วิธีฉีดยาวัว ยาบำรุง กี่ cc ฉีดตรงไหน ใช้เข็มเบอร์อะไร วิธีฉีดยาถ่ายวัว

บางครั้งคนเลี้ยงวัวก็ยังงงๆอยู่กับว่าเมื่อเราเริ่มเลี้ยงวัวมันจะมีปัจจัยหลายๆอย่าง และการจัดการหลายๆอย่างเกิดขึ้นมา ดังนั้นในบทความนี้เราจะมายกตัวอย่างหนึ่งการจัดการที่คนเลี้ยงวัวจะต้องเจอ และไม่เคยทำมาก่อน อย่างเช่น การฉีดยาวัว ในวัว มีวิธีฉีดยากี่แบบ ยาบำรุงวัวละมีอะไรบ้าง ฉีดยาตรงไหนนะ ใช้เข็มเบอร์อะไร แล้ววิธีฉีดยาถ่ายวัวละ บางท่านอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนเพราะไม่ได้เรียนหรือศึกษาทางด้านนี้มาก่อน งั้นเรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันกับบทความนี้เลยจ้า”

การฉีดยาวัวคืออะไร ?

การฉีดวัวนั้นมีคุณสมบัติหลายประการ ไม่แนะนำให้นิ่งเฉยเนื่องจากวัวเป็นสัตว์ขนาดใหญ่และบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้เลี้ยงได้ งานหลักส่วนใหญ่ที่ผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์ต้องเจอก็คือการฉีดยา แนะนำให้เจ้าของวัวมีเข็มฉีดยา เข็มฉีดยาอัตโนมัติชุดกระป๋องฆ่าเชื้อที่มีขนาดแตกต่างกันไว้ การเลือกขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสัตว์บริเวณที่ฉีด และรูปแบบของการฉีด วิธีนี้ทำให้สะดวกสบายมากขึ้น และช่วยให้เกษตรกร สามารถรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากวัวได้

การฉีดยาวัว ฉีดตรงไหน ?

⮚   การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

ยาทุกชนิดที่ถูกผลิตขึ้นจะถูกทดลองใช้และทดสอบผลก่อนจำหน่ายฉลากที่แนบมากับยาจะบ่งวิธีใช้ไว้อย่างละเอียด ยาฉีดส่วนใหญ่มักเป็นชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพราะสะดวกในการใช้

การให้ยาวิธีนี้มีดังนี้

  1. ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด เข็มและกระบอกฉีดต้องได้รับการฆ่าเชื้อมาแล้ว
  2. ให้ยาในขนาดที่ถูกต้อง ยาบางอย่างต้องแบ่งฉีดหลายตำแหน่ง ถ้าผู้ผลิตระบุมาว่า ห้ามฉีดเกินกี่มิลลิลิตรต่อหนึ่งตำแหน่ง เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. ตำแหน่งที่นิยมฉีดยาเข้ากล้ามก็คือ บริเวณแผงคอ เพราะสะดวกในการบังคับสัตว์และสัตว์เคลื่อนไหว ส่วนนี้ตลอดเวลาทำให้มีการดูดซึมดี ส่วนอีกตำแหน่งหนึ่งก็คือ กล้ามเนื้อโคนขาหลัง ซึ่งตำแหน่งนี้ผู้ฉีดต้องระวังโคเตะ
  4. เข็มที่ใช้สำหรับการฉีดยาเข้ากล้ามโค ควรเป็นเบอร์ 18 ยาว 1 นิ้วครึ่ง เข็มต้องคมและปลายไม่เยิน
  5. ควรปักเข็มเข้ากล้ามอย่างรวดเร็ว อาจใช้วิธีจับเข็มด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้แล้วใช้หลังมือตบใกล้บริเวณที่จะฉีด 2-3 ครั้ง แล้วปักเข็มทันที แล้วจึงสวมกระบอกฉีดภายหลัง ดูดเบา ๆ ดูว่ามีเลือดเข้ามาในกระบอกหรือไม่ ถ้าไม่มีจึงเดินยา

