ยาบำรุงระบบสืบพันธุ์วัว ยาเร่งผสมพันธุ์ ยาเร่งตกไข่ อาหารบำรุงมดลูกวัว มีอะไรบ้างอันไหนดี

การเลี้ยงวัวสิ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องคำนึง ถึงความสำคัญในการเลี้ยงอีกอย่างหนึ่งก็คือระบบสืบพันธุ์ของวัว ดังนั้นในบทความนี้เราจะมายกตัวอย่างยาบำรุงระบบสืบพันธุ์ของวัวที่หลายๆท่านกำลังสับสนว่าจะเลือกใช้ยาแบบไหนดี มียาบำรุงแบบไหนบ้าง ยาเร่งผสมพันธุ์ ยาเร่งตกไข่ อาหารบำรุงมีอะไรบ้างแล้วอันไหนมันดี  บางท่านอาจจะกำลังมองหายาบำรุงพวกนี้อยู่ เรามาดูในบทความนี้เลยจ้า”

ยาบำรุงคืออะไร

 ยาบำรุง ก็คือยาที่ช่วยบำรุงซ่อมแซม หรือเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้น ยาบำรุงบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นในวัว ถ้าวัวมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์อยู่แล้ว แต่อาจจะต้องเสริมในวัวที่ร่างกายค่อนข้างอ่อนแอ ซูบผอม ส่วนใหญ่แล้วผู้เลี้ยงจะให้ความสำคัญกับวัวในช่วงผสมพันธุ์มากที่สุดเพราะถือว่าเป็นผลผลิตและรายได้ในการเลี้ยงวัว

ยาบำรุงระบบสืบพันธุ์วัว

เมื่อเข้าสู่วัยสืบพันธุ์  ระบบสืบพันธุ์จะเริ่มทำงาน โดยในเพศผู้จะเริ่มผลิตอสุจิ และในเพศเมียจะเริ่มการเป็นสัดและเกิดการตกไข่ เราจึงมายกตัวอย่างยาบำรุงระบบสืบพันธุ์วัวมีดังนี้

ซิลีเนียมโปรมิกซ์ 1kg

ซีลีเนียม-อี 10+

VITAMIN AD3E

ยาเร่งผสมพันธุ์

LUTALYSE ลูทาไลส์ 10 ml.

⮚   การใช้ในสัตว์ที่มีวงจรการเป็นสัดอย่างปกติ

ในวัวหลังจากฉีดใน >>> ระยะไดเอสทรัส

วัวจะเข้าสู่ระยะเป็นสัด >>> และมีการตกไข่ภายใน 2-4 วัน

⮚   การใช้ในสัตว์ที่มีคอร์ปัสลูเทียม ที่ทำหน้าที่อยู่อย่างปกติ แต่ไม่แสดงอาการเป็นสัดออกมาให้เห็น

วัวบางตัวอาจมีรังไข่ที่ทำหน้าที่เป็นปกติ แต่สัตว์ตัวนั้นไม่แสดงอาการเป็นสัด เช่น

ในระหว่างให้น้ำนม  >>> ในกรณีสัตว์ที่มีคอร์ปัสลูเทียมค้างอยู่

ไม่มีการตกของไข่ใน 4 วัน >>> เมื่อฉีด ลูทาไลส์ให้แก่สัตว์จะทำให้เกิดการสลายตัวของคอร์ปัสลูเทียมแล้วสัตว์จะแสดงอาการเป็นสัดและมีอาการตกของไข่

หลังจากฉีดลูทาไลส์แล้ว >>> อาจทำการผสมได้เมื่อสัตว์แสดงอาการเป็นสัดให้เห็น

ผสมในกำหนดเวลาคือ >>> หลังฉีดลูทาไลส์ 78 ชั่วโมง เพียงครั้งเดียว

ผสมสองครั้ง >>> เมื่อ 72 และเมื่อ 90 ชั่วโมง หลังจากฉีดลูทาไลส์

⮚   การใช้ในการทำแท้ง

ในบางกรณีที่จำเป็นในบางระยะของการตั้งครรภ์ เช่น

>>> ตรวจพบว่าลูกตายในท้อง ลูกกรอก แต่อาจจะเกิดอันตรายได้ ถ้าปากมดลูกไม่เปิด

⮚   การใช้ในการทำคลอดวัว

ฉีดลูทาไลส์เมื่อตั้งครรภ์ 270 ขึ้นไป >>> สัตว์จะคลอดลูกภายใน 1-8 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน ในกรณีนี้ต้องพิจารณาแล้วว่าถ้าลูกในครรภ์จะมีขนาดโตผิดปกติ จึงต้อง การให้คลอดเร็วขึ้น แต่ต้องแน่ใจว่าลูกในครรภ์แข็งแรงพอแล้วจึงควรใช้ลูทาไลส์

