กุ้งก้ามกรามในประเทศไทยพบแทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด กินไส้เดือน, ตัวอ่อนของลูกน้ำ, ลูกไร, ลูกปลาขนาดเล็ก, ซากของสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหาร ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ
ทำไมถึงเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เลี้ยงเพื่ออะไร
กุ้งก้ามกราม มีความยาวของลำตัวประมาณ 13 ซม. พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต มีน้ำหนักประมาณ 1 กก. ลักษณะทั่วไป มีเปลือกสีเขียวอมสีฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง บางคนนำมาเลี้ยงสวยงามด้วย
ทำไมถึงเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพราะว่ากุ้งก้ามกรามถูกนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างอาชีพที่ดี อีกอาชีพหนึ่ง เพราะด้วยรสชาติที่อร่อย มีเนื้อมาก และแน่น มัน ทำให้มีราคาแพงสม่ำเสมอ นิยมมาประกอบอาหารสามารถทำได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มยำ เผา หรือทอด เป็นต้น
รูปภาพ : เมนูอาหารจากกุ้งก้ามกราม
ด้วยราคาที่แพงสม่ำเสมอมา และเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากมีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ปัจจุบันจึงมีการนิยม เลี้ยงเพื่อ จำหน่าย สร้างอาชีพที่ได้กำไรงามแก่เกษตรกร
ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
- คุณภาพดิน : ควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วน จะช่วยในการเก็บกักน้ำได้ดี และคันดินไม่พังทลายง่าย ระวังดินจะเป็นดินเปรี้ยวจัด เพราะเมื่อ เก็บกักน้ำจะทำให้น้ำเป็นกรด ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงและอาจ ส่งผลให้กุ้งตายหมด
- คุณภาพน้ำ : ควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี ของเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลงของเสียจากโรง เลี้ยงสัตว์และอื่น ๆ ควรมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการสูบน้ำใช้ตลอด ทั้งปี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำส่งเข้าปอเลี้ยงได้โดยไม่ต้องสูบน้ำจะช่วย ลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี
- แหล่งพันธ์กุ้ง : พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ในบริเวณที่ไม่ห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้งก้ามกราม ทำให้สะดวดในการจัดหาพันธุ์ และการลำเลียงขนส่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพกุ้งด้วย
- สาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหารผลผลิต การเตรียมอาหารหรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อ
- ตลาด : หากอยู่ใกล้ตลาดจะช่วยให้ได้เปรียบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ขั้นตอนการดำเนินงาน
ปัญหาที่พบและวิธีแก้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
- น้ำเน่าเสีย เนื่องจากอาหารเหลือมากเกินไป ควรควบคุมอาหารให้ดีพอ แก้ไขโดย การสูบน้ำดีไล่น้ำเสียออกไปทางท่อทิ้งน้ำที่เตรียมไว้ ให้ไหลไปลงในบ่อบําบัดน้ำเสียแล้วค่อยนำกลับมาใช้ใหม่
- ฝนตกหนัก น้ำฝนมีความเป็นกรด (H2CO3) ฉะนั้นก่อนฝนตกหรือ ย่างเข้าฤดูฝน ควรสูบน้ำเข้าบ่อให้ถึงระดับพอที่จะไหลออกทางท่อน้ำล้นได้ (ท่อน้ำทิ้ง) เมื่อ ฝนตกน้ำฝนจะไหลออกไปทางท่อน้ำล้นเอง ควรตรวจสอบความเน่าเสียของน้ำบ่อย ๆ และวัดอุณหภูมิบ่อย ๆ เพราะ แสงแดดทําให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อกุ้งหรือไม่ ถ้ากระทบให้เพิ่มระดับน้ำ ขึ้นหรือใช้ระบบน้ำวนถ่ายเทเข้าช่วย
- คุณภาพอาหาร อาหารที่ดีควรอยู่ได้ถึงโดยที่ยังไม่ละลายไปกับน้ำ 6 ซม. (วิธเช็คแช่น้ำในแก้วดูว่าอยู่ได้กี่ ชม.)