⮚   การฉีดยาเข้าเส้นเลือด

แนวทางแก้ไขสำหรับการให้ยาทางหลอดเลือดดำควรมีความโปร่งใสโดยไม่มีการตกตะกอน การฉีดยาจะถูกสร้างขึ้นในหลอดเลือดดำคอซึ่งอยู่ในบริเวณคอที่ขอบของส่วนบนและตรงกลางที่สาม หากต้องการดูให้ยกหัวของวัวขึ้นและดันส่วนพับของผิวหนังออกเล็กน้อย คุณจะเห็นเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดเลือดดำคอ หากมองเห็นได้ไม่ดีซึ่งเป็นกรณีของวัวที่กินมากเกินไปและกินมากเกินไปก็ควรยกศีรษะให้สูงขึ้น ขั้นแรกให้ทำการเจาะผิวหนังจากนั้นเส้นเลือดจะถูกเจาะ หากเข็มอุดตันและเลือดไม่ไหลคุณต้องฉีดอีกครั้งในขณะที่เลือกสถานที่ที่อยู่เหนือการเจาะครั้งแรก ต้องให้ยาอย่างช้าๆโดยสังเกตปริมาณอย่างเคร่งครัด ยาจะเข้าสู่กระแสเลือดทันทีและถูกส่งไปทั่วร่างกาย

การให้ยามีวิธีดังนี้

  1. หลอดเลือดดำคอถูกบีบด้วยนิ้วหรือผ้าพันแผล
  2. บริเวณที่ฉีดได้รับการเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
  3. ในบริเวณที่หลอดเลือดดำขยายตัวให้สอดเข็มที่มุม 45 องศา
  4. หากบริเวณที่หลอดเลือดดำอ่อนตัวตำแหน่งของเข็มจะถูกปรับเปลี่ยน
  5. ถอดผ้าพันแผล (หรือนิ้ว) ออกจากหลอดเลือดดำแล้วฉีดยา
  6. หลังการฉีดกดเส้นเลือดถอดเข็มและรักษาบริเวณที่ฉีดอีกครั้ง
  7. ไม่แนะนำให้ฉีดเข้าเส้นเลือดสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ด้วยตัวเอง ขั้นตอนควรดำเนินการโดยสัตวแพทย์

 

⮚   การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง

การฉีดเข้าใต้ผิวหนังมีความเจ็บปวดน้อยกว่าสัตว์อื่น ๆ ทั้งหมด ตามกฎแล้วควรวางสารละลายแอลกอฮอล์น้ำมันและน้ำไว้ใต้ผิวหนัง ด้วยวิธีการบริหารนี้ยาจะถูกดูดซึมได้ดีขึ้น วิธีการรักษาจะเริ่มใน 5-10 นาที ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีจำนวนพับมากที่สุดจะทำหน้าที่เป็นจุดฉีดยา รอยพับของผิวหนังจะถูกดึงกลับเล็กน้อยและทำให้เกิดการฉีดยา ใช้เข็ม 25-30 มม. ฉีดโคเข็ม 10 มม. เหมาะสำหรับลูกโค อย่าฉีดเข้าใต้ผิวหนังใกล้กับข้อต่อเส้นเอ็นและกระดูกอ่อน

การให้ยามีวิธีดังนี้

  1. บริเวณคอที่พับลึกที่สุดให้เช็ดผิวหนังของวัวด้วยสารละลายแอลกอฮอล์ดึงมือกลับ
  2. ควรถือเข็มฉีดยาไว้ที่มุม 30 องศาฉีดยาช้าๆ
  3. บริเวณที่ฉีด ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังเข็มจะเจาะเข้าไปในเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนังโดยที่ปลายประสาทอยู่ในปริมาณที่น้อยที่สุด ดังนั้นจึงไม่พบผลของความเจ็บปวดในทางปฏิบัติและไม่จำเป็นต้องมีการตรึงวัวไว้ในซอง