⮚   การใช้ในการรักษาโรคมดลูกอักเสบเรื้อรัง หนองในมดลูก  โรคมดลูกอักเสบในวัว

จะเกิดขึ้นหลังคลอด 2-3 สัปดาห์ โดยจะเห็นของเหลวมีหนองปนไหลออกมาทางช่องคลอด ฉีดซ้ำได้ภายใน 10-12 วัน ถ้ายังไม่หาย

วิธีการใช้
  • ฉีด 5 ซีซี ครั้งเดียวแล้วผสมเมื่อเป็นสัด
  • ฉีด 5 ซีซี 2 ครั้งห่างกัน 11 วัน
  • หลังฉีดเข็มที่ 2 ให้ผสมที่ 78 ชั่วโมง
  • ผสมชั่วโมงที่ 72 และ 90
  • ผสมเมื่อตรวจพบการเป็นสัด
ข้อบ่งใช้
  • ลูทาไลส์ จะไม่ได้ผลถ้าฉีดก่อนวันที่ 5 หลังการตกของไข่ ครั้งก่อน
  • ถ้าปากมดลูกไม่เปิด สัตว์อาจจะตายได้เนื่องจากมดลูกฉีกขาด
  • ผู้ฉีด หรือสัตวแพทย์ จะต้องไม่เป็นบุคคลที่เป็นหืด หรือโรคทางระบบหายใจ หรือระหว่างตั้งครรภ์

 

ยาเร่งตกไข่

รีเซพทอล (Receptal)

สรรพคุณ

  เป็นฮอร์โมนGnRHสังเคราะห์ใช้ฉีดเพื่อกระตุ้นการทำงานระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ใหญ่

  • ใช้เพื่อการเหนี่ยวนำการเป็นสัด
  • กระตุ้นการเป็นสัด
  • เพิ่มอัตราการผสมติด

วิธีการใช้

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

อัตราส่วน

วัว ฉีด 5 cc

พี.จี. 600

สรรพคุณ

เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในการกระตุ้น

  • ให้เกิดการตกของไข่
  • เร่งให้แม่วัวเป็นสัด ทำให้เกิดการผสมพันธุ์
  • PMSG เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตของไข่
  • HCG เป็นฮอร์โมนที่เร่งให้ไข่ตก และทำให้เกิดการสร้าง Corpus luteum ในมดลูก

วิธีการใช้

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

อัตราส่วน

วัว ฉีด 5 cc

อาหารบำรุงมดลูกวัว

รีโพรมีกซ์พรีมิกซ์ Repromix Premix

สรรพคุณ

  • บำรุงระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์
  • แก้ปัญหารังไข่ ลีบเล็ก แบน
  • เป็นสัดชัด
  • กลับสัดไว
  • ผสมติดง่าย
  • กินเก่งอ้วนไว ไม่โทรม

วิธีการใช้

  • ผสมในอาหารวัว หญ้าสับ หรือรำข้าว

อัตราส่วน

  • 5 กก. ต่ออาหาร 1 ตัน

 

แดรี่วิท พลัสซีลีเนียม

สรรพคุณ

  • พิ่มความสมบูรณ์ของวัว
  • เร่งการเป็นสัด
  • ผสมติดง่าย

วิธีการใช้

  • ใช้แดรี่วิท 10 กรัม(2ช้อนชา)ผสม อาหารข้นสำหรับวัว
  • 1 กิโลกรัม​ ผสมอาหารได้ถึง 200​กิโลกรัม​

 

 

 

การเป็นสัดในวัว

ในระยะนี้มีความสำคัญมากที่จะเตรียมพร้อมเพื่อให้แม่วัวมีความพร้อมในการผสมพันธุ์ มีการตกไข่ที่สมบูรณ์ และแสดงอาการเป็นสัดอย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการจัดการด้านอาหารที่ดีพอ มีการเสริมอาหารข้นหรือแหล่งอาหารพลังงานเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนและเหนี่ยวนำให้เข้าสู่การเป็นสัดได้ดีขึ้น

