ยาแก้อักเสบวัว มียี่ห้ออะไรบ้าง ลดบวม แบบฉีด แบบกิน วัวเจ็บขา ยาแก้อักเสบหลังคลอด

ทำไมวัวที่เราเลี้ยงถึงเกิดอาการอักเสบ แล้วอาการอักเสบนั้นคืออะไร? หลายๆท่านที่กำลังเริ่มเลี้ยงวัวอยู่หรือเลี้ยงมานานแล้ว อาจจะกำลังหาคำตอบในสิ่งที่ตนเองกำลังสงสัยนี้ โดยไม่รู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ทำการรักษาแบบไหน ยาแก้อักเสบวัวมียี่ห้อไหนอะไรบ้าง ยาแบบไหนลดอาการบวม ใช้แบบฉีด แบบกินดีนะ แล้ววัวเจ็บขาต้องใช้ยาอะไร ยาแก้อักเสบหลังคลอดละเป็นแบบไหน? งั้นเรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันกับบทความบทนี้เลยค่ะ”

การอักเสบคืออะไร

เป็นปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิตต่ออันตรายต่างๆ เพื่อที่จะป้องกัน ทำลายหรือจำกัดอันตรายนั้นๆไม่ให้ลุกลามต่อไปซึ่งผลจากการอักเสบจะทำให้บริเวณนั้นๆเกิดอาการ

กระบวนการอักเสบของร่างกาย

  • ปวด
  • ร้อน
  • บวม
  • แดง

ยาแก้อักเสบคืออะไร

  • ลดไข้
  • แก้ปวด
  • ลดบวม
  • รักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น

ยาแก้อักเสบแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

ยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

เป็นกลุ่มยาที่มีผลลดปวด (Analgesic) ลดไข้ (Antipyretic) ถ้าให้ในขนาดสูงจะช่วยลดการอักเสบ (Antiinflammation) เช่น

  • Acetaminophen
  • Aspirin
  • Ibuprofen
  • Diclofenac
  • Indomethacin
  • Piroxicam
  • Mefenamic Acid
  • Naproxen
  • Sulindac

ยากลุ่ม NSAIDs นี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง enzymes ที่เรียกว่า cyclooxygenases ทำให้การหลั่งของสาร พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ลดลงทำให้การอักเสบลดลง และลดอาการปวด

ยากลุ่มสเตียรอยด์

Corticosteroids ผลิตจากต่อมหมวกไต เป็นกลไกของร่างกายในการลดการอักเสบ ประกอบด้วย

  • Cortisole
  • Prednisone
  • Prednisolone
  • Dexamethasone

โดยการลดการสร้างสารชักนำการอักเสบ และถ้ามีการใช้เป็นเวลานานจะมีผลเสียต่อกระดูก เปราะ แตก หักง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้อกระจก และอาจทำให้เกิดเบาหวาน

แบ่งเป็น ชนิดต่างๆ ดังนี้

Group A — Hydrocortisone type

เช่น

  • Hydrocortisone
  • Cortisone
  • Prednisolone
  • Prednisone

Group B — Acetonides (and related substances)

เช่น

  • Triamcinolone

Group C — Betamethasone type

เช่น

  • Dexamethasone

ยาแก้อักเสบวัวมียี่ห้ออะไรบ้าง

Butasyl บิวตาซิว

สรรพคุณ >>>ใช้ควบคุม และรักษาอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และลดไข้เนื่องจากอาการอักเสบในกรณีต่าง เช่น

  • ไข้เห็บ
  • ไข้น้ำนม
  • ปากและเท้าเปื่อย ในโคเนื้อ-โคนม กระบือ
  • รักษาอาการ ขาเจ็บ ข้อและกล้ามเนื้ออักเสบ
  • เดินขากระเผลก

วิธีการใช้ >>> ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าเส้นเลือดดำอย่างช้าๆ

  • ลูกวัวควาย ขนาดแรกเริ่ม 10 cc / วัน ขนาดในครั้งต่อไป 5 cc / วัน
  • วัว ควาย ขนาดแรกเริ่ม 20 cc / วัน ขนาดในครั้งต่อไป 10 cc / วัน

ระยะเวลาในการรักษา >>> ติดต่อกัน 5 – 6 วัน

ข้อห้ามใช้  >>> 1. ห้ามใช้ในสัตว์ที่เป็นโรคหัวใจ

  1. การทำงานของตับและไตบกพร่อง
  2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  3. โรคปัสสาวะมีฮีโมโกลบิน และอาการบวมน้ำ