 

 

ยาบำรุง

Biocatalin ไบโอคาตาลิน

>>>สรรพคุณ ไบโอคาตาลีนให้ผลในรายที่ขาดโปรตีน และวิตามิน บี เนื่องจากภาวะที่เกิดจากความเครียด ภาวะร่างกายอ่อนแอ เช่น โลหิตจาง อุจจาระร่วง เป็นต้น ภาวะที่ร่างกายมีความต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้น เช่น ในขณะตั้งท้อง ให้นมลูก สัตว์แคะแกรน ไม่เจริญเติบโต อาการเบื่ออาหาร

>>>วิธีใช้ ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

  • ม้า วัว ควาย 20  ซีซี ต่อวัน
  • ลูกม้า วัว ควาย แพะ แกะ สุกรขนาดใหญ่ 5-10   ซีซี ต่อวัน

 

  VITAMIN AD3E

>>> สรรพคุณ ใช้ในการรักษา โรคขาดวิตามินในสัตว์แรกเกิด ลดความเครียดในสัตว์ ใช้ในสัตว์ที่เจริญเติบโตช้า ระยะพักฟื้นหลังติดเชื้อ และรักษาความบกพร่องทางโภชนาการของกล้ามเนื้อ เป็นวิตามินฉีดกระตุ้นการตกไข่ในสัตว์ ช่วยให้สัตว์เป็นสัตว์ดีขึ้น

>>> วิธีใช้ ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

  • วัว ควาย ใช้ 3-5 ซีซี

คาโตซาล catosal

>>> สรรพคุณ คาโตซาล 10%  เพื่อกระตุ้นระบบเมทตาโบลิซั่มและบำรุงร่างกาย  ใช้คาโตซาลในสุกร โค กระบือ แพะ แกะ ม้า เป็ด ไก่ สุนัขและแมว เพื่อกระตุ้นระบบเมทตาโบลิซั่มและบำรุงร่างกาย ใช้คาโตซาล เมื่อ

 

  1. สัตว์มีความผิดปกติทางเมทตาโบลิซั่มเนื่องจากขาดอาหาร การเลี้ยงดูไม่ดี ป่วย
  2. ป้องกันความผิดปกติของร่างกาย และโภชนาการของลูกสัตว์
  3. ป้องกันการเป็นหมัน และการเกิดโรคทางระบบสืบพันธุ์ โดยใช้ควบกับการรักษาโดยตรง
  4. การสร้างกระดูกที่ไม่ปกติอันมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดฟอสฟอรัส
  5. สัตว์แสดงอาการอ่อนเพลีย ซูบผอม โลหิตจาง

 

>>> วิธีใช้ ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เข้ากล้ามเนื้อ หรือเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 1 ซีซี ต่อน้ำหนักสัตว์ 10 กิโลกรัม

  • โค กระบือ แพะ แกะ ม้า
  1. ป้องกันการเป็นหมันเนื่องจากความไม่สมดุลของระดับฟอสฟอรัสในร่างกาย และเป็นโรคทางระบบสืบพันธุ์ให้ขนาด 20 ซีซี 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน
  2. บำรุงช่วงการตั้งครรภ์ ให้ขนาด 30 ซีซี ฉีดเข้ากล้ามช่วงระหว่าง 4-6 สัปดาห์ก่อนคลอด และฉีดซ้ำอีกครั้ง 8-14 วันหลังคลอด จะช่วยให้การให้นมและการผสมครั้งต่อไปดีขึ้น ป้องกันโรคจากการให้นม
  3. กรณีแม่สัตว์ไม่มีกำลัง ยืนไม่ได้ในช่วงก่อนคลอดหรือหลังคลอด ให้สารละลายแคลเซียมร่วมกับคาโตซาล 30 ซีซี เข้าหลอดเลือดดำ
  4. พ่อพันธุ์ ฉีดบำรุงเพื่อให้การผสมมีประสิทธิภาพ ให้ขนาด 5-25 ซีซี