การเตรียมตัวก่อนเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสำหรับมือใหม่
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทำได้หลายวิธี เช่น เลี้ยงในกระชัง เลี้ยงในคอกเฝือก หรือที่ล้อมขังในร่องสวน และในบ่อ แต่ถ้าจะเลี้ยงให้ได้ผลจริงจังแล้ว ควรเลี้ยงในบ่อดิน ในการพิจารณาสถานที่ที่จะเลี้ยงกุ้ง จึงต้องพิจารณาจาก
- หาแหล่งน้ำ ที่มีอยู่ใกล้ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำธาร คลองที่มีน้ำไหลผ่านตลอดปี
- น้ำนั้นจะต้องมีคุณภาพดี มีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง 7.5 – 8.5 ปลอดสารพิษ จากโรงงานอุตสาหกรรม
- ดินจะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้ ไม่ควรเป็นดินทราย หรือดินที่มีทราย เกินกว่าร้อยละ 30 เพราะจะมีปัญหาในการเก็บกักน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งถ้าจะแก้ไขจะต้องลงทุนสูง
วิธีเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมือใหม่
เริ่มต้นจากการเตรียมบ่อ
รูปภาพ : แสดงการแช่ต้นกล้วยในวงบ่อปูน
- บ่อควรตั้งไว้ในที่ร่มมีหลังคากันแดดกันฝน
- เติมน้ำลงในบ่อจนเต็ม ใส่เกลือเล็กน้อย
- ต้นกล้วยลงไปแช่ไว้ประมาณ 7-14 วัน (ต้นกล้วยช่วยปรับค่า PH ในบ่อให้สมดุล ชะล้างฝุ่นผงปูนและสารตกค้างที่เคลือบอยู่ตามผิวของปูนออก ส่วนเกลือนั้นช่วยกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ในบ่อ)
- หลังจากแช่น้ำต้นกล้วยครบตามกำหนดวันแล้ว ให้ถ่ายทิ้งแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
การเตรียมน้ำในบ่อสำหรับเริ่มเลี้ยง
รูปภาพ : แสดงการเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้ง
- เติมน้ำลงไปหว่านเกลือให้ทั่วบ่อ
- นำท่อ PVC จัดวางลงไปในบ่อสำหรับเป็นที่หลบและที่อยู่อาศัยของกุ้ง
- หาอิฐ หิน และ กระเบื้อง มาวางให้สูงพอพ้นผิวน้ำเล็กน้อย สำหรับให้กุ้งขึ้นมาลอกคราบ
- นำหัวทรายให้ออกซิเจนไปวางไว้ที่มุมบ่อทั้งสี่มุม ปล่อยน้ำไว้ 48 ชั่วโมง ก่อนปล่อยพันธุ์กุ้งลงบ่อ
การคัดลือกพันธุ์กุ้ง
- ใช้ลูกกุ้งขนาดประมาณ 5 ซม. ลูกกุ้งไซด์นี้มีอัตราการเลี้ยงรอดที่สูงกว่า ถ้าขนาดเล็กกว่านี้อัตราการรอดจะน้อย
- พันธุ์กุ้งที่ดีควรมีการว่ายน้ำ ปราดเปรียว แข็งแรง
- สำหรับบ่อขนาด 3×5 เมตร จะปล่อยลูกกุ้งขนาด 5 เซน ประมาณ 200-300 ตัว/บ่อ
การปล่อยกุ้งลงบ่อ