การสังเกตอาการเป็นสัด

สามารถสังเกตได้ไม่ยาก แต่ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตโดยดูจากอาการขึ้นทับกันของวัว หากวัวที่โดนทับยืนนิ่งให้ยืนขี่คือจะแสดงอาการเป็นสัดอย่างเต็มที่ ส่วนตัวใดที่ขึ้นขี่มักเป็นโคที่เริ่มเป็นสัด แต่ต้องสังเกตเพิ่มจากอาการบวมของอวัยวะเพศและน้ำเมือกที่ไหลออกมาจากช่องคลอดด้วย ถ้าเห็นอาการทั้งหมดร่วมกันให้ทำการผสมเทียมหลังจากที่วัวเป็นสัดเต็มที่ 12-18 ชั่วโมง

วงรอบการเป็นสัดในวัวเพศเมีย

เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวในโคเพศเมียระบบสืบพันธุ์จะเริ่มทำงาน ซึ่งการทำงานของรังไข่ในโคเนื้อจะเกิดขึ้นเป็นวงรอบที่ต่อเนื่อง เรียกว่า “วงรอบการเป็นสัด ” ซึ่งในวัวเพศเมีย

  • มีระยะเวลาของวงรอบการเป็นสัด อยู่ในช่วงระหว่าง 18–24 วัน
  • มีระยะเวลาที่แสดงอาการเป็นสัด อยู่ในช่วงระหว่าง 15–18 ชั่วโมง
  • มีระยะเวลาที่เกิดการตกไข่ อยู่ในช่วงระหว่าง 10–11 ชั่วโมง หลังหมดสัด
  • มีระยะเวลาในการผสมเทียม อยู่ในช่วงระหว่าง 12–18 ชั่วโมง หลังเป็นสัด

ระยะที่วัวแสดงอาการเป็นสัด เป็นระยะที่มีการผลิตฮอร์โมนเพศเมีย (ฮอร์โมนเอสโตรเจน) สูงสุด ทำให้วัวเพศเมียแสดงพฤติกรรมยอมรับการสืบพันธุ์ คือ

  • จะยืนนิ่งยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ
  • มีเมือกที่มีลักษณะใสไหลจากช่องคลอด
  • อวัยวะเพศบวมแดง
  • ระยะแสดงอาการเป็นสัด จะมีช่วงเวลาอยู่ในช่วงระหว่าง 15-18 ชั่วโมง
  • หลังวัวเพศเมียหมดสัด (หยุดยืนนิ่ง) ประมาณ 10-11 ชั่วโมง จะเกิดการตกไข่

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์ในวัวเพศเมีย

เวลาที่เหมาะต่อการปล่อยน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์วัวเข้าสู่ท่อทางเดินสืบพันธุ์ ทั้งโดยวิธีการผสมเทียม หรือการผสมตามธรรมชาติ ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออัตราการตั้งท้อง โดยวัวเพศเมียมีระยะเป็นสัดเต็มที่เฉลี่ย 16 ชั่วโมง

  • ทำการผสมเทียม ที่ระยะ 0-6 ชั่วโมง หลังเป็นสัด >>> เป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากเร็วเกินไป
  • ระยะ 6-12 ชั่วโมง และ ระยะ 18-24 ชั่วโมง หลังเป็นสัดเต็มที่ >>> เป็นระยะที่เหมาะสมสาหรับการผสม
  • ระยะ 12-18 ชั่วโมง ชั่วโมง หลังเป็นสัดเต็มที่ >>> เป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผสม
  • ระยะเวลามากกว่า 24 ชั่วโมงหลังเป็นสัดเต็มที่ >>> เป็นระยะที่ไม่เหมาะสมเพราะช้าเกินไปสำหรับการผสม
  • หากทำการผสมพันธุ์ด้วยวิธีผสมพันธุ์ตามธรรมชาติโดยใช้พ่อพันธุ์ >>> ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ 3-18 ชั่วโมง หลังเป็นสัดเต็มที่