การใช้เข็มฉีดยาในวัว

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ มักฉีดยาสัตว์กันเอง แต่บางท่าน ยังไม่เข้าใจเรื่องการใช้เข็ม เลยอยากจะนำ ความรู้ที่เป็นประสบการณ์เล็กๆน้อยๆมาให้ผู้เลี้ยงสัตว์มือใหม่

  • ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ให้ใช้เข็ม 1 นิ้วเบอร์ 18
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ไม่ใช่เข็ม 1 นิ้วครึ่งเบอร์ 18

สำหรับลูกวัว จะฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ ควรใช้เข็มขนาด 1 นิ้วเบอร์ 18 เพราะลูกวัวหนังบาง

 

สำหรับวัว ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เข็มขนาด 1 นิ้วเบอร์ 18 เป็นหลัก สำหรับฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อ จะใช้วิธีการดึงผิวหนัง สำหรับฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง ส่วนยาที่จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ก็กดมิดเข็ม วัวเป็นสัตว์หนังบาง

ยาถ่ายพยาธิวัว

ไอโวเม็ก เอฟ® – Ivomec F®

>>> สรรพคุณ ยาฉีดกำจัดและควบคุมพยาธิภายใน ทั้งพยาธิตัวกลมและพยาธิใบไม้ในตับ กับพยาธิภายนอกของโคเนื้อ ตลอดจนโคนมในระยะที่ไม่ได้รีดนม

>>> วิธีใช้

  • การฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในอัตราส่วน 1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักสัตว์ 50 กิโลกรัม จะทำให้ได้ขนาดยาในระดับไอเวอร์เม็คติน 200 ไมโครกรัม และคลอร์ซูลอน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม

>>> กลไกการออกฤทธิ์ ไอเวอร์เม็คติน จะทำให้พยาธิตัวกลม ไรและหมัด เป็นอัมพาตและถูกฆ่าตายในที่สุด โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของพยาธิเหล่านี้ ในขนาดรักษาไอเวอร์เม็คตินไม่มีผลต่อโค-กระบือ เนื่องจากยาจะไม่ซึมผ่านไปสู่ระบบประสาทส่วนกลางของโค-กระบือ คลอร์ซูลอน ออกฤทธิ์โดยขัดขวางขบวนการเมตาโบลิสม์ และยับยั้งเอ็นไซม์ที่จำเป็นต่อการสร้างพลังงานเพื่อดำรงชีวิต ในตัวของพยาธิใบไม้ในตับ

การจำกัดการเคลื่อนไหวของวัว

เรามีวิธีการต่างๆในการจับ ตรึงไม่ให้วัวเคลื่อนไหวปัจจุบันนี้มีเครื่องจักรที่ช่วยลดการเคลื่อนไหวของสัตว์ และสำหรับเกษตรกรเพื่อช่วยในการฉีดยา เช่น

o  การจับบังคับส่วนหัวของวัว

บางครั้งสามารถจับบังคับควบคุมส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ แต่ส่วนหัวยังสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระทำให้สัตว์ดิ้นรนต่อต้านขัดขืนการทำงาน เพราะคิดว่าสามารถกลับมาเป็น อิสระจากการบังคับควบคุมได้ การจับบังคับควบคุมบริเวณส่วนหัวของวัว สามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์จับยึดส่วนคอ ซึ่งอาจใช้ไม้ เชือก โซ่ คีมหนีบจมูก เป็นต้น

