สูตรอาหารไก่ไข่ ไก่โตเร็ว ไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ ลดต้นทุน การอัดเม็ด เครื่องอัดเม็ดทำเอง

Table of Contents

สูตรอาหารไก่

อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ สำหรับไก่ในฟาร์ม ไก่พื้นบ้าน ไก่กึ่งขัง กึ่งปล่อยในชนบท จะให้อาหารคือ

  • ข้าวเปลือก
  • ปลายข้าว
  • ข้าวนอกจาก จะเป็น อาหารคนแล้ว
  • บางส่วนยังเป็นอาหารไก่ด้วย

กระบวนการผลิตข้าวจึงมีความคุ้มค่าเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ตาม เกษตรกรได้หันมาซื้ออาหารสําเร็จรูปสำหรับไก่กินเนื่องจาก มีคุณค่าทางสารอาหารดีกว่า แต่ก็ราคาสูง  จึงมีการคิดค้นอาหารขึ้นเอง และให้สารอาหารครบถ้วน ได้แก่ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน  อย่างไรก็ตาม อาหารไก่ มีไว้สำหรับหลายประเภท

ประเภทอาหารไก่

อาหารไก่สามารถแบ่งได้หลายประเภท โดยสามารถแบ่งตาม การเจริญเติบโต และ แบ่งตามสายพันธ์ไก่

ประเภทของอาหารแบ่งตามเจริญเติบโตของไก่

อาหารไก่ตามการเจริญเติบโตแบ่งเป็นตามช่วงอายุของไก่ ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามอายุได้ 4 ช่วงอายุ โดยที่อายุสุดท้ายจะเป็นอาหารสำหรับก่อนส่งตลาด เนื่องจากมีวัคซีนและฮอร์โมน จึงมีการปรับสูตรอาหารก่อนส่งตลาด

  • ไก่เล็ก
  • ไก่รุ่น
  • ไก่ใหญ่
  • อาหารก่อนส่งตลาด

ประเภทของอาหารไก่แบ่งตามสายพันธ์

  • อาหารไก่ไข่
  • อาหารไก่เนื้อโตเร็ว
  • อาหารไก่พื้นเมือง
  • อาหารไก่ลดต้นทุน

 

สูตรอาหารไก่ไข่

สูตรอาหารไก่ไข่ที่สามารถหาวัตถุดิบมาผสมเองได้ง่าย ๆ เลย มีวัตถุดิบที่ต้องใช้ และวิธีการผสมดังนี้ครับ

ส่วนผสมอาหารไก่ไข่

  1. รำละเอียด 30 กก.
  2. ปลายข้าว 1 กก.
  3. กากน้ำตาล 1 กก.
  4. เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
  5. ขี้วัวแห้ง 4 กก.
  6. ดินนาบด 2 กก.
  7. ต้นกล้วยสับละเอียด 30 กก.

 วิธีการผสม

สำหรับการผสมอาหารไก่ด้วยสูตรข้างต้น สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผสมส่วนผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะ
  2. เอาไปให้ไก่กินได้เลย หรือเก็บในที่ภาชนะปิดสนิท
  3. หรือใส่ถุงพลาสติกมัดอย่าให้อากาศเข้า
  4. หมักไว้ 5 วันจะมีตัวหนอนคือโปรตีน

 การให้อาหาร

  1. กรณีไก่พร้อมไข่ นำมาผสมกับอาหารไก่สำเร็จรูปในอัตรา 3 ส่วน ทำเอง 1 ส่วน
  2. สำหรับไก่สาว ให้ผสมกับอาหารไก่ อย่างละครึ่ง แล้วลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลง

 สารอาหารที่สำคัญ

  • โปรตีน  15.3 %
  • ธาตุเหล็กจากดิน

สูตรอาหารไก่โตเร็ว

สำหรับสูตรอาหารไก่โตเร็วมีวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ต้องเตรียม และมีวิธีผสมง่าย ๆ ตามนี้เลยครับ

ส่วนผสมที่ต้องใช้

สำหรับส่วนผสมนี้ประกอบด้วย

  1. กล้วยน้ำว้าตากแห้ง หรือ จะให้ทั้งผลก็ได้
  2. อาหารไก่สำเร็จรูป
  3. อาหารหมู
  4. ใบกระเพรา หรือ สมุนไพรอื่น
  5. ฟ้าทะลายโจร