- ทำตอนที่สภาพอากาศไม่ร้อนเกินไป เช่น ช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็น
- นำพันธุ์กุ้งมาแช่ลงน้ำทั้งถุง ประมาณ 30 นาที ให้อุณหภูมิน้ำในถุงกับในบ่อใกล้เคียงกัน
- ค่อย ๆ วิดน้ำในบ่อมาผสมในถุงที่บรรจุลูกกุ้งอยู่ทีละน้อยแล้วค่อยปล่อยกุ้งลงบ่อ
เพื่อไม่ให้กุ้งน็อคตอนปล่อยลงบ่อ ในวันแรกที่ปล่อยไม่ต้องรีบให้อาหารกุ้ง ค่อยให้ในวันถัดมา สำหรับอาหารที่ใช้เลี้ยงลูกกุ้งในช่วงแรก ให้อาหารสำเร็จนรูปสำหรับลูกกุ้ง หว่านรอบ ๆ บ่อ ควรให้ช่วงเย็นหรือหัวค่ำ เพราะกุ้งเป็นสัตว์ขี้อายไม่ค่อยออกมาช่วงกลางวัน (อย่าให้อาหารเยอะจนกุ้งกินไม่หมด เพราะจะทำให้น้ำเน่า)
กุ้งก้ามกรามใช้น้ำอะไรเลี้ยง การเตรียมน้ำเลี้ยงกุ้ง
การเตรียมน้ำในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามใช้ “น้ำจืด” น้ำจืดทุกที่ทุกน้ำใช้เลี้ยงได้หมด เช่น น้ำคลอง น้ำแม่น้ำ เวลาในการเลี้ยง 8-10 เดือน มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 7 วัน ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ประสบความสําเร็จจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องปริมาณน้ำคุณภาพของน้ำ
ปัจจุบันการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบ่อเก็บน้ำหรือบ่อพักน้ำก่อนจะนําน้ำมาใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม น้ำทุกแหล่งที่มา ควรพักน้ำอย่างน้อย 7 วัน ก่อนนําน้ำมาเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ขั้นตอนในการเตรียมน้ำเพื่อใช้ในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบ่งได้ดังนี้
- สูบ และ กรอง น้ำเข้าบ่อพัก ควรสูบน้ำจาก แหล่งน้ำธรรมชาติเข้าพักในบ่อพักน้ำ อย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้น้ำตกตะกอน
- การสูบน้ำจากบ่อพักเข้าบ่อเลี้ยง หลังจากพักน้ำในบ่อพักน้ำครบ 7 วัน ทําการสูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยง โดยมีผ้ากรองน้ำทุกครั้ง สูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยงให้ได้ระดับความลึก 60-80 ซม. เมื่อสูบน้ำเข้าบ่อควรพักน้ำไว้ 3-5 วัน เพื่อให้น้ำปรับสภาพพร้อมกับการทําสีน้ำไปด้วย
- การเตรียมน้ำและสีน้ำก่อนปล่อยกุ้งก้ามกราม น้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามควรมีระดับความโปร่งแสง 35-40 ซม.เป็นผลจากการเจริญเติบโตของแพลงค์ตอนพืช