คำเตือน >>> 1. หยุดใช้ยานี้ 21 วัน ก่อนส่งโรงฆ่า และ 4 วัน ก่อนนำน้ำนมมาบริโภค

  1. ในระหว่างการรักษา ควรให้อาหารที่มี ระดับเกลือ และโปรตีนต่ำแก่สัตว์เท่านั้น

Kepro-100 คีโปร-100

สรรพคุณ >>> ยาต้านการอักเสบ อาการปวด และลดไข้ ที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs)

ในวัวใช้รักษา อาการ

  • ความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
  • เต้านมอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • เต้านมบวมน้ำ
  • เสียดท้อง
  • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก

คำเตือน >>> 1. ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านอาการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) อื่น ๆ พร้อมกันหรือ ภายใน 24 ชั่วโมง รวมถึง ยาขับปัสสาวะและสารกันเลือดแข็ง

  1. อย่าใช้ในสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจโรคตับหรือไต

Novacilan โนวาซิลแลน

สรรพคุณ >>> เป็นยารักษาและลดอาการปวด ลดไข้ในสัตว์

วิธีการใช้ >>> ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าเส้นโลหิต

  • ม้า วัว ควาย ฉีดครั้งละ 20 cc
  • แกะ ฉีดครั้งละ 10 ซีซี สุนัข ฉีดครั้งละ 0.5-2.0 cc

ฟลูนิการ์ด Flunigurad

สรรพคุณ >>> ลดการอักเสบ ลดไข้ แก้ปวด ลดบวม อันมีสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น

  • ลัมปี้สกิน
  • เต้านมอักเสบ
  • มดลูกอักเสบ
  • ปอดบวม โดยควรใช้ควบคู่กับยาปฏิชีวนะ

ข้อบ่งใช้ >>>  โค กระบือ ม้า สุกร

  • รักษาการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อในภาวะโลหิตเป็นพิษได้ดี เช่น โรคลัมปีสกิน เป็นต้น
  • ควบคุมอาการอักเสบเฉียบพลันในโรคระบบทางเดินหายใจ
  • รักษาการอักเสบในภาวะ acute bovine pulmonary emphysema (โรคถุงลมโป่งพอง)
  • ใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาโรคเต้านมอักเสบแบบเฉียบพลัน

วิธีการใช้ >>> ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณคอ

  • โค ฉีดฟลูนิการ์ด 2 cc / น้ำหนักสัตว์ 45 kg ฉีดซ้ำทุก 24 ชม ตามความจำเป็น ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 5 วัน
  • ม้า ฉีดฟลูนิการ์ด 1 cc / น้ำหนักสัตว์ 45 kg วันละครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลาไม่เกิน 5 วัน
  • สุกร ฉีดฟลูนิการ์ด 2 cc / น้ำหนักสัตว์ 45 kg

ส่วนประกอบ >>> ใน 1 มิลลิลิตร ประกอบด้วยFlunixin Meglumine เทียบเท่ากับ Flunixin 50 มิลลิกรัม

ไดฟีแนค Dicfenac

สรรพคุณ >>> ใช้บรรเทาอาการปวด ลดไข้และลดการอักเสบ

ข้อบ่งใช้  >>> ใช้บรรเทาอาการปวด และการอักเสบในกรณีของ

  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคเก๊าท์
  • กล้ามเนื้ออักเสบ
  • ใช้หลังผ่าตัดบางลักษณะ

วิธีการใช้ >>>  ใช้ขนาด 1-3 cc  /น้ำหนัก 1 kg  โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อให้วันละครั้ง หรือในกรณีรุนแรง ให้วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น หรือ ใช้ขนาด 1 cc  /น้ำหนัก 25 kg

ข้อควรระวัง >>> ห้ามดื่มน้ำนมภายใน 48 ชั่วโมง จากที่สัตว์ได้รับยานี้ห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ที่ฉีดยาครั้งสุดท้ายมาแล้วยังไม่ครบ 3 วัน

ส่วนประกอบ >>> ใน 3 มิลลิลิตร ประกอบด้วย Diclofenac Sodium 75 มิลลิกรัม

DEXON-A เด็กซอน-เอ

สรรพคุณ >>> ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบเฉพาะที่ และการอักเสบของ ข้อ กล้ามเนื้อ ใช้รักษาในสัตว์ที่

  • เกิดอาการช็อค
  • การแพ้
  • เต้านมอักเสบ
  • ไม่มีน้ำนมหลังคลอด
  • อาหารชักหลังคลอด

วิธีการใช้ >>> ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือใต้ผิวหนัง

  • ม้า วัว ควาย 3-10 cc
  • ลูกม้า วัว ควาย แพะ แกะ หมู 5-2 cc

ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค หรืออาการตอบรับของสัตว์ป่วย

ส่วนประกอบ >>> เด็กซ่าเมธาโซน โซเดียม ฟอสเฟต คิดเทียบเท่า เด็กซ่าเมธาโซน 21-ฟอสเฟต 4 มก.