o  การใส่เชือกจูงหรือขลุม

ควรทำห่วงคล้องในส่วนหัวและจมูกที่กว้างพอกบขนาดของสัตว์ ให้เรียบร้อยก่อนคล้องบ่วงด้านที่มีขนาดใหญ่วางลงบนเหนือจมูกและหลังโคนหู แล้วคล้องบ่วงที่เหลืออีกด้านรอบปากเสร็จแล้วดึงเชือกพร้อมกบจัดเชือกให้ตึงและแน่น ข้อสำคัญในการใส่เชือกจูงวัว จะต้องมีผู้ช่วยเหลือหรืออุปกรณ์ช่วยจำกัดบริเวณการเคลื่อนไหวของสัตว์และมีความอดทน เคลื่อนไหวปรับท่าทางไปพร้อมกบจังหวะการเคลื่อนไหวตัวของสัตว์

o  การใส่สนสะพายหรือใส่ห่วงจมูก

ในกรณีที่วัวได้ถูกสนสะพายหรือใส่ห่วงจมูกไว้แล้ว จะช่วยให้การจับบังคับและควบคุมการดิ้นรนขัดขืนบริเวณหัวได้ผลดี โดยจับรวบสนสะพายทั้งสองด้านของจมูกเข้าด้วยกันหรือดึงห่วงจมูกยกขึ้นมาด้านหน้าเล็กน้อยสัตว์ก็จะไม่ดิ้นรนขัดขืน เนื่องจากเนื้อเยื่อผนังบางๆ ที่แบ่งก้นรูจมูกเป็นจุดที่ไวต่อความรู้สึกของวัว สัตว์พยายามที่จะดิ้นรนมากขึ้นก็จะทำให้รู้สึกเจ็บมากขึ้นตามมา ควรใส่ให้วัวเพศผู้และพ่อพันธุ์ ส่วนการใส่ห่วงจมูกก็จะมีวิธีการคล้ายกับการสนสะพายเพียงแต่เลือกใช้โลหะที่ไม่เป็นสนิม มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมต่อกันใส่แทนเชือก

ซึ่งวิธีการสนสะพายมีขั้นตอนดังนี้

>ใช้ไม้ปลายแหลมสะอาดแทงผ่านผนังรูจมูกตรงจุดที่บางที่สุดให้ทะลุ

>>จากนั้นเอาเชือกขนาด 1.5 หุน ร้อยผ่านรูดังกล่าวอ้อมใต้ใบหูมาผูกปลายทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน

>>>บนหัวอาจจะนำเอาเชือกอีกเส้นมาผูกยึดไว้กับสนสะพาย

>>>>แล้วนำมาพันรอบคอก็จะช่วยให้สนสะพายแน่นและมั่นคงขึ้น

o  การใช้คีมดึงจมูก (Nose Holder)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการจูงหรือบังคับควบคุมการเคลื่อนไหวของส่วนหัวในกรณีที่สัตว์ไม่มีสนสะพาย ห่วงจมูก หรือใช้เชือกจูง โดยมีหลักการเช่นเดียวกับการใช้สนสะพาย หรือห่วงจมูกลักษณะของคีมดึงจมูกที่ดีคือบริเวณส่วนปลายเป็นปุ่มกลมเรียบไม่แหลมคม มีขนาดสามารถใส่เข้าไปทางช่องจมูกได้มีช่องวางระหว่างปลายของคีมดึงจมูกเหลือไว้ประมาณ 3 มิลลิเมตรเมื่อนำมาหนีบประกบชิดกนบริเวณด้ามถือของคีมดึงจมูกสามารถจับยึด และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

คีมดึงจมูกวัว

o  การจับบังคับควบคุมวัวทุกส่วนของร่างกาย

อุปกรณ์และเครื่องมือบังคับควบคุมวัวขนาดใหญ่ นิยมใช้คอกปฏิบัติการ หรือ

การใช้เชือก ดังนี้

  • คอกปฏิบัติการ (Confining Pen) ในฟาร์มหรือสถานที่ที่มีความจำเป็นต้องจับ บังคับ และควบคุมวัวขนาดใหญ่อยู่เป็นประจำมีความจำเป็นและคุ้มค่าที่จะลงทุนติดตั้งคอกปฏิบัติการเพื่อความสะดวก ประหยัดเวลาและลดการเกิดอันตรายต่อทั้งผู้ปฏิบัติงานและตัวสัตว์ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่หลายส่วน ส่วนที่สำคัญและจำเป็นส่วนหนึ่งของคอกปฏิบัติการ คือ
  • ซองหนีบบังคับควบคุม (Squeeze Chute)