- การทําสีน้ำสามารถทําได้โดยหลังจากสูบน้ำเข้าบ่อแล้ว ใช้ปุ๋ยเคมี (สูตร 15-15-15) 3 กก., ปลาป่น 1.5 กก., รำละเอียด 1.5 กก. อัตราส่วนนี้สามารถใช้ได้ 1 ไร่ น่าส่วนผสมทั้ง 3 ละลายน้ำแล้ว สาดให้ทั่วบ่อ 3-5 วัน น้ำจะเป็นสีเขียวอ่อน หรือ เขียวอมเหลือง แสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติ ซึ่งเป็นอาหารของลูกกุ้งก้ามกราม
การตรวจวัดคุณภาพน้ำทางเคมี
ความเป็นกรดเป็นด่าง ในรอบวัน (พีเอช : pH) อยู่ระหว่าง 7.8-8.3 ค่า อัลคาไลนิตี้ อยู่ระหว่าง 80-120 ppm. ออกซิเจน 5-10 ppm. แอมโมเนียและไนไตรท์ต้องต่ำกว่า 0.1 ppm. น้ำลักษณะเช่นนี้พร้อมที่จะปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงต่อไป
กุ้งก้ามกรามเลี้ยงกี่วันกี่เดือน
ระยะเวลาเลี้ยงกุ้งขึ้นอยู่กับขนาดที่ตลาดต้องการ โดยทั่วไปหลังจากเลี้ยงกุ้ง ก้ามกรามได้ประมาณ 4-6 เดือนก็เริ่มคัดขนาดและจับกุ้งบางส่วนขายได้แล้ว และทยอยจับเดือนละครั้ง และจับทั้งหมดเมื่อเห็นว่ากุ้งเหลือน้อย รวมระยะเวลาการ เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 8 – 12 เดือน
การจับกุ้งให้ได้ผลดีควรลดระดับน้ำในบ่อเหลือประมาณ 50 ซม. แล้ว ใช้อวนลาก โดยใช้อวนช่องตาขนาด 4 ซม. เพื่อให้กุ้งมีขนาดเล็กหลุดรอด ออกได้และลดการบอบช้ำ การจับกุ้งนิยมทำในช่วงเช้าเพราะอากาศไม่ร้อน
วิธีเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อขนาดใหญ่
วิธีที่ 1
- นําลูกกุ้งที่คว่ำแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และได้รับการปรับสภาพ ให้อยู่ในน้ำจืดอย่างน้อย 1-2 วัน ไปอนุบาลในบ่อดินโดยใช้อัตราปล่อยประมาณ 80,000 – 160,000 ตัวต่อไร่
- อนุบาลนานประมาณ 2 – 3 เดือน จึงได้กุ้งขนาด 2 – 5 กรัม ต่อตัว (โดยปกติการอนุบาลในระยะนี้จะมีอัตรารอดประมาณ 40-50% )
- จากนั้นจึงย้ายไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกุ้งโต โดยปล่อยในอัตรา 20,000 – 30,000 ตัว ต่อไร่ หลังจากเลี้ยงในบ่ออีกประมาณ 4 เดือน ก็ทยอยจับกุ้งบางส่วนที่โตได้ขนาด ขายเดือนละครั้งและจับหมดทั้งบ่อเมื่อเลี้ยง 6-10 เดือนขึ้นไป
ข้อดี คือ อัตรา รอดจะสูงไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากลูกกุ้งที่ผ่านการอนุบาลมาแล้วจะ แข็งแรงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงได้ดี
ข้อเสีย คือ ต้องใช้ แรงงานในการเคลื่อนย้ายกุ้งจากบ่ออนุบาลไปลงบ่อเลี้ยง
วิธีที่ 2