 

ดีตร้า-500 Detra-500 แบบกิน

สรรพคุณ >>> ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรียรักษาโรคติดต่อต่างๆในสัตว์ เช่น

  • โรคท้องร่วง
  • ลำไส้อักเสบ
  • โรคติดต่อเชื้อของทางเดินหายใจ
  • โพรงจมูกอักเสบ
  • โรคไฟลามทุ่ง
  • ไข้หวัด
  • ปอดบวม
  • ท่อปัสสาวะอักเสบ
  • รักษาแผล
  • ฝี
  • หนอง
  • โรคเท้าเปื่อย โรคปากเปื่อย
  • อาการอักเสบต่างๆเนื่องจากติดเชื้อ

วิธีการใช้ >>> ใช้ผสมอาหาร หรือละลายน้ำให้สัตว์กิน

  • วัว กินครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
  • ลูกวัว กินครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง

Pendistrep L.A. เพ็นไดสเตร็ป แอลเอ

สรรพคุณ >>> เพ็นไดสเตร็ป แอลเอ เป็นยาฉีดที่ประกอบด้วย เพ็นนิซิลลิน จี และไดไฮโดรสเตร็ปโตมัยซิน ซึ่งออกฤทธิ์เสริมฤทธิ์กัน  สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดแกรมบวกและแกรมลบ  นอกจากนี้ เบนซาธีน เพ็นนิซิลลิน จี ยังเป็นอนุพันธุ์ของเพ็นนิซิลลิน จี ที่ออกฤทธิ์นาน  จึงทำให้ตัวยาเพ็นนิซิลลินสามารถคงอยู่ในกระแสเลือดได้นาน  3-4 วัน

ข้อบ่งใช้ >>> ในวัว ควาย สุกร เป็ด ไก่ ใช้รักษาโรคที่เกิดจากแบคทีเรียทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังได้แก่

  • โรคปอดบวม
  • เต้านมอักเสบ
  • มดลูกอักเสบ
  • โลหิตเป็นพิษ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • แผลติดเชื้อ
  • แก้อักเสบวัวหลังคลอด
  • หนอง ฝี
  • โรคติดเชื้อทางสายสะดือ
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ-สืบพันธุ์
  • โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากแบคทีเรีย
  • ป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด

วิธีการใช้ >>> ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือใต้ผิวหนัง ในสัตว์เล็กทุก  3 วัน

  • วัว ควาย สุกร ฉีดขนาด 2.5-5 cc / น้ำหนักตัว  100 kg
  • เป็ด ไก่ ฉีดขนาด 0.25 cc /น้ำหนักตัว  1 kg

ระยะหยุดยา >>> ควรหยุดยา 21 วัน

โทฟีดีน ซีเอส Tolfenamic acid

สรรพคุณ >>> ยาแก้อักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ที่ไม่มีส่วนประกอบของสเตียร์รอยด์ ใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการอักเสบต่างๆ ในสุกร เช่นเต้านมอักเสบ ปอดบวม ข้ออักเสบ

วิธีการใช้ >>> เข้ากล้ามเนื้อหรือเส้นเลือด

  • สุนัข หมู แกะ แมว โค 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 20 กิโลกรัม

สามารถฉีดซ้ำได้หลังจากฉีดเข็มแรก 48 ชั่วโมง

TRIPRIM ไตรพริม

สรรพคุณ >>> ใช้รักษาโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น

  • ปอดบวม
  • หลอดลมอักเสบ
  • โรคแทรกซ้อนเนื่องจากเป็นโรคปอดบวม
  • โรคติดเชื้อทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น

1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

2.ช่องคลอดอักเสบ

3.ท่อปัสสาวะอักเสบ

4.ไตอักเสบและมดลูกอักเสบ

5.โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อ อีโคไล และเชื้อซัลโมเนลล่า

วิธีการใช้ >>> ฉีดเข้ากล้ามเนื้อในกรณีที่เป็นมากอาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดก็ได้ แต่ห้ามฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

  • สุกร แพะ แกะ วัว และควาย 1 cc / น้ำหนัก 15 kg
  • สุนัขและม้า 1 cc / น้ำหนัก 15 kg โดยใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดอย่างช้าๆ เท่านั้น ห้ามฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าใต้ผิวหนัง ปกติใช้ฉีดเพียงครั้งเดียวก็พอ แต่ถ้าโรคยังไม่หายให้ฉีดซ้ำได้อีกทุกวันหรือทุก 2 วัน