วิธีการผสมอาหาร

ขั้นตอนการผสมอาหารโดยทำขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผสมอาหารไก่เล็กและอาหารหมูลงเข้าด้วยกัน
  2. ใบกระเพราหั่นละเอียด
  3. ฟ้าทะลายโจรหั่นละเอียด
  4. ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน พร้อมกับกล้วยน้ำว้า

สูตรอาหารไก่พื้นเมือง

สูตรอาหารไก่พื้นเมืองสามารถแบ่งเป็นสองสูตร ซึ่งเหมาะสำหรับ สูตรอาหารที่ตัดแต่งเอง คือ ผสมขึ้นเอง โดยไม่ใช้หัวอาหารผสม และสำหรับคนที่ไม่มั่นใจในสูตรสามารถใช้ หัวอาหารผสมลงไปได้

สูตร 1 สำหรับ 6 สัปดาห์ขึ้นไป

สำหรับสูตรแรก ใช้สำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ที่อายุ  6 สัปดาห์ ถึงจำหน่าย

ข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลักของอาหารไก่

วัตถุดิบประกอบด้วย

  1. ข้าวโพด 68 กก.
  2. รำละเอียด 15 กก.
  3. ปลาป่น 5 กก.
  4. กากถั่วเหลือง 10 กก.
  5. เปลือกหอยป่น 1 กก.
  6. พรีมิกซ์ 1 กก.
  7. สมุนไพร 0.25 กก.

สูตร 2 สำหรับใช้ผสมหัวอาหาร

ส่วนสูตร 2 เป็นอาหารสำเร็จรูปสำหรับไก่พื้นเมือง โดยมีการซื้อหัวอาหารมาใช้ผสม

วัตถุดิบสำหรับผสมอาหาร

ส่วนผสมหลักสำหรับการผสมอาหารสูตร 2 นี้อาจจะใช้หัวอาหารมาเป็นส่วนผสมเพิ่ม

  1. หัวอาหารไก่ 10 กก.
  2. ปลายข้าว ข้าวโพดบด  20 กก.
  3. รำข้าวละเอียด 10 กก.
  4. สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร 0.25 กก.

วิธีการให้อาหารไก่

สำหรับสูตรนี้มีวิธีการให้อาหารดังต่อไปนี้

  1. นำส่วนผสมมาคลุกเค้าให้เข้ากันแล้วนำไปให้ไก่
  2. ควรให้ปริมาณไม่เกิน 1 วัน เพื่อให้อาหารไก่ใหม่อยู่เสมอ
  3. สมุนไพรได้แก่ ขมิ้น ไพล ฟ้าทลายโจร ชนิดผง อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ ช้อนชา

สูตรอาหารไก่เนื้อ

สูตรอาหารไก่เนื้อมีให้เลือกใช้ทั้งหมด 3 สูตรด้วยกัน มีขั้นตอนวิธีการผสมสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ครับ

สูตรที่ 1 มีวัตถุดิบ ดังนี้

  1. ข้าวโพดบด 14 กก.
  2. ปลายข้าว 36 กก.
  3. กากถั่วเหลือง 16 กก.
  4. ปลาป่น 4 กก.
  5. รำละเอียด 60 กก.
  6. พรีมิกซ์ 0.25 กก.
  7. ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต (P 16%) 2.5 กก.
  8. ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต (P 21%) 1 กก.
  9. ไลซีน 0.2 กก.
  10. เมทไธโอนีนและซีสตีน 0.2 กก.
  11. เกลือแกง 0.4 กก.
  12. ใบกระถินป่น 1 กก.
  13. ฟ้าทะลายโจร 0.15 กก.
  14. ขมิ้น 0.05 กก.
  15. ไพล 0.05 กก.

ขั้นตอนการผสม

  1. นำวัตถุดิบทุกอย่างที่บดละเอียด
  2. นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  3. ผสมเสร็จแล้วสามารถนำมาไปเป็นอาหารสำหรับลูกไก่-แม่ไก่ ได้เลยครับ

สูตรที่ 2 มีวัตถุดิบ ดังนี้

  1. ข้าวโพดบด 50 กก.
  2. รำละเอียด 60 กก.
  3. รำโรงสีกลาง (รำหยาบ) 15 กก.
  4. หัวอาหารสุกร 20 กก.
  5. ใบกระถินป่น 1 กก.
  6. ฟ้าทะลายโจร 0.15 กก.
  7. ขมิ้น 0.05 กก.
  8. ไพล 0.05 กก.