การใช้ฮอร์โมนเพื่อการสืบพันธุ์

การผลิตฮอร์โมนที่เป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อใช้ในการคุมวงรอบการเป็นสัดและการตกไข่ในวัว ซึ่งฮอร์โมนทางการค้าที่ผลิตขึ้นมามีหลากหลายชนิด และแต่ละชนิดมีหน้าที่และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยฮอร์โมนที่ใช้เพื่อการสืบพันธุ์ที่สำคัญมี ดังนี้

o  กลุ่มฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน เอฟ ทู แอลฟ่า (PGF2α)

เป็นฮอร์โมนสำหรับฉีดเพื่อเหนี่ยวนำวงรอบการเป็นสัดพร้อมกัน และเหนี่ยวนำให้วัวกลับเข้าสู่วงรอบการเป็นสัด

  • เอสตรูเมท (Estrumate) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ใช้ครั้งละ 2 มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • ลูทาไลส์ (Lutalyse) เป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตาธรรมชาติ ใช้ครั้งละ 5 มิลลิลิตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การใช้ฮอร์โมนกลุ่ม PGF2α

วัวจะแสดงอาการเป็นสัดหลังฉีด ฮอร์โมน PGF2α

  • วัวสาว >>> ประมาณ 2-5 วัน ประมาณ 50 ชั่วโมง
  • วัวนาง >>> ประมาณ 72 ชั่วโมง

หากวัวตอบสนองต่อการฉีด PGF 2α เข็มที่ 1 ให้ทำการผสมพันธุ์วัวทุกตัว ฉีด PGF 2α เข็มที่ 2 ในวัวที่ไม่ตอบสนองต่อการฉีดในเข็มที่ 1 โดยฉีดเข็มที่ 2 หากจากเข็มที่ 1 เป็นเวลา 11 วัน ถ้าพบการเป็นสัดจึงทำการผสมพันธุ์

ข้อควรระวังในการฮอร์โมนกลุ่ม PGF2α

ฉีด PGF2α ในวัวนมที่ตั้งท้องจะทำให้เกิดการแท้งได้ วัวจะไม่มีการตอบสนองต่อ PGF2α หากวัวนมไม่มี CL บนรังไข่ เช่น โคไม่มีวงรอบการเป็นสัด

o  กลุ่มฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน (gronadotrophin)

เป็นฮอร์โมนที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้ถุงไข่เจริญเติบโต กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ และช่วยเพิ่มการผสมติดสูงขึ้น

  • โครูลอน (Chorulon) ใช้ครั้งละ 1,500-3,000 ไอ.ยู ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  • โฟลลิกอน (Folligon) ใช้ครั้งละ 500-3,000 ไอ.ยู ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
การใช้ฮอร์โมนโครูลอน
  • เพิ่มการผสมติด >>> ให้ฉีดขนาด 1,500 ไอ.ยู ในวันที่ผสมพันธุ์
  • เป็นสัดเงียบ >>> ให้ฉีดขนาด 1,500-3,000 ไอ.ยู
การใช้ฮอร์โมนโฟลลิกอน
  • กระตุ้นการเป็นสัดและเพิ่มการผสมติด >>> ให้ฉีดขนาด 500-3,000 ไอ.ยู
  • เป็นสัดเงียบ >>> ให้ฉีดขนาด 500-3,000 ไอ.ยู
  • กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ >>> ให้ฉีดขนาด 1,500-3,000 ไอ.ยู

o  ฮอร์โมนรีเซพทอล (receptal)

เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดน้ำสำหรับฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายให้หลั่งฮอร์โมน FSH ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงไข่  และฮอร์โมน LH ที่กระตุ้นการตกไข่ ฮอร์โมนรีเซพทอลใช้เพื่อเพิ่มอัตราการผสมเทียม หรือในกรณีกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษาภาวะถุงน้ำบนรังไข่

การใช้ฮอร์โมนรีเซพทอล
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งละ 2.5-5 มิลลิลิตร

o  ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์แบบสอดช่องคลอด

เป็นฮอร์โมนที่ใช้สำหรับควบคุมวงรอบการเป็นสัด และเหนี่ยวนำวงรอบการเป็นสัดและทำให้เกิดการเป็นสัดพร้อม ๆ กัน เพื่อจัดโปรแกรมการผสมเทียมแบบกำหนดเวลา

  • ซีด้าร์® (CIDR®)