OXYCLINE ออกซี่คลีน

สรรพคุณ >>> เป็นยาปฎิชีวนะที่สามารถซึมเข้าไปในกระแสโลหิตได้ ใช้รักษา

  • โรคทางเดินหายใจชนิดเรื้อรัง
  • โพรงจมูกอักเสบ
  • ข้อบวม
  • โรคแทรกซ้อนจากซาลโมเนลลาในหมู
  • โรคไฟลามทุ่ง
  • ไข้หวัดในหมู
  • ปอดบวม
  • โรคเกี่ยวกับไตและท่อปัสสาวะอักเสบ
  • เต้านมอักเสบ
  • ตาแดงของวัว ควาย
  • โรคหนองฝี ต่างๆบาดแผลอักเสบ

วิธีการใช้ >>> ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

  • 1cc / น้ำหนักสัตว์ 10 kg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ติดต่อกันนาน 4 วัน

สารชักนำการอักเสบ

  • สารที่มีอยู่ในเซล Vasoactive amine Histamine พบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อ พบมากใน mast cells ซึ่งพบอยู่ตามเนื้อเยื่อรอบๆ หลอดเลือด
  • นอกจากนี้สาร histamine ยังพบใน basophils และ platelets
  • สาร histamine ทำให้เกิดการขยายหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (arterioles) และเพิ่ม vascular permeability ของหลอดเลือดดำขนาดเล็ก (venule)
  • ทำให้เกิดการหดตัวของผนังหลอดเลือดดำ (venule) และขยายช่องว่างระหว่างเซลบุผนังหลอดเลือด (interendothelial cell junction) Serotonin (5-Hydroxytryptamine) เช่นเดียวกับสาร histamine พบได้ใน
  • platelets
  • enterochromaffin cells
  • Lysosomal compounds เป็นสารเคมีที่พบในเม็ด lysosomes ของเม็ดเลือดขาว และเซล monocytes สารเหล่านี้เมื่อปล่อยออกมานอกเซลมีผลชักนำให้เกิดการอักเสบได้
  • สารเคมีใน lysosome เหล่านี้มีหลายชนิดที่สำคัญรวมเรียกว่า proteases เช่น
  • Elastase
  • Collagenase
  • proteinase สารต่างๆ เหล่านี้ทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย
  • ในขณะเดียวกัน ร่างกายก็ได้สร้างสารต่อต้านสารเคมีเหล่านี้เรียกว่า antiproteases สารเหล่านี้ที่สำคัญได้แก่
  • สาร alpha1-antitrypsin ซึ่งปกติจะคอยต้านตัวทำลาย (proteases) ที่สำคัญคือ elastase

สารที่ร่างกายผลิตขึ้น

  • Prostaglandins
  • Leukotrienes

สารทั้งสองชนิด (prostaglandins และ leukotrienes) เรียกรวมว่า eicosanoids เป็นผลิตผลจาก กรดไขมัน arachidonic acid (AA) ที่เป็นส่วนประกอบของ เยื่อหุ้มเซล (cell membrane) อยู่ในรูปของ phospholipidsarachidonic acid ถูกย่อยต่อไปด้วย เอนไซม์ ต่างชนิดกัน

  • ทำให้ได้สาร 2 กลุ่ม คือ
  • ถ้าถูกย่อยด้วยเอนไซม์ cyclooxygenase ได้สาร prostaglandins
  • เมื่อถูกย่อยด้วยเอนไซม์ lipoxygenase ได้สารพวก leukotrienes

สารพวก prostaglandins ถูกย่อยต่อไปได้สารต่างๆ กัน ตามแต่ชนิดของเอนไซม์ที่พบ เช่น

  • ถูกย่อยด้วยเอนไซม์บนเกร็ดเลือด (platelets) ได้ thromboxane (TxA2) เป็นสารช่วยให้เกร็ดเลือดจับติดกัน (platelet aggregation promotor) และทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่วนที่เซลล์บุผนังหลอดเลือด
  • มีเอนไซม์อีกชนิดหนึ่งเปลี่ยน prostaglandins เป็น prostacyclin (PGI2) ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และห้ามการจับกันของเกร็ดเลือด (platelet aggregation inhibitor)
  • นอกจากนี้มีสาร prostaglandins ชนิดอื่นๆ อีก เช่น

 