- นําลูกกุ้งที่คว่ำแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และได้รับการปรับสภาพให้ อยู่ในน้ำจืดอย่างน้อย 1-2 วัน
- ปล่อยลงบ่อเลี้ยงโดยตรงในอัตราประมาณ 40,000 – 60,000 ตัวต่อไร่
- จากนั้นประมาณ 6-10 เดือนขึ้นไปจึงทยอยจับกุ้งที่โตได้ขนาด ขายและทยอยจับเดือนละครั้ง จนเห็นว่ามีกุ้งเหลือน้อยจึงจับหมดบ่อ
ข้อดี คือ ไม่ต้องใช้แรงงานในการเคลื่อนย้ายลูกกุ้ง
ข้อเสีย คือ ลูกกุ้งที่ขนส่งเป็นเวลานาน อ่อนแอและตายในขณะขนส่ง หรือหลังจากปล่อยลงบ่อได้ไม่นานปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อไม่ได้ ทำให้อัตรารอดน้อย และมีผลเสียต่อการคํานวณปริมาณอาหารที่จะให้ แต่ถ้ามีการขนส่งที่ดีและลูกกุ้งแข็งแรง การเลี้ยงวิธีนี้โดยปกติจะมีอัตรารอดประมาณ 50-60%
วิธีเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้โตเร็ว
การเตรียมบ่อ
- เริ่มจากการเตรียมบ่อที่ดี กรณีบ่อมีเลนมาก ให้ปาดเลนออกก่อน
- หว่านปูนขาว 80-100 กก. ต่อไร่ ทั่วพื้นบ่อเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ตากบ่อประมาณ 1 สัปดาห์ ให้เปลี่ยนจากสีดำให้เป็นสีเทา เพื่อจะย่อยสลายขี้กุ้ง
- ปล่อยน้ำเข้าบ่อ พร้อมปล่อยลูกกุ้ง ขนาด 5-7 เซนติเมตร จำนวน 10,000-12,000 ตัว ต่อไร่
- หลังจากอนุบาลได้ 2 เดือน จะมีอัตราการรอด 50-60% ลูกกุ้ง 100,000 ตัว
การให้อาหาร
- ให้ 3 เวลา เช้า เที่ยง และเย็น
- กรณีอาหารของกุ้งที่อยู่ในช่วงอนุบาล ใช้อาหาร สำหรับกุ้งช่วงอนุบาล (อาหารผง) ผสมกับไข่แดงคั่ว หมักร่วมกับหัวอาหารนาน 10 นาที เสริมวิตามินรวม และสารชวนกิน ให้กินเป็นระยะเวลา 1 เดือน
- ต่อมาเปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ตามอายุตามขนาดไซส์กุ้ง (อาหารเกล็ด) ให้ระยะเวลา 2 เดือน พร้อมกระจายกุ้งลงไปแต่ละบ่อ
- จากนั้นเปลี่ยนอาหารเป็นอาหาร เบอร์ตามอายุตามขนาดไซส์กุ้ง (อาหารเม็ด) โดยให้แต่ละบ่อ ระยะเวลา 2 เดือน
หากน้ำในบ่อมีลักษณะสีเขียวเข้ม ต้องรีบถ่ายน้ำออกบางส่วน เพื่อเติมน้ำใหม่เข้าไป พร้อมกันนั้นจะต้องกำจัดวัชพืชคันบ่อด้วย
นอกจากนี้ จะต้องเติมอากาศ หรือเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในบ่อด้วย โดยการใช้รถไถต่อเข้ากับอุปกรณ์สูบน้ำ และใช้ปั๊มลง เวลาการให้อากาศมีหลายช่วงคือ 05.00-08.00 น. 13.00-15.00 น. และเวลา 18.00-22.00 น.
เลี้ยงกุ้งก้ามกรามไม่ใช้ออกซิเจน