ลักษณะของซองหนีบบังคับควบคุมที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ สามารถปรับเปลี่ยนขนาดความกว้างหรือความยาวให้เหมาะสมกับวัวขนาดต่างๆ พื้นของซองควบคุมบังคับไม่ลื่น มีส่วนที่สามารถใช้หนีบ หรือยึดจับบริเวณส่วนหัวของวัวให้อยู่อย่างมั่นคงและสามารถปลดปล่อยส่วนที่หนีบหรือยึดจับส่วนหัวได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใดเช่นกัน หลังจากการปฏิบัติงาน เรียบร้อย หรือถ้าเกิดบางสิ่งบางอยางที่ผิดปกติกับสัตว์ ในขณะที่อยู่ ในซองควบคุมบังคับมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือไม่ให้วัว กลับตัวหรือถอยหลัง สามารถปรับหมุนไปในตำแหน่งและองศาที่เหมาะกบงาน เช่น ปรับเปลี่ยนจากท่ายืนปกติ (Vertical Position) ไปเป็นท่านอน (Horizontal Position) เพื่อทำการผ่าตัดหรือทำงานบริเวณขาและกีบ โดยควรจะมีแผ่นวัสดุที่มี ความนุ่มนวลรองบริเวณไหล่ และเหนือขาหน้าเพื่อป้องกันเส้นประสาทขาหน้า (Radial Nerve)ได้รับความเสียหาย พร้อมกันนี้มีสายหนังเข็มขัดหรือเชือกผูกยึดบริเวณขาและหัวติดกับด้านข้างของซองควบคุมบังคับ

o  การใช้เชือกจับบังคับควบคุม

มีความสำคัญในการบังคับสัตว์อย่างมาก โดยเฉพาะการ ปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลไม่มีซองควบคุมบังคับสัตว์ก็สามารถใช้เชือกในการจับ บังคับควบคุมในลักษณะต่างๆ เชือกเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอันดับหนึ่งที่คนใช้ในการจับบังคับและควบคุมสัตว์ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะคุณสมบัติ ได้แก่ เชือกที่เป็นเส้นใยนุ่ม (Soft Fiber Ropes) เช่น เชือกฝ้าย (Cotton) เชือกที่เป็นเส้นใยแข็ง (Hard Fiber Ropes) เช่น เชือกมนิลา (Manila) และเชือกที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Ropes) เช่น เชือกไนลอน (Nylon) เป็นต้น เชือกแต่ละชนิดมีขนาดทนทานและรับแรงดึงแตกต่างกันออกไปเชือกที่ใช้ในการจับบังคับและควบคุมได้แก่

  • เชือกคล้อง โดยทั่วไปนิยมใช้เชือกมนิลา ขนาด 0.5 นิ้ว ยาวประมาณ 8-10 เมตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของวัว ) โดยปลายข้างหนึ่งถักเป็นห่วง ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งถักเก็บหัวเชือก ศัพท์ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เชือกพรวน”
  • เชือกมัดขา โดยปกติต้องมีอย่างน้อย 2 เส้น นิยมใช้เชือกมนิลาที่มีขนาด 5/16 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5-3.0 เมตร ถักปลายทั้งสองข้างเหมือนกับเชือกคล้อง
  • เชือกล่าม นิยมใช้เชือกไนลอนขนาด 2/8 นิ้ว ยาวประมาณ 4-8 เมตร นำปลายข้างหนึ่งของเชือกไปผูกกับสะพายหรือห่วงจมูก
  • เชือกจูง ใช้สำหรับจูงโค กระบือที่ไม่มีสะพายหรือห่วงจมูกอาจจะเลือกใช้เชือกมนิลา หรือเชือกอื่นๆ ก็ได้