ขั้นตอนวิธีการผสมง่าย ๆ เลยครับ

  1. นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  2. สามารถนำไปให้ไก่กินได้เลย

สูตรที่ 3 มีวัตถุดิบ ดังนี้

  1. ปลายข้าว 36 กก.
  2. รำละเอียด 60 กก.
  3. รำโรงสีกลาง (รำหยาบ) 15 กก.
  4. หัวอาหารสุกร 20 กก.
  5. ใบกระถินป่น 1 กก.
  6. ฟ้าทะลายโจร 0.15 กก.
  7. ขมิ้น 0.05 กก.
  8. ไพล 0.05 กก.

ขั้นตอนวิธีการผสมสามารถทำได้ง่าย ๆ

  1. นำวัตถุดิบทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  2. ผสมให้เข้ากันดีแล้วสามารถนำไปให้ไก่กินได้เลยครับ

สูตรอาหารไก่ลดต้นทุน

สำฃหรับสูตรอาหารไก่ลดต้นทุน มีทั้งหมด 3 สูตรด้วยกัน สามารถเลือกนำไปใช้ได้เลย ตามวัตถุดิบที่ผู้เลี้ยงมี หาได้ง่าย และสะดวกนำมาใช้

สูตรที่ 1 มีส่วนผสม ดังนี้

  1. หยวกกล้วย 3 กก. (สามารถใช้กล้วยอะไรก็ได้)
  2. กากน้ำตาล 1 กก. (อาหารจุลินทรีย์)
  3. เครื่องดื่มเอ็มร้อย 1 ขวด
  4. นมเปรี้ยว 1 ขวด

ขั้นตอนการหมักใช้งาน

  1. เลือกใช้ต้นกล้วยที่ไม่แก่มากเกินไป
  2. ซอย หรือ หั่น ให้เป็นชิ้น เป็นแผ่นเล็ก ๆ
  3. จากนั้นนำมาไส่ลงในถังหมักที่เตรียมไว้ แล้วไส่ส่วนผสมที่เหลืองลงไป
  4. ปิดฝาถังให้สนิททิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
  5. หลังจากครบ 7 วันผู้เลี้ยงนำมาให้ไก่กินได้เลย หรือจะผสมกับวัตถุดิบอื่นให้ไก่กินก็ได้

สูตรที่ 2 มีส่วนผสม ดังนี้

  1. แกลบ 5 กก.
  2. กากน้ำตาล 1 กก.
  3. รำ 0.5 กก.

ขั้นตอนการหมักใช้งาน

  1. นำแกลบ กากน้ำตาล รำ ผสมให้เข้ากัน
  2. จากนั้นนำมาไส่ถังทิ้งไว้ โดยที่ไม่ต้องปิดฝาถัง
  3. หมักทิ้งไว้ 5 วัน จะเห็นว่ามีหนอนสีขาวเกิดขึ้น ให้ปิดฝาถังหมักไว้
  4. ปล่อยทิ้งไว้ให้หนอนโตก็สามารถนำเอาไปเลี้ยงไก่ได้เลยครับ

วัตถุประสงค์สำหรับสูตรนี้

เพื่อให้มีหนอนเกิดขึ้นกับอาหารที่ผู้เลี้ยงหมักทิ้งไว้ แล้วนำหนอนที่เกิดขึ้นไปเลี้ยงไก่

สูตรที่ 3 มีส่วนผสม ดังนี้

  1. หยวกกล้วยสับละเอียด 2 กก.
  2. ปลายข้าว 0.5 กก.
  3. รำละเอียด 0.5 กก.
  4. ข้าวเปลือก 1 กก.
  5. ขี้เค้กปาล์ม 1 กก.
  6. กากน้ำตาล 1 ลิตร
  7. EM จุลินทรีย์ 0.1 ลิตร

อุปกรณ์

  1. กระบะผสมอาหาร
  2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการผสม เช่น จอบ พลั่ว