เลี้ยงกุ้งไม่ใช้ออกซิเจนได้ไหม? หลายคนสงสัยและหาคำตอบว่าเลี้ยงกุ้งก้ามกรามไม่ใช้ออกซิเจนได้ไหม คําตอบ คือ “ได้” ในกรณีที่เลี้ยงบ่อดิน เลี้ยงปล่อยธรรมชาติ ไม่มีออกซิเจนก็ได้
แต่จํานวนกุ้งต้องไม่เยอะจนเกินไป ถ้ากุ้งเยอะจนเกินไปจะทำให้…
- อากาศไม่พอ
- กุ้งเกิดอาการเครียด
- กุ้งจะกินกันเอง
- น้ำเสียน้ำเน่าได้ง่าย
การเลี้ยงกุ้งแบบไม่ใช้ออกซิเจน จะเน้นถึงความสะอาดของน้ำเป็นหลักเพราะ การเลี้ยงในแบบแบบธรรมชาติโดยเราจะสร้างสิ่งแวดล้อมในบ่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาหารและที่สำคัญเลยคือ คุณภาพของน้ำ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ น้ำต้องสะอาดอยู่ตลอดเวลา อย่าปล่อยให้น้ำมีกลิ่นเด็ดขาด
อุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งแบบไม่ใช้ออกซิเจน
- บ่อสำหรับเลี้ยงกุ้ง
- ที่หลบซ่อนให้กุ้ง เช่น กระเบื้อง ท่อพีวีซี ยิ่งรกยิ่งรอด ที่ปีนป่าย กระเบื้องที่เราวางซ้อนกัน เพื่อให้กุ้งได้ปีนมารับออกซิเจนด้านบน เพราะเลี้ยงแบบไม่ใช้ออกซิเจน จะเน้นออกซิเจนจากธรรมชาติเป็นหลัก
- พืชน้ำจากธรรมชาติ
สรุป คือ การเลี้ยงกุ้งไม่ใช้ออกซิแจน สามารถเลี้ยงได้เหมือนที่ใช้ออกซิเจนเลยครับ จะเลี้ยงบ่อปูน บ่อดิน บ่อผ้าใบ สามารถเลี้ยงได้หมด แต่จํานวนที่จะเลี้ยงได้จะน้อยกว่า แบบใช้ออกซิเจนช่วย จำนวนกุ้งต้องไม่หนาแน่นจนเกินไป ไม่ต้องมีออกซิเจนก็ได้ครับ การเลี้ยงวิธีนี้ข้อควรระวังที่สุด คือ คุณภาพของน้ำครับ
วิธีเลี้ยงลูกกุ้งก้ามกราม
การฟักลูกกุ้ง
- คัดแม่กุ้งจากบ่อทั่วไป ลักษณะที่โตเร็ว หัวเล็กเรียวปล้องยาวนําไปเลี้ยงในฟักที่จัดเตรียมไว้ (บ่อซีเมนต์ขนาด 2.00 ม.+2.00 ม. สูง 0.80 ม.)
- เมื่อแม่กุ้งมีไข่ นําไปใส่บ่อฟักกุ้งอีกบ่อหนึ่ง (บ่อซีเมนต์ถัดไป) ประมาณ 2 กก. พร้อมตัวผู้ ลักษณะที่จํานวนเท่า ๆ กัน รักษาระดับน้ำในบ่อ 0.40 ม.
- เมื่อกุ้งวางไข่เสร็จแล้ว แยกแม่กุ้งและพ่อพันธุ์กุ้งออกไปไว้บ่อเดิม
- คอยดูกุ้งเล็กให้คว่ำให้หมด (ระยะกุ้งคว่ำประมาณ 15 วัน – 18 วัน)
- เมื่อลูกกุ้งคว่ำหมดแล้ว ให้อาหารลูกกุ้งคืออาร์ทีเมีย ไข่ตุ๋น อาหารสําเร็จสําหรับลูกกุ้งวัย อ่อนอนุบาลลูกกุ้งที่ระดับ 100,000 ตัว/ลบ.ม
- หลังจากลูกกุ้งคว่ำแล้ว 7 วัน ย้ายลงบ่ออนุบาล บ่อดินทั้งหมด
การเตรียมบ่อและเตรียมน้ำ
รูปภาพ : การเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้ง
- การอนุบาลลูกกุ้งในบ่อดิน