  • PGD2
  • PGE2
  • PGF2

สารเหล่านี้มีส่วนร่วมทำให้เกิดการอักเสบ เช่น ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและเสริมการบวม เป็นต้น

สาร leukotrienes มีหลายชนิด เช่น

  • LTA4
  • LTB4

ทำให้เม็ดเลือดขาวจับติดกัน ส่วน LTC4 LTD4 และ LTE4 ทำให้หลอดเลือดหดตัว และเพิ่มการซึมผ่านผนังหลอดเลือด รวมทั้งทำให้หลอดลมบีบรัด (bronchospasm)

Platelet activating factor (PAF)

  • เป็นสารชักนำการอักเสบ มีแหล่งกำเนิดมาจากสาร phospholipid ในเยื่อหุ้มเซล มีคุณสมบัติทำให้ เกร็ดเลือด (platelet) จับกันเป็นก้อน (aggregation) และเร่งการปลด ปล่อยเกร็ดเลือดเข้าสู่กระแสเลือด (platelet release)
  • นอกจากนี้ยังมีผลทำให้หลอดเลือดและหลอดลมหดตัว (vasoconstriction and bronchoconstriction) ในกรณีที่พบมีปริมาณเล็กน้อยในเลือด กลับช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว และเพิ่มคุณสมบัติการซึมผ่านของผนังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก (increased venular permeability)
  • ในขณะเดียวกันสาร PAF ยังช่วยการเกาะติดผนังหลอดเลือดของเม็ดเลือดขาว และช่วยเร่งการสร้างสาร eicosanoids ในเซลล์อีกด้วย

Cytokines

  • เป็นสารพวก polypeptides พบสร้างในเซลหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซล
  • lymphocyte
  • macrophage
  • สาร cytokines ที่สำคัญได้แก่
  • interleukin-1 (IL-1)
  • tumor necrosis factor (TNF)
  • interleukin-8 (IL-8)

มีบทบาทสำคัญ ในการเกิดการอักเสบ โดยเฉพาะต่อเซลบุผนังหลอดเลือดในการช่วยสร้าง adhesion molecules เพื่อให้เซลเม็ดเลือดขาวเกาะติดกับผนังหลอดเลือด ช่วยสร้าง cytokines และ growth factors ตัวอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยการสร้างสาร eicosanoids และ NO (nitric oxide)

นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาของเซลล์อื่นๆ เช่น ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ของเซลล์ fibroblasts และทำให้เกิดอาการทางคลินิกอื่นๆ เมื่อเกิดการอักเสบ เช่น ไข้ เป็นต้น

Nitric oxide (NO) ก๊าซไนตริกออกไซด์

  • เป็นก๊าซอนุภาคอิสระที่ละลายในน้ำ (soluble free radical gas) ปกติผลิตจากเซลบุผนังหลอดเลือด จากเซลกินสิ่งแปลกปลอม และเซลประสาทในสมอง ทำให้เกิดการขยายหลอดเลือด (vasodilation)
  • เนื่องจากก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO) ไปเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของ cGMP (cyclic guanosine monophosphate) ผลทำให้เซลกล้ามเนื้อในหลอดเลือดผ่อนคลายและเกิดการขยายหลอดเลือด
  • นอกจากนั้นไนตริกออกไซด์ยังทำให้เกร็ดเลือด (platelets) จับกันเป็นก้อนและติดแน่นกับผนังหลอดเลือด และไนตริก
  • ออกไซด์ยังทำปฏิกิริยากับ superoxide ได้สาร oxidant ที่สำคัญคือ nitrogen dioxide กับสาร hydroxyl radical ในภาวะช็อค (shock) หลอดเลือดในร่างกายขยายตัว เนื่องจาก NO ที่ผลิตจากเซลล์กินสิ่งแปลกปลอม (macrophage) นั้นเอง

Oxygen-derived free radicals (อนุภาคอิสสระจากออกซิเจน)

  • กลุ่ม อนุภาคอิสระเหล่านี้ถูกปลดปล่อยออกจากเซลเม็ดเลือดขาว สารเหล่านี้เกิดจากปฎิกิริยาต่อเนื่อง oxidation ของสาร NADPH ได้สาร superoxide ซึ่งจะทำปฎิกิริยาต่อไปเป็น H2O2, OH และสารพิษอื่นๆ ที่เกิดจากการทำปฎิกิริยา กับ nitric oxide (NO) ในร่างกายมีสารคอยต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้เรียกว่า antioxidant
  • ซึ่งเป็นกลไกคอยปกป้องร่างกายจากอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ อันตรายที่ได้รับจะมากน้อยขึ้นกับความสมดุลย์ของสารทั้งสองจาพวกนี้