ขั้นตอนการผสม

  1. สับ หรือหั่นหยวกกล้วยให้ละเอียดแล้วไส่ลงไปในกระบะผสม
  2. ไส่ข้าวเปลือกลงไปแล้วผสมให้เข้ากัน
  3. ตามด้วยขี้เค้กที่เตรียมไว้แล้วผสมให้เข้ากัน
  4. จากนั้นตามด้วยกากน้ำตาลแล้วผสมให้เข้ากัน
  5. นำรำละเอียด และปลายข้าวที่เตรียมไว้ลงไปแล้วผสมให้เข้ากัน
  6. ขั้นตอนสุดท้ายนำ EM จุลินทรีย์ ไส่ลงไปแล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน
  7. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วสามารถนำไปให้ไก่กินได้เลยครับ

วิธีการนำอาหารผสมเองไปให้ไก่กิน

  • ไก่พร้อมไข่ สามารถนำมาผสมกับอาหารไก่สำเร็จรูปในอัตราส่วน 1:3 อาหารทำเอง 1 ส่วน ต่อ อาหารสำเร็จรูป 3 ส่วน
  • ไก่สาว ผสมกับอาหารไก่สำเร็จรูปครึ่งต่อครึ่งจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดปริมาณอาหารสำเร็จรูปลงเรื่อย ๆ

สูตรอาหารรักษา และป้องกันโรคในไก่

สูตรอาหารรักษา และป้องกันโรคมีด้วยกัน 2 สูตร ซึ่งสองสูตรนี้สามารถป้องกัน และรักษาโรค อหิวาต์/นิวคาสเซิล/ฝีดาษ ฯลฯ ในไก่ได้

สูตรที่ 1 มีส่วนผสม ดังนี้

  1. บอระเพ็ด 1 กก.
  2. ฟ้าทะลายโจร 1 กก.
  3. กระเทียม 0.5 กก.
  4. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ให้นำน้ำตาลทรายแดงมาเคี่ยว (ไม่ต้องใส่น้ำ) 0.5 กก.ก่อน
  2. จากนั้นก็ผสมกับส่วนผสมอื่น ๆ ที่เตรียมไว้ หมักทิ้งไว้ 30 วัน
  3. จากนั้นก็นำไปให้ไก่ไก่กินโดยตรง (ประมาณ 1 ช้อนชา) หรือจะผสมน้ำให้ไก่กินก็ได้ (อัตราส่วน น้ำ 5 ลิตร ต่อ ยา 1 ช้อนแกง) กินได้ทั้งไก่ไข่ ไก่เนื้อ

สูตรที่ 2 มีส่วนผสม ดังนี้

  1. ฟ้าทะลายโจร 1 กก.
  2. น้ำตาลทรายแดง 1 กก.
  3. โทงเทง 1 กก.
  4. น้ำเปล่า

ขั้นตอนการหมัก

  1. นำฟ้าทะลายโจร น้ำตาลทราย โทงเทง มาผสมให้เข้ากันกันในอัตราส่วน 1:1:1
  2. เติมน้ำลงไปให้พอท่วม ใส่ภาชนะที่มีฝาปิด
  3. หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน
  4. นำมาใช้ผสมกับอาหารให้ไก่กินได้เลย ช่วยให้ไก่มีสุขภาพที่ดี และลดอัตราการเกิดโรค

รูปแบบของอาหารไก่มี 2 แบบ

●     แบบผง

คืออาหารที่วัตถุดิบถูกบดละเอียด ส่วนใหญ่แล้วจะเหมาะสำหรับลูกไก่มากที่ครับ เนื่องจากลูกไก่อายุน้อยนั้นระบบย่อยอาหารเพิ่งเริ่มทำงานทำให้ย่อยง่าย แล้วอีกอย่างปากของลูกไก่ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะจิกกินอาหารแบบทั่ว ๆ ไปได้

แต่อย่างไรก็ตามอาหารแบบผงเองก็สามารถนำเป็นอาหารให้ไก่ได้ทุกช่วงวัยครับ โดยการนำไปผสมกับน้ำร้อนเพื่อให้เนื้อสัมผัสที่คล้ายกับโจ๊กซึ่งนี่ก็เป็นเนื้อสัมผัสที่ไก่ส่วนใหญ่ชอบนั่นเอง

●     แบบเม็ด

อาหารเม็ดคืออาหารที่เรามักจะเห็นว่ามีขายกันอยู่ทั่ว ๆ ไปค่ะ มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และอาจย่อยได้ยากจึงเหมาะสำหรับไก่ที่โตเต็มวัยมากกว่าครับ ข้อดีของอาหารประเภทนี้คือสะดวกต่อเจ้าของฟาร์มหรือเจ้าของไก่ในการให้อาหารและยังสะดวกต่อการเก็บรักษาอีกด้วยครับ