การใช้ซีด้าร์®

  • 1 แท่งต่อวัว 1 ตัว สอดเข้าช่องคลอด นานเป็นเวลา 7-9 วัน เมื่อครบกำหนดจึงถอดซีด้าร์® ออกจากช่องคลอด

o  โปรแกรมฮอร์โมนเพื่อเหนี่ยวน้าการตกไข่ในวัวเพศเมีย

การใช้โปรแกรมฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำการเป็นสัดและการตกไข่ เพื่อจัดกลุ่มวัวสำหรับการคลอด ลดแรงงาน ได้ลูกวัวเมื่อหย่านมซึ่งมีอายุ และน้ำหนักใกล้เคียงกัน ลดระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อการตรวจเช็คสัด (จับสัด) และขจัดปัญหาเรื่องการตรวจเช็คสัดเพื่อการผสมเทียม การใช้ฮอร์โมนสำหรับโปรแกรมเหนี่ยวนำการเป็นสัด และตกไข่ มีหลากหลายโปรแกรมที่เกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น

โปรแกรมการสอดใช้ฮอร์โมน GnRH ร่วมกับ PGF2α

โปรแกรม Ovsynch ที่พัฒนาเพื่อเป็นโปรแกรมการใช้ฮอร์โมนในการเหนี่ยวนำการตกไข่ กำหนดเวลาการผสมเทียม และลดการตรวจสัด โดยใช้ฮอร์โมน 2 ชนิด คือ

  • ฮอร์โมน GnRH ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงไข่และกระตุ้นการตกไข่
  • ฮอร์โมน PGF2α ที่ทาให้ CL เกิดการเสื่อมสาย

โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • วันเริ่มต้นโปรแกรม ฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.5 มิลลิลิตร
  • จากนั้น 7 วัน ฉีดฮอร์โมน PGF2α (เอสตรูเมท) เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.0 มิลลิลิตร
  • จากนั้น 2 วัน ฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 2 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.5 มิลลิลิตร
  • กำหนดเวลาการผสมเทียม ที่ 16-20 ชั่วโมง หลังฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 2

o  โปรแกรมใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์แบบสอดช่องคลอด (CIDR®) ร่วมกับ การใช้ฮอร์โมน GnRH และฮอร์โมน PGF2α

เป็นโปรแกรมที่ใช้ฮอร์โมน 3 ชนิด คือ

  • ฮอร์โมน CIDR® ที่ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของถุงไข่
  • ฮอร์โมน GnRH ที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงไข่และกระตุ้นการตกไข่
  • ฮอร์โมน PGF2α ที่ทำให้ CL เกิดการเสื่อมสาย

มี 2 โปรแกรม คือ

โปรแกรมใช้ CIDR® ระยะสั้น 7 วัน ร่วมกับ การใช้ฮอร์โมน GnRH และฮอร์โมน PGF2α

โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • วันเริ่มต้นโปรแกรม (วันที่ 0) ฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.5 มิลลิลิตร ร่วมกับ การสอดแท่งฮอร์โมน CIDR® เข้าสู่ช่องคลอด
  • วันที่ 7 ฉีดฮอร์โมน PGF2α (เอสตรูเมท) เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.0 มิลลิลิตร พร้อมกับ ถอดแท่งฮอร์โมน CIDR® ออกจากช่องคลอด
  • วันที่ 9 ฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 2 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.5 มิลลิลิตร และทำการผสมเทียม

โปรแกรมใช้ CIDR® ระยะสั้น 5 วัน ร่วมกับ การใช้ฮอร์โมน GnRH และฮอร์โมน PGF2α

โดยมีวิธีการ ดังนี้

  • วันเริ่มต้นโปรแกรม (วันที่ 0) ฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.5 มิลลิลิตร ร่วมกับ การสอดแท่งฮอร์โมน CIDR® เข้าสู่ช่องคลอด
  • วันที่ 5 ถอดแท่งฮอร์โมน CIDR® ออกจากช่องคลอด พร้อมกับ ฉีดฮอร์โมน PGF2α (เอสตรูเมท) เข็มที่ 1 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.0 มิลลิลิตร
  • วันที่ 6 ฉีดฮอร์โมน PGF2α (เอสตรูเมท) เข็มที่ 2 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.0 มิลลิลิตร
  • วันที่ 7 ฉีดฮอร์โมน GnRH (รีเซพทอล) เข็มที่ 2 เข้ากล้ามเนื้อ ขนาด 2.5 มิลลิลิตร และทำการผสมเทียม