- ตากบ่อให้แห้งเอาเลนก้นบ่อออก (สําหรับบ่อเก่า)
- สูบน้ำจากบ่อน้ำที่เข้าบ่อระดับ 0.50 ม. หว่านปูนโดโลไมท์ 2.5 กก./ไร่ กลางวัน
- สร้างสีนํ้าและสัตว์หน้าดิน
การสร้างสัตว์หน้าดินและอาหารธรรมชาติ
- ปุ๋ยสูตร 15-20-0 ไร่ละ 2 กก. ผสมอาหารเบอร์ 1 ไร่ละ 2 กก. รำละเอียดไร่ละ 2 กก. ผสมน้ำ 10 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 คืน
- สาดให้ทั่วบ่อ (ก่อนสาดอาจผสมน้ำได้อีก เพื่อจะได้ทั่ว ๆ) ทิ้งไว้จนเกิดสัตว์หน้าดิน เมื่อเกิดสัตว์หน้าดินแล้ว นําลูกกุ้งลงไปใส่ การใช้ลูกกุ้งห้ามเท และใส่ให้รอบบ่อ
- การปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ
- วัดค่า pH ให้อยู่ระหว่าง 7.5 8.5 (เช้าไม่ต่ำกว่า 7.5 บ่ายไม่เกิน 8.5) – ปล่อยลูกกุ้งขณะที่มีแสงแดด วัดอุณหภูมิในบ่อดิน และบ่อฟักให้เท่ากัน ถ้า อุณหภูมิในบ่อดินให้รอแสงแดดก่อน เมื่ออุณหภูมิเท่ากันแล้วค่อยปล่อย
คุณภาพน้ำมีความสําคัญ
- pH เช้าไม่ต่ำกว่า 7.5 ถ้า pH ต่ำกว่านี้อัตราการรอดต่ำ
- pH บ่ายไม่สูงกว่า 8.5 ถ้า pH สูงกว่านี้ส่งผลให้กุ้งโตช้า เปลือกลาก ไม่ลอกคราบ มีชูแทมเนียมเกาะตามเปลือก
การให้อาหาร
- เดือนแรกให้วันละ 4 มื้อ (6.00 น., 12.00 น., 16.00 น., 20.00 น.) ลูกกุ้ง 100,000 ตัว ให้อาหาร 1 กก./วัน (1 กก. แบ่งเป็น 4 มื้อ)
- เดือนที่ 2 เป็นต้นไป ให้วันละ 3 มื้อ (6.00 น., 12.00 น., 16.00 น.)
- การให้ใช้เครื่องพ่นออกไป ให้ทั่วบ่อ (อาจใช้เครื่องหว่านข้าวเปลือกมาดัดแปลงใช้) เลี้ยงในบ่อนี้ นาน 2 เดือน – 3 เดือน
การย้ายกุ้งจากบ่ออนุบาลไปบ่อกุ้งเนื้อ
- เมื่อเลี้ยงในบ่อนุบาลได้ 2 เดือน – 3 เดือน สูบน้ำในบ่ออกให้หลือประมาณ 0.20 ม.
- ใช้ตะแกรงหรือบุ้งกี้ที่น้ำไหลออกได้ ตักกุ้งใส่ภาชนะคัดกุ้ง (ตะแกรงหรือบุ้งกี้ ตา 1 ซม.) (มีน้ำอยู่ในภาชนะคัดกุ้งพอท่วมกุ้ง อาจสั่งทํามาใช้เฉพาะงาน) คัดกุ้งที่ไม่พึงประสงค์ออก (กุ้งตัวเมีย กุ้งจิ๊กโก๋ กุ้งตัวเล็กจัด) ให้เหลือเฉพาะกุ้งตัวผู้ใส่ในบ่อกุ้งเนื้อ (อาจต้องใช้คน มากและทําให้เร็ว กันกุ้งน็อคตาย)
- ระยะนี้พอจะเริ่มแยกเพศกุ้งตัวผู้และตัวเมียได้ โดยสังเกตความเข้มที่สีของตัวกุ้ง (กุ้งตัวเมีย จะมีลักษณะไข่อ่อนเข้มจัดกว่าตัวผู้) ตัวเมียคัดออกให้อดอาหารก่อนย้าย
- กุ้งที่ไม่ได้ขนาด กุ้งตัวเมีย กุ้งจิ๊กโก๋ ขายทิ้งไป และทําความสะอาดบ่อ ตากบ่อเก็บโคลนในบ่อ เตรียมอนุบาลลูกกุ้งจากบ่อเพราะกุ้งต่อไป