การอัดเม็ดอาหารไก่

เมื่อเทียบคุณค่าทางอาหารเท่ากัน ในอัตราการกินที่เท่ากัน เช่นอาหาร 100 กรัม เท่ากัน แบบอักเม็ด กับไม่อัดเม็ด (แบบผง) แบบอัดเม็ดจะมีการย่อย การดูดซึม ของอาหารดีกว่า เพราะเป็นอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ผ่านความร้อนแรงดันในยการอัดเม็ด

หลังจากอัดเม็ดเสร็จแล้วยังมีการสุ่มตรวจ เพื่อหาโปรตีนและแร่ธาตุต่าง ๆ ความต้องการของไก่เพื่อให้เพียงพอไม่ให้ขาด

ทำไมไก่กินอาหารเม็ดแล้วชอบขาอ่อน?

เวลาไก่กินอาหารเม็ดแล้วไก่จะชอบขาอ่อนขาไม่มีแรง เพราะแหล่งแคลเซียมเหลือค่อนข้างน้อย ไก่ขาอ่อนเยอะ เพราะอาหารอัดเม็ดที่กินเข้าไปย่อยง่ายและอาจถูกขับทิ้งจากร่างกายทางปัสสาวะไวจนเกินไปโดยเฉพาะเล้าเปิดที่ไม่สามารถความคุมอุณหภูมิได้ ถ้าเจอช่วงอากาศร้อนแม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว

การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่แม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ อาจส่งผลทำให้ไก่ขาดแคลเซียมเปลือกไข่จะบางได้ครับ อาหารเม็ดนิยมใช้ในเล้าที่เลี้ยงเล้าระบบปิด มีการควบคลุมอุณหภูมิ

ปัญหาไก่ขาอ่อน บางฟาร์มถ้าไก่อายุมากขึ้นจำเป็นต้องเสริมแคลเซียมเรื่องกระดูก เปลือกบาง ก็จะซื้อหินเกล็ดมาโรยให้ไก่กินโดยเฉพาะราคาไม่แพงครับ

อาหารไม่อัดเม็ด (แบบผง)

ส่วนแบบผงคือวัตถุดิบนำมาผสมกันแล้วกรอกถุง แคลเซี่ยมหลัก ๆ คือหินเกล็ดในสูตรอาหารไก่ไข่สำเร็จแบบผงในปัจจุบันหินเกล็ดจึงมีลักษณะเม็ดใหญ่เพื่อช่วยทำให้ลดการสลายตัวของแคลเซียม ช่วยในการย่อยอาหารเนื่องจากไก่ไม่มีฟันบดเคี้ยว

จะเห็นได้ว่าเมื่อผ่าดูกระเพาะพักจะมีเห็นหินเกล็ดอยู่จำนวนมากในอาหารสำเร็จแบบผงจะมีหินเกล็ดอยู่มากแก้ปัญหาไก่ขาอ่อนได้ดี อยู่ที่สูตรอาหารแต่ละบริษัท นิยมใช้กับไก่ที่เลี้ยงกรงตับแบบเปิดและเลี้ยงปล่อยค่ะ

เมื่อสารอาหารครบคุณภาพดีตามความต้องการของไก่ก็ย่อมได้ผลผลิตที่ดี ทั้งคุณภาพภายในไข่และคุณภาพภายนอก

 

เครื่องอัดเม็ดทำเอง

ประโยชน์ของอาหารอัดเม็ดที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ อาหารอัดมีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ ในด้านการแลกเนื้อและเพิ่มน้ำหนัก

ทำไมต้องทำอาหารอัดเม็ด?

