็นต์ และเยื่อใยประมาณ 5 –6 เปอร์เซ็นต์
ยูเรีย (urea)
ยูเรียเป็นสารที่ให้ไนโตรเจนได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคิดเป็นปริมาณโปรตีน 262 – 281 เปอร์เซ็นต์ สามารถน้ามาใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยพวกจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน นำไปใช้สังเคราะห์โปรตีน สามารถน้าไปผสมกับอาหารจากพืชที่มีโปรตีนต่ำ เช่น หญ้าแห้งหรือฟาง มีความน่ากินต่ำ โดยทั่วไปใช้ไม่เกิน 10 – 15 เปอร์เซ็นต์ของโปรตีนทั้งหมดที่สัตว์ต้องการใช้
วัตถุดิบอาหารแหล่งพลังงาน
วัตถุดิบอาหารสัตว์ใช้เป็นส่วนประกอบของส่วนผสมในสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์เป็น จำนวนมาก คุณลักษณะโดยทั่วไปของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จัดว่าให้พลังงาน ได้แก่ การให้ พลังงานมากว่า 2,000 แคลอรีต่อกิโลกรัม มีโปรตีนในองค์ประกอบน้อย กว่า 20 เปอร์เซ็นต์
ข้าวโพด (corn)
ข้าวโพดที่ปลูกในประเทศไทยมีทั้งชนิดสีขาวและเหลือง ทั้งสองชนิดมีคุณค่าทางอาหาร ใกล้เคียงกันแต่สีเหลืองมีแคโรทีน (carotene) ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้วิตามินเอมากกว่า ข้าวโพดมีโปรตีนประมาณ 8 – 9 เปอร์เซ็นต์ มีกรดอะมิโนไลซีน ทริปโตเฟนและเมทไธโอนีนต่ำ การย่อยได้ทั้งหมดประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพดขาดวิตามินบีหลายชนิด เช่น วิตามินบี 12 และกรดแพนโททินิก
ข้าวฟ่าง (sorghum grain)
ข้าวฟ่างที่นิยมนำมาเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ข้าวฟ่างแดงและข้าวฟ่างเหลือง เป็นพืชที่ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมแห้งแล้ง ปลูกขึ้นในสภาพอากาศได้แทบทุกชนิด คุณค่าทางอาหารของ ข้าวฟ่างใกล้เคียงกับข้าวโพด (ใช้ประโยชน์ได้ประมาณ 95 – 98 เปอร์เซ็นต์ของข้าวโพด) ส่วน จมูกข้าวของข้าวฟ่างมีขนาดเล็กกว่า มีโปรตีนผันแปรระหว่าง 8 –12 เปอร์เซ็นต์ (โดย เฉลี่ย 9.9 เปอร์เซ็นต์)
ข้าวเปลือกบด (paddy – rice)
ข้าวเปลือกมีโปรตีนประมาณ 8 – 9 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 9-10 เปอร์เซ็นต์ข้าวเปลือกมักจะมีแกลบปนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ท้าให้มีกากหรือเยื่อใยสูง และมีสารซิลิกำ (silica) ท้าให้ส่วนที่จะให้พลังงานลดลง ไม่ควรใช้เป็นอาหารของสัตว์ที่มีอายุน้อย เช่น ลูกไก่หรือลูกสุกร ข้าวเปลือกเมื่อบดแล้วมมีลักษณะเป็นฝุ่น อาจเกิดการระคายเคืองท้าให้กินอาหารได้น้อยลงและ อาจมียาฆ่าแมลงปนติดมากับเปลือก
ปลายข้าว (broken rice)
ปลายข้าวเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว เกิดจากการขัดข้าวกล้อง หรือข้าวแดง ที่นำไปกะเทาะเปลือกออกให้เป็นข้าวขาว ปลายข้าวประกอบด้วยละอองข้าวหรือเยื่อหุ้มเมล็ด เศษชิ้นของเมล็ดข้าวที่หักและจมูกข้าว (embryo) ปลายข้าวมีโปรตีนประมาณ 9 – 10 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันและเยื่อใยต่ำโดยมีประมาณร้อยละ 0.9 และ 1.0 ตามลำดับ
รำข้าว (rice bran)
รำข้าวแยกออกเป็น 2 ชนิด
คือ รำหยาบและรำละเอียด รำหยาบมี ส่วนผสมของแกลบปน ทำให้คุณค่าต่ำกว่ารำละเอียดเพราะมีเยื่อใยสูงและมีแร่ซิลิกำปนในแกลบมาก รำเป็นส่วนผสมของเพอริคาร์บ (pericarp) อะลิวโรนเลเยอร์ (aleuron layer) เยอร์ม (germ) และบางส่วนของเอนโดสเปอร์ม (endosperm) ของเมล็ด รำหยาบมีโปรตีนประมาณ 8 –10 เปอร์เซ็นต์ ไขมันประมาณ 7 – 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรำละเอียดมีโปรตีนประมาณ 12 – 15 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 12 – 13 เปอร์เซ็นต์
ผลพลอยได้จากข้าวโพด (corn by product)
ผลพลอยได้จากการปลูกข้าวโพด ประกอบด้วยเมล็ดข้าวโพดบดปนกับซัง (corn and cob meal) ซึ่งมีสัดส่วนของซังประมาณ 20 – 25 เปอร์เซ็นต์ และเมล็ด 70 – 75 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เหมาะสำหรับนำไปเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยทั่วไปไม่นำไปเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก มีโปรตีนประมาณ 7 – 8เปอร์เซ็นต์ และการย่อยได้ทั้งหมดของโภชนะ 73 – 75 เปอร์เซ็นต์
ผลพลอยได้จำกผลิตภัณฑ์อำหำรแป้ง (flour by product)
เป็นผลพลอยได้จากโรงงานที่ทำอาหารและขนมจากแป้ง เช่น จากการทำขนมปัง (bakery by product) หรือโรงงานทำเส้นหมี่ (noodle by product) สามารถน้ามาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ โดยทั่วไปคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวโพด แต่มักมีไขมันสูง (12 – 16 เปอร์เซ็นต์) และอาจมีเกลือมาก ดังนั้นใน
การมันสำปะหลัง (cassava, manioc)
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง ประมาณ 80 – 85 เปอร์เซ็นต์ มีเยื่อใยเล็กน้อย ปริมาณโปรตีนต่ำประมาณ 0 – 2 เปอร์เซ็นต์ และมีแร่ธาตุน้อย เนื้ออาหารมีลักษณะเป็นฝุ่นและมีความหนาแน่นต่ำ การใช้มันสำปะหลังจะต้องคำนึงถึงสารพิษที่มีในเนื้อมันสำปะหลัง เปลือกราก และใบ ซึ่งได้แก่ แทนนิน (tannin) กรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid, HCN) หรือกรดพรัสสิก (prussic acid) ใช้ไม่ควรเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารทั้งหมด
มันเทศ (sweet potato)
มันเทศในสภาพสดจะมีน้ำประมาณ 60 – 70 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนประมาณ 1 –2 เปอร์เซ็นต์ ใช้เลี้ยงสัตว์ได้ถ้ามีราคาต่ำหรือปลูกใช้เองแต่เก็บไว้ไม่ได้นานเพราะแมลงกัดกินง่าย เมื่อทำให้แห้งจะให้พลังงานสูง การใช้ไม่ควรเกินในอัตรามันเทศต่อเมล็ดธัญพืช 1 : 1 หรือ 20 – 35 เปอร์เซ็นต์ การทำมันเทศให้แห้งไม่คุ้มค่าและใช้ประโยชน์ได้เพียง 1 ใน 3 ของข้าวโพด