จำเป็นด้วยเหรอที่ต้องอัดเม็ด เพราะถึงแม้ว่าไม่อัดเม็ด ไก่ก็กินดีอยู่แล้ว ถ้าผู้เลี้ยงหรือขุนไก่ตัวเดียว การเทอาหารข้นผงลงไปและให้มันกินตัวเดียว ในภาชนะใส่อาหารนั้น ๆ ไก่ของผู้เลี้ยงกินอาหารหมดตัวเดียว ก็ดีไป เพราะจะไม่มีปัญหาการเลือกกินวัตถุดิบ

ประเด็นคือ การเทอาหารข้นผงที่ผสมจากวัตถุดิบหลายๆตัวให้ไก่หลาย ๆ ตัวกินรวมกัน มันอาจจะเกิดปัญหาการเลือกกินอาหารทำให้ไก่ของผู้เลี้ยงได้รับสารอาหารไม่เท่ากัน และมีการเจริญเติบโตหรืออัตราแลกเนื้อในระยะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน

ประเด็นหลักใหญ่ๆคือ อาหารที่อัดเม็ดแล้ว จากวัตถุดิบที่เป็นผงจากหลาย ๆ วัตถุดิบ จะลดการฟุ้งเวลาไก่กินและช่วยให้ไก่กินได้เร็วและกินได้มากขึ้น

ที่สำคัญมาก ๆ คือ การย่อยสารอาหารที่สัมพันธ์กันระหว่างโปรตีน และพลังงานจากพวกคาร์โบไฮเดรตเมื่อสารอาหารที่เป็นแบบละเอียดแต่ถูกอัดเม็ด แล้วไก่กินเข้าไป การย่อยจะเป้นแบบไม่ย่อยเร็วไป คาร์บอน จากคาร์โบไฮเดรต จะรวมตัวกับกรดอมิโน ในการดูดซึมไปใช้งานและนำไปสร้างเป็นโปรตีนได้อย่างพอเหมาะพอดี

ทั้งในด้านการสร้างกล้ามเนื้อและการเจริญนเติบโตในด้านอื่น ๆและโภชนาการทั้ง โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ ที่มีอยู่ในเม็ดอาหาร ที่ค่อนข้างไม่ต่างกันมากในแต่ละเม็ด เมื่อสัตว์กินได้เร็ว และหรือมากในระยะเวลาอันสั้นในแต่ละวัน อัตราการแลกเนื้อ จากการได้รับโภชนาการที่สูง ไก่จะโตเร็วหรืออ้วนเร็ว หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วมาก ๆ

ไก่ไข่ กับอัตราการให้ไข่ก็เช่นกัน ถ้าเป็นอาหารอัดเม็ดจะส่งผลด้านผลผลิตมากกว่าครับ แต่ก็ต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพหรือโภชนาการอาหารที่เพียงพอเหมาะสมกับความต้องการของไก่

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารอาหารไก่

โปรตีน

คือสารอาหารที่ถือได้ว่ามีความสำคัญกับไก่ไข่ค่อนข้างมาก เพราะโปรตีนช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต, การผลิตไข่, ช่วยเรื่องภูมิต้านทาน และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นแล้วโปรตีนจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

แคลเซียม

เปลือกไข่นั้นประกอบด้วยแคลเซียมประมาณ 90% ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งสาเหตุที่แคลเซียมจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในอาหารไก่ไข่ หากว่าแม่ไก่วางไข่วันเว้นวัน แม่ไก่ก็มีความต้องการแคลเซียมมากเพื่อสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรง

ดังนั้นแล้วแคลเซียมยังจำเป็นต่อร่างกายของแม่ไก่มาก ๆ ค่ะ นอกจากนี้แคลเซียมก็ยังมีหน้าที่ช่วยในการทำงานอื่น ๆ มากมาย อย่างเช่นช่วยในเรื่องของกระดูก, ช่วยในการแข็งตัวของเลือด และอื่น ๆ

วิตามิน

ในไก่เองก็ต้องการวิตามิน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะได้แก่ วิตามิน A, E, D3 และวิตามิน B12 บวกด้วยธาตุแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างเช่น ฟอสฟอรัสและคอปเปอร์ซัลเฟต

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตเกือบทั้งหมดที่ไก่ได้รับส่วนใหญ่แล้วจะมาจากธัญพืช เมล็ดพืชเล็ก ๆ ซึ่งก็รวมถึงข้าวโพดและข้าวโอ๊ต คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญในการให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศหนาว

อื่น ๆ

สำหรับอาหารบางประเภทอาจจะมีส่วนผสมอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา อย่างเช่น โอเมก้า 3 โดยส่วนที่เพิ่มเข้ามานี้จะเพิ่มจำนวนโอเมก้า 3 ของไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพมากขึ้นและมีประโยชน์